http://wycd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทบาทหน้าที่

 ประวัติอำเภอ

 รวมรูปภาพ

 พช.มุกดาหาร

 Links สพอ.

 เว็บบอร์ด

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท25/03/2019
ผู้เข้าชม37,287
เปิดเพจ46,962
สินค้าทั้งหมด1

ข้อมูล พช.หว้านใหญ่

ข้อมูลทั่วไป

บริการประชาชน

กิจกรรมเด่น

KM องค์ความรู้

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

TDR/VDR

องค์ความรู้ชุมชน

ชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ

โครงการแก้จน

สินค้า

 สินค้าทั้งหมด
iGetWeb.com
AdsOne.com

VDR บ้านหว้านใหญ่ 2560

บ้านหว้านใหญ่  หมู่ที่   1   ตำบลหว้านใหญ่

อำเภอหว้านใหญ่    จังหวัดมุกดาหาร

 

 

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

          บ้านหว้านใหญ่ หมู่ที่ 1  ตั้งอยู่ ตำบลหว้านใหญ่  อำเภอหว้านใหญ่  จังหวัดมุกดาหาร  เปิดหมู่บ้านชายแดน  ที่ตั้งบ้านเรือนเรียบยาวไปตามริมแม่น้ำโขง  ที่กั้นอาณาเขต  ไทย – ลาว กำเนิดใน  พ.ศ.  2222  โดยมีราษฎรกลุ่มหนึ่ง  อพยพมาจากเมืองมหาชัย  ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง มาอยู่บริเวณหว้านใหญ่  ปัจจุบันขณะนั้นพบว่าบริเวณนั้นมีว่าน  อันมีว่านทุกชนิด  มีพวกข่า  ซึ่งเดิมเคยอาศัยอยู่  ได้ปลูกไว้ และต่อมาพวกข่าได้อพยพหนีไป  กลุ่มอพยพมาใหม่เห็นว่าเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์จึงได้จัดตั้งหมู่บ้านขึ้นใช้ชื่อว่า บ้านหว้านใหญ่ 

ลักษณะที่ตั้ง

          ชื่อ บ้านหว้านใหญ่  หมู่ที่ 1 ตำบลหว้านใหญ่  ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ  ของอำเภอหว้านใหญ่  ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอ  3 ก.ม.  ตั้งอยู่ห่างจาก  เทศบาลตำบลหว้านใหญ่  ระยะทาง  400  เมตร

อาณาเขต

มีพื้นที่ทั้งหมด  1500  ไร่

          แบ่งเป็น  ที่อยู่อาศัย  300  ไร่    ที่สาธารณประโยชน์  400  ไร่

                     พื้นที่ทำการเกษตร  300  ไร่    พื้นที่ทำนา  400  ไร่

                     พื้นที่ทำสวน  70  ไร่

การปกครอง

คณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน  15  คน  ประกอบด้วย

1.  นายสวัสดิ์  สีแก้ว               เป็น  ผู้ใหญ่บ้าน

2.  นายจุติพงศ์  เมืองโคตร         เป็น  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง

3.  น.ส.วรรณภา  สัจจุมั่น          เป็น  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง

4.  นายคำนึง  ใจช่วง               เป็น  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ

5.  นายฉัตรชัย  จันทโคตร        

6.  นายคำตัน  มลบูรณ์

7.  นางทองมา  เมืองโคตร

8.  นายคำสวย  เมืองโคตร

9.  นายสายสมร  ฐานทองดี

10.  นายอุ่น  ใจช่วง

11.  นางวัชราพร  เมืองโคตร

12.  นางราตรี  วงสาด

13.  นายวิชัย  สีหาหนุน

14.  นางรัตนาภรณ์  เทพรัตน์

15.  นายเคน  พาลุกา

แบ่งการปกครองเป็นคุ้ม  จำนวน  5  คุ้ม  ดังนี้

1.  คุ้ม  บุปผาทิพย์ 

2.  คุ้ม  ศรคำแดง 

3.  คุ้ม  บุหลัน 

4.  คุ้ม  แสงทอง 

5.  คุ้ม  หนองก้านเหลือง 

ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพทั่วไป

          เป็นที่ราบและลาดเอียง  เนื้อที่ประมาณ  1500  ไร่  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินตมปนทรายเป็นหมู่บ้านชายแดนติดแม่น้ำโขง

แหล่งน้ำที่สำคัญมีดังนี้

1.  แม่น้ำโขง

2.  คลองส่งน้ำชลประทาน

3.  หนองก้านเหลือง

4.  ลำห้วยชะโนด

การคมนาคม

มีถนนติดต่อกับอำเภอ  1  เส้นทาง  รวมระยะทางทั้งหมด  3  กิโลเมตร

เป็นถนนลาดยาง  ระยะทาง  3  กิโลเมตร

มีถนนสายหลักภายในหมู่บ้าน  2 สาย  รวมระยะทางทั้งหมด  1.8  กิโลเมตร

เป็นถนนคอนกรีต  1  สาย  ระยะทาง  0.5  กิโลเมตร

มีซอย  7  สาย  ระยะทาง  0.8  กิโลเมตร

ประชากร

ราษฎรอาศัย  110  ครัวเรือน  มีประชากร  จำนวน  317  คน  ชาย  147  คน  หญิง  170  คน (ตาม ข้อมูล จปฐ. 2559)

การประกอบอาชีพและมีงานทำ

          ประชากรส่วนใหญ่ มีอาชีพหลัก   ทำนา     อาชีพรอง   รับจ้าง

ข้อมูลสถานบริการ

มีสถานบริการน้ำมัน  ชนิดปั๊มหลอด/ขนาดเล็ก  จำนวน  -  แห่ง

มีร้านค้าในหมู่บ้าน                                 จำนวน  7  แห่ง

มีศูนย์จำหน่ายสินค้า  หรือร้านค้าที่ราษฎรรวมตัวกันจัดตั้ง  จำนวน  1  แห่ง

สถานที่ท่องเที่ยวในหมู่บ้าน/ตำบล

1.  จุดชมวิวริมเขื่อนแม่น้ำโขง

2.  วัดพระศรีมหาโพธิ์

แหล่งน้ำ – กินน้ำใช้

1.  มีระบบประปา  2  แห่ง       มีผู้ใช้จำนวน  110  ครัวเรือน

2.  บ่อน้ำบาดาล  2  บ่อ

3.  ถังเก็บน้ำ/น้ำฝน  6  แห่ง

4.  โอ่งน้ำขนาด  200  ลิตร  จำนวน  112  ใบ

5.  สระน้ำ  14  แห่ง

6.  แม่น้ำ  ลำห้วย  2  แห่ง

7.  หนองน้ำสาธารณะ  2  แห่ง

8.  ฝายน้ำล้น  1  แห่ง

2.  ศักยภาพและโอกาสของหมู่บ้าน

ศักยภาพและโอกาสของหมู่บ้าน

ในภาพรวมของหมู่บ้านมีปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาชุมชนในอนาคต  ดังนี้

 ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ  ที่สามารถนำมาพัฒนาแปรรูปเพิ่มมูลค่าสินค้า  ได้แก่

-  ข้าวเปลือก

การรวมกลุ่ม

มีการรวมกลุ่มเพื่อประกอบกิจกรรมในการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  ดังนี้

  1. กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ

          จัดตั้งเมื่อ  13  มี.ค.  49  สมาชิก  40  คน  เงินทุนกลุ่ม 5000  บาท

กิจกรรมที่ดำเนินการ

- รวมกลุ่มกับผลิตปุ๋ยชีวภาพใช้ในชุมชน

- ให้ความรู้แก่คนในชุมชนเกี่ยวกับขั้นตอนการผลิตปุ๋ยชีวภาพ

2.  กลุ่มออมทรัพย์

จัดตั้งเมื่อ  9  ก.ย.  45  สมาชิก  100  คน  ซึ่งกิจกรรมที่ดำเนินการ

          -  ปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ

          -  ปันผลกำไรตอบแทนแก่สมาชิก

          -  การจัดสวัสดิการแก่สมาชิกในชุมชน

3.  กลุ่มร้านค้าสวัสดิการชุมชน

มีสมาชิก  115  คน  เงินทุน  320000  บาท

กิจกรรมที่ดำเนินการ

- จำหน่ายสินค้าราคายุติธรรม

- ส่งเสริมการออมให้แก่สมาชิก

- ให้สมาชิกกู้ยืม

 4. กลุ่มจักสานตะกร้าพลาสติก

ส่วนที่ 2 : การประเมินผลการพัฒนาหมู่บ้าน

 

การประเมินสถานการณ์พัฒนาหมู่บ้านจากข้อมูล จปฐ.

สถานการณ์พัฒนาหมู่บ้านของบ้านหว้านใหญ่  ที่ 1 ตำบลหว้านใหญ่   อำเภอหว้านใหญ่           จังหวัดมุกดาหาร     จากการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลจปฐ. ประจาปี 2560   เป็นดังนี้

1.ตกเกณฑ์จปฐ.ข้อ 25 คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา (ยกเว้นดื่มเป็นครั้งคราว)   จำนวน 4  คน  คิดเป็นร้อยละ 1.26 เปอร์เซนต์

2. ตกเกณฑ์จปฐ.ข้อ 26 คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่ จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 7.26 เปอร์เซนต์

การประเมินสถานการณ์พัฒนาหมู่บ้านจากข้อมูล กชช 2 ค

จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน(กชช 2 ค) ประจาปี 2560 บ้านหว้านใหญ่  หมู่ที่ 1 มีผลการพัฒนาอยู่ในระดับก้าวหน้า (ระดับ 3 ) 

 

ส่วนที่ 3 : แนวโน้มทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน

 

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและชุมชน

จุดแข็ง  -  จุดเด่น  ที่เกี่ยวข้องภายในหมู่บ้าน

จุดอ่อน – จุดด้อย  ที่เกี่ยวข้องภายในชุมชน

1.  มีแม่น้ำโขง

2.  มีกองทุนหมู่บ้าน

3.  กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

4.  กลุ่มผู้สูงอายุ

5.  กลุ่มตะกร้าพลาสติก

6.  ศูนย์เรียนรู้ชุมชน

1.  ทรัพยากรถูกทำลาย

2.  ประชาชนยังขาดความเข้าใจในการตั้งกลุ่ม

ปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อชุมชน

ผลกระทบด้านบวก

ผลกระทบด้านลบ

1.  หน่ายงานทางราชการ  อปท.  ให้การสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาหมู่บ้าน

2.  ได้รับการฝึกอบรมด้านต่างๆ

 

3.  มีโรงพยาบาลอยู่ใกล้หมู่บ้าน

1. การทำการเกษตรใช้สารเคมียาปราบศัตรูพืชทำให้เป็นสารตกค้างเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทำให้สัตว์บางชนิดสูญพันธุ์

2.  ขาดความรู้ด้านการเกษตร

3.  รายได้น้อย – รายจ่ายมาก

แนวทางการพัฒนาส่งเสริมศักยภาพของชุมชน

1.  จัดระเบียบในชุมชน

2.  จัดตั้งคณะกรรมการหมู่บ้าน

3.  พัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน

4.  ส่งเสริมให้ชาวบ้านดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

สภาพปัญหาของชุมชน  ( จุดอ่อน – จุดด้อย และผลกระทบด้านลบต่อชุมชน)

สภาพปัญหาเรื่อง

สาเหตุ

แนวทางแก้ไข

1.  หนี้สิน

2.  ไม่มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจเพื่อให้คนในชุมชนสุขภาพกายและใจดี

1.  ไม่มีรายได้เสริม

2.  ไม่มีร่องระบายน้ำ

3.  ขาดการปรับปรุงทัศนียภาพเขื่อน

1.  ส่งเสริมอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับทุกครัวเรือน

2.  วางท่อระบายทั้งรอบหมู่บ้าน

3.  ปรับปรุงทัศนียภาพริมเขื่อนเพื่อใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและบริเวณนี้ออกกำลังกาย

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ข้อมูล จปฐ.ปี 2560

          จากการวิเคราะห์ข้อมูลหมู่บ้าน/ชุมชน  จากข้อมูล จปฐ.ปี 2560 ข้อมูล กชช.2 ค ปี 2560 และข้อมูลอื่นๆ ด้วยโปรแกรม CIA และ Logic  Model ของบ้านหว้านใหญ่  หมู่ที่ 1  ตำบลหว้านใหญ่  อำเภอหว้านใหญ่  ผลการวิเคราะห์ปรากฏสภาพปัญหาต่างๆ  ในภาพรวมในด้านต่างๆ  ดังนี้

  1. ปัญหาด้านการบริหารจัดการชุมชน  ระดับ  2.09
  2. ปัญหาความยากจน  ระดับ  2.62
  3. ปัญหาเรื่องความเสี่ยงของชุมชน  ระดับ  2.75
  4. ปัญหาด้านการพัฒนาอาชีพ  ระดับ  2.22
  5. ปัญหาด้านทุนชุมชน  ระดับ  2.66

การจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตบ้านหว้านใหญ่  ม.1

         การดำเนินงานการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตบ้านหว้านใหญ่  หมู่ที่ 1  ตำบลหว้านใหญ่ ได้ดำเนินการตามกระบวนการต่างๆ ทำให้เกิดผลการดำเนินงาน ดังนี้

         ๑. กระบวนการสร้างความเข้าใจร่วมกัน  โดยการจัดเวทีประชาคมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และแนวทางการดำเนินงาน แก่คณะกรรมการหมู่บ้าน  ทำให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญว่าข้อมูลมีความสำคัญต่อการพัฒนาหมู่บ้านเพียงใดและมีการนำข้อมูลที่มีอยู่ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร

         ๒. กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  โดยมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล สารสนเทศ รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาในการจัดทำสารสนเทศหมู่บ้านและหาแนวทางแก้ไข

         ๓. กระบวนการกำหนดความต้องการร่วมกัน  โดยคนในชุมชนร่วมกันกำหนดว่าต้องการจะจัดทำสารสนเทศด้านใดบ้าง  ซึ่งสารสนเทศที่ได้จากความต้องการของคนในหมู่บ้าน มีดังนี้

                     (๑.) สารสนเทศด้านอาชีพ 

                        -กลุ่มกลุ่มปุ๋ยชีวภาพ

                             - กลุ่มรักษ์ผ้าไทย

                             - กลุ่มจักสานตะกร้าพลาสติก

                             - กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์

                     (๒.) สารสนเทศด้านทุนชุมชน 

                             - กองทุนหมู่บ้าน

                             - กลุ่มร้านค้าสวัสดิการชุมชน

                             - กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

                             - โรงสีชุมชนข้าว

                             - กองทุนแม่ของแผ่นดิน 

                             - ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน 

                     (๓.) ด้านการแก้ไขปัญหาความยากจน 

                             - โครงการ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน  กรณียากจน  เจ็บป่วย  พิการ  อนาถาและโครงการบริหารจัดการครัวเรือนยากจนแบบบูรณาการ  จังหวัดมุกดาหาร

                     (๔.) ด้านบริหารจัดการชุมชน 

                             - โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์รอบหมู่บ้านทุกสิ้นเดือน

                             - โครงการส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมตามวันสำคัญต่างๆ

                     (5.) ด้านการจัดการความเสี่ยงชุมชน

                             - ส่งเสริมการจัดทำบัญชีครัวเรือนแก่คนในชุมชน

                             - โครงการออมวันละบาท

การใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาหมู่บ้าน

บ้านหว้านใหญ่เป็นหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการสารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งคณะกรรมการหมู่บ้าน วัด โรงเรียน ได้ร่วมกัน กำหนดเป้าหมายการพัฒนาหมู่บ้านให้มีความเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ โดยเน้นการใช้ฐานข้อมูล ชุมชน เป็นฐานสำคัญ ในการชี้เป้าหมายการพัฒนาหมู่บ้านให้มีความเข้มแข็ง ครบถ้วนทุกมิติ ทั้งทาง ด้านเศรษฐกิจ สังคม ประเพณีวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และการศึกษาระบบข้อมูลที่ชุมชนแห่งนี้ มีความตระหนักร่วม และให้ความสำคัญในการชี้เป้าการพัฒนา ได้แก่ ข้อมูล ความจำเป็นขั้นพื้นฐาน (จปฐ) ข้อมูล กชช ๒ ค ข้อมูลการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการร่วมกันของคนในชุมชน หรือแม้กระทั่งข้อมูล ที่คนในชุมชน มีความสนใจ ที่จะศึกษารวบรวม จัดเก็บเพื่อเป็นฐานข้อมูล ในการตัดสินใจ กำหนดแผนการพัฒนาหมู่บ้าน และแผนชุมชน

บ้านหว้านใหญ่ ม.1   มีการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย เช่นการใช้ข้อมูลความจำเป็นขั้นพื้นฐาน(จปฐ.) และ ข้อมูล กชช ๒ ค. เป็นการชี้เป้าให้ชุมชนได้เรียนรู้ ร่วมกัน ใน ประเด็นด้านรายรับและรายจ่ายของชุมชนบ้านหว้านใหญ่ จากข้อมูล จปฐ. ข้อที่ ๒3 เพื่อนำไปสู่การพัฒนาโครงการหมู่บ้าน  ซึ่งมีการตั้งกลุ่มต่างๆขึ้นในหมู่บ้านเช่น  กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  กลุ่มจักสานตะกร้าพลาสติก  กลุ่มรักษ์ผ้าไทย  กลุ่มทำดอกไม้ประดิษฐ์  และกลุ่มร้านค้าสวัสดิการชุมชน   เป็นการเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเป็นสำคัญ 
          การนำข้อมูล จปฐ./กชช.2ค ของหมู่บ้าน  ไปใช้ประโยชน์ดังนี้

-          การจัดทำแผนชุมชน

-          การจัดทำรายงานการพัฒนาหมู่บ้าน (VDR)

-          การจัดเวทีประชาคมในด้านการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ/กลุ่มผู้สูงอายุ

ผลงานเด่นของหมู่บ้าน

  1. หมู่บ้านศูนย์เรียนรู้และขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  2. หมู่บ้านเป้าหมายตามโครงการส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตรและชนบท (การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 1)

ข้อเสนอแนะของนักพัฒนาต่อการพัฒนาหมู่บ้าน

           บ้านหว้านใหญ่เป็นหมู่บ้านที่มีพื้นที่ทั้งหมดอยู่ในเขตของเทศบาลตำบลหว้านใหญ่

ทั้งหมู่บ้าน มีระดับการพัฒนาหมู่บ้านอยู่ในระดับ ๓ (จากการสำรวจข้อมูล กชช ๒ค ปี ๒๕60)

           เป็นหมู่บ้านที่มีศักยภาพในการพัฒนาสูง ชาวบ้านและผู้นำชุมชนมีความคิดสร้างสรรค์ อาศัยความรักความสามัคคีของคนในชุมชน แม้จะมีความเจริญเข้ามาในหมู่บ้านแต่ชาวบ้านก็ไม่มีความย่อท้อในการทำกิจกรรมร่วมกับทางราชการ ผู้นำมีการแบ่งความรับผิดชอบเป็นคุ้ม ทำให้ดูแลหมู่บ้านได้อย่างทั่วถึง และเป็นหมู่บ้านปลอดจากยาเสพติด ราษฎรในหมู่บ้านเป็นผู้มีอัธยาศัยดี น่ารัก มีความรู้รักสามัคคี รู้จักแบ่งปันซึ่งกันและกัน อยู่ร่วมกันแบบพี่แบบน้อง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่มีความแตกแยก ไม่มีคดีความร้ายแรงจนไม่สามารถที่จะยับยั้งได้ คนในหมู่บ้านส่วนใหญ่จะเชื่อฟังผู้นำและแสดงความคิดเห็นร่วมกัน

           แนวทางในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาหมู่บ้าน เพื่อให้ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชนปลอด

ยาเสพติด ประชาชนในหมู่บ้านจะต้องมีจิตสำนึกรักชุมชน  มีความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชน ความสัมพันธ์

กับคนในครอบครัว กับญาติพี่น้อง กับผู้สูงอายุ พ่อแม่ควรเลี้ยงดูลูกอย่างไร ความเอื้ออาทรต่อกันและกัน  ช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยเฉพาะในยามทุกข์ยากหรือมีปัญหา ความสัมพันธ์กับธรรมชาติ ผู้คนสมัยก่อนพึ่งพาอาศัยธรรมชาติแทบทุกด้าน และได้ประสานกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน จัดเวทีประชาคมวางแผนการจัดการและบริหารชุมชนและจัดทำแผนชุมชนร่วมกันแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน  ประชาชนในหมู่บ้าน รู้จักนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต และปลูกฝังให้คนรุ่นหลังมีความรักในถิ่นฐานบ้านเกิด โดยนำศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่เดิมมาฟื้นฟูให้เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนในการพัฒนาหมู่บ้านชุมชนสืบไป

 

view

 หน้าแรก

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view