http://wycd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทบาทหน้าที่

 ประวัติอำเภอ

 รวมรูปภาพ

 พช.มุกดาหาร

 Links สพอ.

 เว็บบอร์ด

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท25/03/2019
ผู้เข้าชม31,756
เปิดเพจ41,412
สินค้าทั้งหมด1

ข้อมูล พช.หว้านใหญ่

ข้อมูลทั่วไป

บริการประชาชน

กิจกรรมเด่น

KM องค์ความรู้

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

TDR/VDR

องค์ความรู้ชุมชน

ชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ

โครงการแก้จน

สินค้า

 สินค้าทั้งหมด
iGetWeb.com
AdsOne.com

บ้านสองคอน ม.2

บ้านสองคอน ม.2

ประวัติบ้านสองคอน 

หมู่ที่  ๒ ตำบลป่งขาม  อำเภอหว้านใหญ่  จังหวัดมุกดาหาร

บ้านสองคอน เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ขึ้นอยู่กับอำเภอมุกดาหาร  จังหวัดนครพนม 

แต่เดิมเป็นที่รกร้างว่างเปล่าและเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์   ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๒๕

ราว ๑๒๔  ปี  ขุนอินทร์ หรือขุนไทย  ท่านอพยพมาจากบ้านนาคำ ตำบลน้ำก่ำ

อำเภอธาตุพนม  จังหวัดนครพนม ท่านพาพวกพ้องมาตั้งหมู่บ้านที่ริมแม่น้ำโขง

และตั้งชื่อบ้านว่าสองคอน  เพราะแม่น้ำโขงที่ติดกับหมู่บ้านมีโขดหินอยู่กลางแม่น้ำ

และมีร่องน้ำลึก    ซึ่งเรือสามารถแล่นผ่านได้ทั้งสองร่อง  ภาษาพื้นเมืองเรียกร่องนี้ว่า 

คอน  จึงเรียกชื่อบ้านว่า บ้านสองคอน  ดำเนินชีวิตโดยการประกอบอาชีพทำไร่

ทำนา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓  ได้จัดตั้งเป็นหมู่บ้านสองคอน  หมู่ที่ ๑๐  ตำบลหว้านใหญ่  

กิ่งอำเภอหว้านใหญ่  จังหวัดนครพนม มีผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือนายเที่ยง  ว่องไว  

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๕  ได้ยกฐานะอำเภอมุกดาหาร  เป็นจังหวัด  โดยโอนบ้านสองคอน 

หมู่ที่  ๒  ตำบลป่งขาม   กิ่งอำเภอหว้านใหญ่  ขึ้นกับจังหวัดมุกดาหาร เมื่อปี พ.ศ.  ๒๕๓๕

ได้ยกฐานะกิ่งอำเภอเป็นอำเภอหว้านใหญ่  และเป็นบ้านสองคอน หมู่ที่ ๒  ตำบลป่งขาม 

อำเภอหว้านใหญ่  จังหวัดมุกดาหาร จนถึงปัจจุบัน โดยมี  นายเกียงศักดิ์  ว่องไว

เป็นผู้ใหญ่บ้าน

                           

อาณาเขต      ทิศเหนือ          จด บ้านสองคอน          หมู่ที่ ๓   ตำบลป่งขาม

        ทิศใต้จด          จดบ้านป่งขาม             หมู่ที่ ๘   ตำบลป่งขาม

                 ทิศตะวันตก      จด บ้านนาตะแบง         ตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมืองมุกดาหาร

                  ทิศตะวันออก     จด สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

 

ลักษณะภูมิประเทศ/ภูมิอากาศ

        สภาพพื้นที่ของหมู่บ้าน  เป็นพื้นที่ราบลุ่มทอดยาวตามริมฝั่งแม่น้ำโขง มีแหล่งน้ำที่สำคัญ คือ แม่น้ำโขง ห้วยชะโนด และห้วยป่งแก ไหลผ่านหมู่บ้าน

 

ลักษณะของประชากร

        จำนวนครัวเรือนทั้งหมด             ๑๔๒      ครัวเรือน

         จำนวนประชากรทั้งหมด           ๔๖๑      คน    

แยกเป็น    ชาย  ๒๓๑    คน  หญิง  ๒๓๐   คน

ลักษณะการประกอบอาชีพของชุมชน

                  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลัก และอาชีพเสริม เรียงลำดับได้

                  ๑.  อาชีพทำนา            ๑๔๐    ครัวเรือน

                  ๒.  อาชีพทำสวน            ๑๘    ครัวเรือน

                  ๓.  อาชีพประมง            ๖๐    ครัวเรือน

สภาพทางเศรษฐกิจ

-          รายได้เฉลี่ย  84,318  บาท/คน/ปี (ตาม จปฐ. ปี ๒๕๕8)

-          ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำนา  ใช้เนื้อที่  ๑,๑๐๐  ไร่

แหล่งท่องเที่ยวภายในหมู่บ้าน

           ๑.  โบสถ์คริสต์ ( วัดสองคอน )  เป็นสถาปัตยกรรมที่สวยที่สุดในประเทศไทย

ใหญ่ที่สุดในเอเชีย อาคเนย์ และได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยาม

ในพระบรมราชูปถัมภ์  เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙  และจะมีผู้มาเยี่ยมชมเป็นประจำทุกวัน

 ๒.  บ้านโบราณตามวัฒนธรรมภาคอีสาน  ที่สวยงามภายในบริเวณวัดสองคอน

      -  มีที่พักค้างคืน  โรงอาหาร และสถานที่จัดการประชุมในบริเวณวัดสองคอน 

ไว้ต้อนรับผู้มาเยี่ยมเยียน

   ๓.  ทัศนียภาพริมฝั่งแม่น้ำโขงที่สวยงาม ที่มีเขื่อนเรียงหินยาวตลอดหมู่บ้าน

สภาพทางสังคม 

        ชาวบ้านสองคอน นับถือศาสนาคริสต์  มีการดำเนินชีวิตตามขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวไทยอีสานโดยทั่วไป เช่น บุญสงกรานต์ บุญราศี งานลอยกระทง งานแห่ดาว เป็นประจำทุกปี มีการแสดงของชาวบ้าน มีการลำกลองยาวเป็นที่สนุกสนาน และเสริมสร้างความรัก ความสามัคคีในหมู่บ้าน และยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญ  ราษฎรบ้านสองคอน ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตมาปฏิบัติ และมีการใช้ภูมิปัญญามาเป็นต้นทุนในการผลิต มีการปลูกผักปลอดสารพิษและใช้ปุ๋ยชีวภาพ  มีความเคารพเชื่อฟังผู้อาวุโส

และตาม พ.ร.บ. ลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗  ซึ่งมีคณะกรรมการบริหาร

หมู่บ้าน และการปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗

ปัจจุบันมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลป่งขามดงหมู  เป็นตัวแทนของราษฎร

ในหมู่บ้านสองคอน  หมู่ที่  ๒  จำนวน  ๒  คน  และได้จัดแบ่งหมู่บ้านออกเป็น 

๘  คุ้ม  ดังนี้

        ๑.  คุ้มแก้วหาวงค์         หัวหน้าคุ้มชื่อ     นางแสงสว่าง     เหง้าสุวรรณ

        ๒.  คุ้มธงอาสา             หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายเถิง           รูปดี

        ๓.  คุ้มเทพเสนา           หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายเฉลิมชัย      ว่องไว

        ๔.  คุ้มไชยแสง             หัวหน้าคุ้มชื่อ     นางสุดารัตน์     ว่องไว

        ๕.  คุ้มศรีประเสริฐ        หัวหน้าคุ้มชื่อ     นางสำลี          ว่องไว

        ๖.  คุ้มพรเจริญ            หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายลำพาย       ว่องไว

        ๗.  คุ้มป่าสัก               หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายจำนง        ว่องไว

        ๘.  คุ้มโนนสมบูรณ์        หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายประสิทธิ์     เมืองโคตร

การปกครอง

          บ้านสองคอน หมู่ที่ ๒ ตำบลป่งขาม อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร เป็นหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง พ.ศ. 2522  มีคณะกรรมการกลางหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.)  จำนวน  9  คน  รับผิดชอบในการบริหารจัดการหมู่บ้าน ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มั่นคง ประกอบด้วย

                  ๑.  นายเกียงศักดิ์          ว่องไว             ประธานคณะกรรมการกลางหมู่บ้าน

                  ๒.  นายวุฒิไกร            ว่องไว             ประธานฝ่ายปกครอง

                  3.  นายเถิง                รูปดี              ประธานฝ่ายรักษาความสงบ

                  4.  นายพงศธร            ว่องไว             ประธานฝ่ายการคลัง

                  5.  นางปนัดดา            ศรีหาวงศ์         ประธานฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ

                  6.  นางมารีอัมพร         บุญโท            ประธานฝ่ายศึกษาและวัฒนธรรม

                  7.  นางสุดใจ              ว่องไว             ประธานฝ่ายสาธารณสุข

                  8.  นางบุหลัน             นกเผือก          ประธานฝ่ายกิจกรรมสตรี

                  9.  นายพงษ์สวรรค์       ดีตัน              ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์

 

การคมนาคม

มีถนน  ติดต่อกับอำเภอ  ๒  เส้นทาง   รวมระยะทางทั้งหมด    ๖    กิโลเมตร 

เป็นถนนลาดยาง         ระยะทาง         ๖        กิโลเมตร

เป็นถนนคอนกรีต        ระยะทาง         ๒        กิโลเมตร

เป็นถนนลูกรัง            ระยะทาง         ๐.๖     กิโลเมตร 

มีถนนสายหลักภายในหมู่บ้าน  ๒  สาย  รวมระยะทางทั้งหมด    ๑    กิโลเมตร  

เป็นถนนลาดยาง  ๑  สาย        ระยะทาง  ๑    กิโลเมตร

เป็นถนนคอนกรีต   ๗  สาย      ระยะทาง  ๒     กิโลเมตร

มีซอย  ๗  สาย                    ระยะทาง  ๒     กิโลเมตร

เป็นคอนกรีต      ๗      สาย    ระยะทาง  ๒     กิโลเมตร

 

ข้อมูลด้านการเลี้ยงสัตว์        

                  ๑. เลี้ยงกระบือ            จำนวน           ๓๗      ครัวเรือน         จำนวน    ๔๕    ตัว

                  ๒. เลี้ยงโค                  จำนวน           ๓๐      ครัวเรือน         จำนวน    ๕๑    ตัว

                  ๓. เลี้ยงไก่                  จำนวน           ๑๐๐    ครัวเรือน         จำนวน  ๑,๕๐๐  ตัว

                  ๔. เลี้ยงเป็ด                จำนวน           ๓        ครัวเรือน         จำนวน    ๘๐    ตัว

                  ๕. เลี้ยงสุกรพื้นเมือง       จำนวน           ๑๐      ครัวเรือน         จำนวน    ๔๐    ตัว

                  ๖. เลี้ยงสุกรพันธ์           จำนวน           ๔        ครัวเรือน         จำนวน    ๖๐    ตัว

                  ๗.  เลี้ยงม้า                จำนวน           ๑        ครัวเรือน         จำนวน    ๑      ตัว

                  ๘.  เลี้ยงแกะ              จำนวน           ๑        ครัวเรือน         จำนวน    ๑๐    ตัว

ข้อมูลสถานบริการ

                  มีร้านค้าในหมู่บ้าน        จำนวน    ๖      แห่ง

                  มีธนาคารข้าว              จำนวน    1      แห่ง

แหล่งน้ำกินน้ำ - น้ำใช้

          มีระบบประปาหมู่บ้านใช้ในหมู่บ้าน  มีผู้ใช้ประปา จำนวน  ๑4๒    ครัวเรือน บ่อบาดาล  ๓ บ่อ    โอ่งน้ำ ขนาด   ๒,๐๐๐  ลิตร จำนวน  ๒๕๐  ใบ  สระน้ำ  ๘  แห่ง  ถังเก็บน้ำ/น้ำฝน  ๖  แห่ง  แม่น้ำ/ลำห้วย  ๓  แห่ง  ฝายนำล้น  ๑   แห่ง  

 

ผลิตภัณฑ์ชุมชน

        ราษฎรบ้านสองคอน มีกลุ่มอาชีพหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร  กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าบ้านสองคอน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมตอไม้ประดิษฐ์   วิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมตอไม้และ

ทำหิน  กลุ่มปลาร้าบอง  กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นบ้าน กลุ่มร้านค้าชุมชน กลุ่มสานตะกร้าพลาสติก กลุ่มทำน้ายาล้างจาน  กลุ่มอนุรักษ์ควายไทย กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุนหมู่บ้าน กองทุนแม่ของแผ่นดิน  โครงการกองทุนแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) กลุ่มชมรมผู้สูงอายุ กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ กลุ่มเลี้ยงปลา  ทำให้ราษฎรมีรายได้เสริมหลังจากฤดูทำนา เพื่อยกระดับรายได้ให้กับครัวเรือน ดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกพืชผักสวนครัวและเลี้ยงสัตว์ไว้กินในครอบครัว

แหล่งเงินทุน

        ๑. กองทุนหมู่บ้าน (กทบ.)

        ๒. โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)

        ๓. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

        ๔. ร้านค้าชุมชน

        ๕. กองทุนแม่ของแผ่นดิน

        ๖. กลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง

 

ความภาคภูมิใจของชุมชน

๑.  สร้างแหล่งเรียนรู้ ซึ่งสามารถดำเนินการได้โดยไม่เบียดเบียนทรัพยากรธรรมชาติ  นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นพลังของทุนทางสังคมด้านทรัพยากรมนุษย์  โดยเฉพาะด้านความร่วมมือร่วมใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ซึ่งนับวันภาพเหล่านี้จะหายากขึ้นทุกขณะ

๒. ชุมชนสามารถรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมเอาไว้ได้  ซึ่งตรงกับแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  มุ่งเน้นให้คนไทยหันมาพึ่งตนเองและช่วยเหลือผู้อื่น

โดยได้ดำเนินงานตามโครงการขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ มีกิจกรรมดำเนินงาน  ๖  ด้านเช่น  ด้านที่ ๑ ลดรายจ่าย

ครัวเรือนมีพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือนของตนเอง ใช้พื้นที่ว่างบริเวณบ้าน หรือใช้กระถางรถยนต์/ภาชนะที่ทิ้งแล้วปลูกผักสวนครัว พืชสมุนไพร  รวมทั้ง เลี้ยงปลา  เลี้ยงกบ  เลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู  หรืออย่างอื่น  จนทำให้ครัวเรือนสามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนได้

ด้านที่  ๒

การเพิ่มรายได้

ครัวเรือนมีอาชีพเสริมนอกจากอาชีพหลักที่ทำเป็นประจำทำให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น 

(สมุดบัญชี + กิจกรรม)

        บ้านสองคอน  เป็นสังคมเกษตรกรรมผสมผสานกับการทำประมงมาแต่โบราณ  ผู้คนดำรงอาชีพด้วยการเพาะปลูกข้าว นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งกลุ่ม ในการส่งเสริมด้านการประกอบอาชีพเสริม มีการรวมกลุ่มจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่าง ๆ  เพื่อเสริมรายได้ให้กับคนในชุมชน ได้แก่ กลุ่มแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร กลุ่มตอไม้ประดิษฐ์  กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าบ้านสองคอน  กลุ่มอนุรักษ์ควายไทย  กลุ่มสานตะกร้าพลาสติก  กลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพ 

ด้านที่  ๓

การประหยัดอดออม 

ครัวเรือนมีการฝากเงินไว้กับธนาคาร / สถาบันการเงิน / กลุ่มออมทรัพย์ / กองทุนอื่นๆ  ที่มีการรับฝากเงินให้กับสมาชิก

การจัดตั้งกลุ่มระดมเงินเพื่อประกอบอาชีพและสวัสดิการในครัวเรือน  มีการรวมกลุ่ม ดังนี้

        หมู่บ้านมีกองทุนในรูปแบบสวัสดิการ อย่างน้อย ๑  กองทุน และสมาชิกในชุมชนมีโอกาสได้รับบริการจากกองทุนครบทุกคน

ด้านที่  ๔

การเรียนรู้ 

ได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชน จำนวน  ๑  แห่ง  ตั้งอยู่ที่ศาลากลางบ้าน  จำนวน  1  ไร่ เพื่อใช้เป็นแหล่งรวบรวมและถ่ายทอดข้อมูล ข่าวสาร เรื่องราวต่าง ๆ ของชุมชน เช่น ภูมิปัญญาชุมชน ข้อมูลของชุมชน และเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมประสานความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งที่ผ่าน ๆ มาศูนย์มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่คนในชุมชน ได้แก่ การสานตะกร้า การทำน้ำยาล้างจาน การฝึกอบรมการทำกระถางยางรถยนต์

ด้านที่ 5

ด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

บ้านสองคอนมีการจัดกิจกรรมการสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

หลายอย่าง เช่น การปลูกป่าเพิ่มเติมในป่าชุมชนเป็นประจำทุกปี การไม่จับสัตว์น้ำในฤดูปลาวางไข่ การใช้เครื่องมือจับสัตว์ที่ไม่ทำลายสัตว์ขนาดเล็ก การปรับปรุงภูมิทัศน์หมู่บ้าน  การใช้ปุ๋ยคอก-ปุ๋ยหมักในการเพาะปลูก การใช้เชื้อเพลิงจากแกลบแทนถ่านและฟืน  และการรณรงค์ให้ทุกครัวเรือนใช้หลอดไฟฟ้าประหยัด เป็นต้น

ด้านที่ 6

ด้านการเอื้ออารีต่อกัน

ชุมชนมีการดูแลช่วยเหลือคนจน  ผู้ด้อยโอกาส  และผู้ประสบความยากลำบาก มีการจัด

กิจกรรมด้านการเอื้ออารีต่อกันหลายอย่าง เช่น ธนาคารบริจาคข้าวให้คนที่เดือดร้อน คณะกรรมการหมู่บ้านสร้างบ้านพักให้สมาชิกในชุมชน หมู่บ้านมอบอาหารเครื่องนุ่งห่มให้กับคนในชุมชน กองทุนแม่ของแผ่นดินหมู่บ้านมอบทุนการศึกษาให้กับเด็กในชุมชน จัดเพื่อช่วยเหลือคนยากจน ผู้เดือดร้อน คนพิการ ผู้สูงอายุในชุมชนที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ นอกจากนั้นยังมีการสำรวจข้อมูลประชาชนที่เดือดร้อน แล้วประสานหน่วยงานให้ความช่วยเหลือ หรือแก้ไขปัญหาความต้องการ

ตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์

1. มีกองทุนสวัสดิการชุมชน 

2. เป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพติด

3. มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

แผนงานที่ชุมชนจะดำเนินการ

               1. การพัฒนาหมู่บ้านสู่การเป็นท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

               2. จัดเวทีประชาคมหมู่บ้าน เพื่อกำหนดและขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนชุมชน

               3. การสร้างเครือข่ายกับหมู่บ้านอื่นๆ ในคราวโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของทางราชการ และของชุมชน

4. ขับเคลื่อนทุกกิจกรรมในหมู่บ้านให้เข้มแข็งและยั่งยืน โดยประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เข้ามาช่วยเหลือ และ ปรับแผนชุมชน

5. ด้านสร้างรายได้  โดยการนำภูมิปัญญาของชุมชนมาพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชุมชน ร่วมถึง

การอนุรักษ์และถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลัง 

6.ด้านลดรายจ่าย โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาในในการดำรงวิถีชีวิต ดำเนิน

กิจกรรมลดรายจ่ายอย่างต่อเนื่อง เช่น ปลูกพืชผักสวนครัว การทำปุ๋ยชีวภาพ การทำน้ำยาล้างจาน การทำบัญชีรับจ่าย เป็นต้น

7. วัดความอยู่เย็น เป็นสุข ของหมู่บ้าน หรือความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน  โดยจัดเวทีประชาคม

 

view

 หน้าแรก

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view