http://wycd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทบาทหน้าที่

 ประวัติอำเภอ

 รวมรูปภาพ

 พช.มุกดาหาร

 Links สพอ.

 เว็บบอร์ด

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท25/03/2019
ผู้เข้าชม32,323
เปิดเพจ41,979
สินค้าทั้งหมด1

ข้อมูล พช.หว้านใหญ่

ข้อมูลทั่วไป

บริการประชาชน

กิจกรรมเด่น

KM องค์ความรู้

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

TDR/VDR

องค์ความรู้ชุมชน

ชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ

โครงการแก้จน

สินค้า

 สินค้าทั้งหมด
iGetWeb.com
AdsOne.com

TDR ต.บางทรายน้อย

รายงานการพัฒนาตำบล

(Tambon Development Report : TDR)

ตำบลบางทรายน้อย

อำเภอหว้านใหญ่  จังหวัดมุกดาหาร

ส่วนที่  ๑  ข้อมูลทั่วไป

  • ประวัติความเป็นมา

               ราษฎรอพยพมาเมื่อ ๒๐๐ กว่าปีมาแล้ว เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพไปตีเวียงจันทร์ เมื่อเสร็จศึกก็ยกไพร่พลลงมาทางใต้ เมื่อมาพบเห็นทำเลที่เหมาะสมก็ให้ทหารที่ไม่อยากกลับเมืองหลวงตั้งรกรากบริเวณฝั่งแม่น้ำ และเอาคำว่า “บาง” ซึ่งมาจากการยกคุ้งน้ำของคนไทยภาคกลาง มาเป็นคำนำหน้าหาดทรายบริเวณหมู่บ้าน จึงเรียกชื่อว่า “บางทรายน้อย”

  • สภาพทั่วไปของตำบล

          ตำบลบางทรายน้อย อำเภอ หว้านใหญ่   จังหวัดมุกดาหาร   อยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดมุกดาหาร  ห่างจากอำเภอหว้านใหญ่   เป็นระยะทางประมาณ  ๑๒  กิโลเมตร  ห่างจากจังหวัดมุกดาหารเป็นระยะทางประมาณ  ๑๕  กิโลเมตร       ใช้ระยะเวลาประมาณ  ๒๐  นาที  ในการเดินทางจากอำเภอหว้านใหญ่ – จังหวัดมุกดาหาร  และห่างจากกรุงเทพมหานครเป็นระยะทางประมาณ  ๖๖๒  กิโลเมตร เนื้อที่ตำบลบางทรายน้อย มีเนื้อที่ประมาณ ๒๐ ตารางกิโลเมตร มีหมู่บ้าน  ๑๑  หมู่บ้าน

  • อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ          มีเขตติดต่อกับ    ตำบลชะโนด

ทิศใต้             มีเขตติดต่อกับ    ตำบลบางทรายใหญ่

ทิศตะวันออก     มีเขตติดต่อกับ    สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดน

 ทิศตะวันตก     มีเขตติดต่อกับ    ตำบลบางทรายใหญ่

  • ภูมิประเทศ 

                    สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง และที่ราบตามลำห้วยสาขาของแม่น้ำโขง โดยพื้นที่ราบสม่ำเสมอ 

  • สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของตำบล

                   ลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุม  มี  ๓  ฤดู  คือ

                   ฤดูร้อน     ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคม  ถึง เดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ย  ๓๕-๔๐ องศาเชลเซียส

                   ฤดูฝน      ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม  ถึง เดือนตุลาคม  อุณหภูมิเฉลี่ย  ๒๔-๓๕ องศาเชลเซียส

                   ฤดูหนาว  ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ย ๑๐-๒๐ องศาเชลเซียส

  • เขตการปกครอง

          จำนวนหมู่บ้านในเขต ตำบลบางทรายน้อย  มี  ๑๑  หมู่บ้าน  ได้แก่

          หมู่ที่ ๑  บ้านบางทรายน้อย        นายเควนแทน              เผ่าพันธุ์          เป็นผู้ใหญ่บ้าน

          หมู่ที่ ๒  บ้านบางทรายน้อย        นางสาวอุทิศ               ทวีโคตร           เป็นผู้ใหญ่บ้าน

          หมู่ที่ ๓  บ้านดอน                   นายเรืองศักดิ์               ทองผา            เป็นผู้ใหญ่บ้าน

          หมู่ที่ ๔  บ้านขามป้อม              นายเหมือน                 อินปาว           เป็นผู้ใหญ่บ้าน

          หมู่ที่ ๕  บ้านผักขะย่า              นายเพชรถาวร            ศรีประสงค์       เป็นผู้ใหญ่บ้าน

          หมู่ที่ ๖  บ้านทรายทอง             นางสาวกัลยารัตน์         ทวีโคตร           เป็นผู้ใหญ่บ้าน

          หมู่ที่ ๗  บ้านนามน                 นายธันย์คชินทร์           ทองจันทร์        เป็นผู้ใหญ่บ้าน

          หมู่ที่ ๘  บ้านสุขสำราญ             นายวิศิษฏ์                  พาลึก             เป็นผู้ใหญ่บ้าน

          หมู่ที่ ๙  บ้านดาวเรือง              นายไพบูลย์                 ทวีโคตร          เป็นผู้ใหญ่บ้าน

          หมู่ที่ ๑๐ บ้านโพธิ์ทอง              นายวงจันทร์  สุวรรณชัยรบ                  เป็นผู้ใหญ่บ้าน

          หมู่ที่ ๑๑ บ้านบางทรายใต้         นายประดิษฐ์     ใจช่วง                      เป็นผู้ใหญ่บ้าน

 

  • จำนวนประชากร

          มีครัวเรือนทั้งหมด  ๑,1๖5  ครัวเรือน  ประชากรทั้งสิ้น 3,491 คน  แยกเป็น  ชาย  1,740 คน    หญิง   1,751 คน  มีความหนาแน่นเฉลี่ย   ๒๐๕.๖๑  คน/ตารางกิโลเมตร

ประชากรสามารถแยกเป็นรายหมู่บ้านได้ดังนี้

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

พื้นที่ถือครอง

จำนวนครัวเรือน

ชาย (คน)

หญิง (คน)

รวม (คน)

บ้านบางทรายน้อย

๑,๖๑๔

๑81

254

26๘

522

บ้านบางทรายน้อย

๑,๐๑๒

๑07

152

158

310

บ้านดอน

๑,๕๗๓

160

240

225

465

บ้านขามป้อม

๑,๓๘๘

92

167

166

333

บ้านผักขะย่า

๑,๑๓๗

๕๖

83

84

167

บ้านทรายทอง

๑,๐๓๗

๑๕9

๒55

๒3๕

490

บ้านนามน

๑,๐๓๐

๑๐6

๑๖0

174

334

บ้านสุขสำราญ

๙๐๗

๗1

๑04

88

192

บ้านดาวเรือง

๙๖๗

7๗

99

๑๑0

209

๑๐

บ้านโพธิ์ทอง

๑,๖๘๘

91

๑33

158

291

๑๑

บ้านบางทรายใต้

๘๖๐

65

93

85

178

รวม

 

๑๓,๒๑๓ ไร่

๑,1๖5

1,740

1,751

3,491

 

 แผนภูมิแสดงจำนวนประชากรแยกชายหญิง

จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริง* ณ วันสำรวจ จำแนกตามช่วงอายุ

จากผลการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (จปฐ. ๒) ปี ๒๕๖๐

 

ตำบลบางทรายน้อย  อำเภอหว้านใหญ่   จังหวัดมุกดาหาร

ช่วงอายุประชากร

จำนวนเพศชาย

(คน)

จำนวนเพศหญิง

(คน)

จำนวนรวม

(คน)

น้อยกว่า  ๑  ปีเต็ม

๑ ปีเต็ม – ๒ ปี

๓ ปีเต็ม – ๕ ปี

๖ ปีเต็ม – ๑๑ ปี

๑๒ ปีเต็ม – ๑๔ ปี

๑๕ ปีเต็ม – ๑๗ ปี

๑๘ ปีเต็ม – ๒๕ ปี

๒๖ ปีเต็ม – ๔๙ ปี

๕๐ ปีเต็ม – ๖๐ ปีเต็ม

มากกว่า  ๖๐  ปีเต็มขึ้นไป

7

๒2

48

๑35

58

72

213

๖11

320

254

16

๔9

๑15

67

79

๑95

๖18

323

๒87

9

3๘

7

๒๕0

25

51

408

๑,๒29

643

541

รวมทั้งหมด

๑,๖๒๔

๑,๘๑๓

๓,๔๓๗

4

  • สภาพทางเศรษฐกิจอาชีพ

ประชากรในตำบลบางทรายน้อยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา เป็นหลัก โดยมีพื้นที่ทำนา    ๙,๓๗๖  ไร่  หลังฤดูเก็บเกี่ยวแล้ว จะปลูกพืชหมุนเวียน เช่น มันแกว  มันเทศ  แตงกวา    เป็นต้น โดยมีพื้นที่ปลูกผัก  ๕๙๗  ไร่ และปลูกผลไม้  มีพื้นที่ทั้งหมด  ๔๒๙  ไร่

  • ด้านพาณิชยกรรม

q  รีสอร์ท                                             จำนวน           ๑      แห่ง

q  ปั้มน้ำมันหลอด                                    จำนวน           ๘       แห่ง

q  ร้านรับซ่อมรถยนต์ จักรยานยนต์                 จำนวน           ๗     แห่ง

q  ร้านค้า                                             จำนวน           ๔๔     แห่ง

q  โรงสีข้าวขนาดเล็ก                                 จำนวน            ๑๑     แห่ง

q  ตลาดสด                                           จำนวน           ๒      แห่ง

q  ศูนย์สาธิตการตลาด                               จำนวน             ๑    แห่ง

q  ร้านเสริมสวย                                      จำนวน             ๖     แห่ง

q  ร้านเย็บผ้า                                         จำนวน             ๑      แห่ง

q  ท่าหิน ท่าทราย                                    จำนวน             ๓      แห่ง

q  กิจการบ้านเช่า                                    จำนวน             ๕     แห่ง

   สภาพทางสังคม

๑. การศึกษา

q  โรงเรียนประถมศึกษา                             จำนวน           ๓        แห่ง

q  โรงเรียนมัธยมศึกษา  (ขยายโอกาส)              จำนวน           ๒        แห่ง

q  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลบางทรายน้อย           จำนวน           ๒           แห่ง

q  ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน                 จำนวน           ๑๑      แห่ง

q  หอกระจายข่าว                                    จำนวน           ๑๑      แห่ง

๒. สถาบันและองค์กรทางศาสนา

q  วัด/สำนักสงฆ์                                      จำนวน           ๗        แห่ง

q  ศาลเจ้า                                             จำนวน           ๑        แห่ง

. งานประเพณีท้องถิ่น

q  ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา

q  ประเพณีบุญพระเวสสันดร

q  ประเพณีบุญข้าวสาร์ท

q  ประเพณีบุญข้าวประดับดิน

q  ประเพณีบุญกองข้าว

q  ประเพณีเลี้ยงหอปู่ตา

                ๔. สาธารณสุข

q  ศูนย์สุขภาพชุมชน                       จำนวน           ๒        แห่ง

           - เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน     ๖   คน

q  ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน           จำนวน           ๑๑      แห่ง

          - อสม.   ๑๒๐   คน

q  อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำร้อยละ    ๑๐๐   

ตำบลบางทรายน้อยเป็นชุมชนเกษตรกรรมซึ่งมีการขยายตัวทางการเกษตรค่อนข้างมาก โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจ  เช่น มันแกว,  มันเทศ, แตงกวา,  พืชผักพื้นบ้าน ฯลฯ  และจากปัจจัยดังนี้

๑.     การรวมกลุ่มของประชาชน

q  กลุ่มเกษตรกองทุนปุ๋ย               หมู่  ๑

q  กลุ่มปลูกพืชบางทรายน้อย          หมู่  ๒

q  กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า                   หมู่  ๓

q  กลุ่มแปรรูปผัก ผลไม้                หมู่  ๓

q  กลุ่มทอผ้าฝ้าย                       หมู่  ๓

q  กลุ่มจักรสานไม้ไผ่                   หมู่  ๓

q  กลุ่มทอผ้าฝ้าย                      หมู่  ๔

q  กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า                   หมู่  ๔

q  กลุ่มปลูกพืชฤดูแล้ง                  หมู่ ๕

q  กลุ่มกสิกรรมไร้สารพิษ              หมู่  ๖

q  กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ           หมู่  ๗

q  กลุ่มเกษตรก้าวหน้าฯ               หมู่ ๘

q  กลุ่มเลี้ยงโค                          หมู่  ๙

q  กลุ่มเจียระไนหิน                     หมู่  ๙

q  กลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว              หมู่  ๙

q  กลุ่มสานตะกร้าพลาสติก            หมู่  ๑๐

q  กลุ่มปลูกพืชปลอดสารพิษ           หมู่  ๑๐

q  กลุ่มผลิตภัณฑ์การบูร               หมู่  ๑๑        

q  กลุ่มเกษตรพืชไร่                     หมู่  ๑๑

q  กลุ่มสตรีเลี้ยงหมูกี้                   หมู่  ๑๑

 

     ๒.  จุดเด่นของพื้นที่ ( ที่เอื้อต่อการพัฒนาตำบล )

ตำบลบางทรายน้อย  มีป่าหนองบุ่งคล้าที่อุดมสมบูรณ์ มีต้นไม้ใหญ่ ๆ อยู่หลายพันธุ์ เหมาะแก่การปรับปรุงเป็นสวนสาธารณะเพื่อให้เป็นที่พักผ่อนของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนใกล้เคียง

ในช่วงฤดูร้อนบริเวณริมแม่น้ำโขงยังมีหาดทรายสีขาวและน้ำที่ใสสะอาดซึ่งเหมาะแก่การจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวมาก

ตำบลบางทรายน้อยยังเป็นสั้นทางที่ใช้ผ่านไปแก่งกะเบา  ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวประจำจังหวัดมุกดาหาร และยังสามารถเดินทางผ่านไปถึงจังหวัดนครพนมได้

พื้นที่บางส่วนติดกับแม่น้ำโขง สามารถประกอบอาชีพประมงและเป็นพื้นที่ใช้ในการเพาะปลูกพืชทางการเกษตรได้

มีลำห้วยที่สำคัญหลายสายไหลผ่าน  ได้แก่  ลำห้วยน้อย  ลำห้วยแอก และลำห้วยบางทราย  ซึ่งประชากรส่วนใหญ่อาศัยน้ำจากแหล่งน้ำเหล่านี้ในการเพาะปลูกพืชตามฤดูกาลต่าง ๆ

 

ส่วนที่  ๒  สภาพปัญหาและสาเหตุ

จากข้อมูลสภาพทั่วไปในบทข้างต้นแล้ว ยังพบปัญหาของตำบลบางทรายน้อย จากรายงานความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี ๒๕๖๐  ในภาพรวมตำบล ดังตารางแสดงตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์

 

ตัวชี้วัดความจำเป็นพื้นฐานที่ไม่ผ่านเกณฑ์

 

ผลการสำรวจระดับครัวเรือน (จปฐ.2)

 

จำนวนสำรวจ

ไม่ผ่านเกณฑ์

จำนวน

ร้อยละ

2๕

คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา (ยกเว้นการดื่มเป็นครั้งคราวฯ)

3,491

88

2.52

26

คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่

3,491

252

7.๒2

 

 

 

 

 

 

ตัวชี้วัดความจำเป็นพื้นฐานที่ไม่ผ่านเกณฑ์

รายชื่อหมู่บ้านที่ไม่ผ่านเกณฑ์

 

2๕

คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา (ยกเว้นการดื่มเป็นครั้งคราวฯ)

ม.1,3,4,5,6,7,8,9,10,11

26

คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่

ม.1 - 11

 

ตารางข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานที่ไม่บรรลุเป้าตามตัวชี้วัดหากนำมาแยกตามพื้นที่ได้ดังนี้

จากตารางข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานที่ไม่บรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดหากนำมาแยกตามพื้นที่ พบว่า

๑.      หมู่บ้านที่มีข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ๑  ตัวชี้วัด จำนวน    หมู่บ้าน  ได้แก่ บ้านบางทรายน้อย หมู่ที่ 2

๒.      หมู่บ้านที่มีข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ๒ ตัวชี้วัด จำนวน  10  หมู่บ้าน  ได้แก่ หมู่ที่ 1,3,4,5,6,7,8,9,10,11

 

สรุปภาพรวมของทั้ง  ๑๑  หมู่บ้าน  พบว่า

          บ้านบางทรายน้อย เป็นหมู่บ้านที่มีคุณภาพชีวิตตามความจำเป็นพื้นฐานดีที่สุดในตำบลบาง

ทรายน้อย หมู่ที่ 2 คือ ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด  29  ตัวชี้วัด ไม่ผ่านเกณฑ์ 1 ตัวชี้วัด

          ส่วนหมู่ที่ 1,3,4,5,6,7,8,9,10,11 ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด  28  ตัวชี้วัด ไม่ผ่านเกณฑ์ 2 ตัวชี้วัด

จากการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช ๒ค) ปี ๒๕๕8  ตามดัชนีระดับการพัฒนาหมู่บ้านตัวชี้วัดที่มีปัญหามาก และมีปัญหาปานกลาง แยกเป็นรายหมู่บ้าน  ดังนี้

ดัชนีระดับการพัฒนาของหมู่บ้าน ประมวลจากข้อมูล กชช ๒ค ปี ๒๕๕8  จังหวัดมุกดาหาร

จากตารางดัชนีระดับการพัฒนาของหมู่บ้าน จะเห็นได้ว่า

๑.      บ้านบางทรายน้อย หมู่ที่ ๑  ระดับการพัฒนาต่ำกว่าเกณฑ์ (ได้คะแนน ๑) มีจำนวน  ๒  ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดที่ 16 ร และตัวชี้วัดที่ 32

๒.      บ้านบางทรายน้อย หมู่ที่ ๒  ระดับการพัฒนาต่ำกว่าเกณฑ์ (ได้คะแนน ๑) มีจำนวน  3  ตัวชี้วัด คือตัวชี้วัดที่ 17 ,18 ,25

๓.      บ้านดอน หมู่ที่ ๓  ระดับการพัฒนาต่ำกว่าเกณฑ์ (ได้คะแนน ๑) มีจำนวน  3  ตัวชี้วัด คือ

ตัวชี้วัดที่ 17,18 ,32

๔.      บ้านขามป้อม หมู่ที่ ๔  ระดับการพัฒนาต่ำกว่าเกณฑ์ (ได้คะแนน ๑) มีจำนวน  5  ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดที่ 1 ,11 ,18 ,21 ,32

๕.      บ้านผักขะย่า หมู่ที่ ๕  ระดับการพัฒนาต่ำกว่าเกณฑ์ (ได้คะแนน ๑) มีจำนวน  4  ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดที่ 17, 18, 21, 25

๖.      บ้านทรายทอง หมู่ที่ ๖  ระดับการพัฒนาต่ำกว่าเกณฑ์ (ได้คะแนน ๑) มีจำนวน  3  ตัวชี้วัด คือ

ตัวชี้วัดที่ 18 ,21,25

๗.      บ้านนามน หมู่ที่ ๗  ระดับการพัฒนาต่ำกว่าเกณฑ์ (ได้คะแนน ๑) มีจำนวน  4  ตัวชี้วัด คือ

ตัวชี้วัดที่ 1, 18, 21, 32

8.  บ้านสุขสำราญ  หมู่ที่ ๘  ระดับการพัฒนาต่ำกว่าเกณฑ์ (ได้คะแนน ๑) มีจำนวน  5 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดที่ 5, 17, 18, 21, 32

  1. บ้านดาวเรือง  หมู่ที่ ๙  ระดับการพัฒนาต่ำกว่าเกณฑ์ (ได้คะแนน ๑) มีจำนวน  3  ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดที่ 17, 21, 29
  2. บ้านโพธิ์ทอง  หมู่ที่ ๑๐ ระดับการพัฒนาต่ำกว่าเกณฑ์ (ได้คะแนน ๑) มีจำนวน  ๑  ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดที่ 4
    1. บ้านบางทรายใต้  หมู่ที่ ๑๑  ระดับการพัฒนาต่ำกว่าเกณฑ์ (ได้คะแนน ๑) มีจำนวน  2  ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดที่ 29, 32

 

สรุปจากภาพรวมของทั้ง  ๑๑  หมู่บ้าน พบว่า

          บ้านขามป้อม  หมู่ที่ 4 และบ้านสุขสำราญ หมู่ที่ 8 เป็นหมู่บ้านที่มีคุณภาพชีวิตตามข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้านมีปัญหามากที่สุด คือ มีตัวชี้วัดที่ต่ำกว่าเกณฑ์ (ได้คะแนน ๑) มากถึง  ๕  ตัวชี้วัด

          บ้านโพธิ์ทอง หมู่ที่ 10  เป็นหมู่บ้านที่มีคุณภาพชีวิตตามข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้านดีที่สุดในตำบล คือ มีจำนวน  ๑  ตัวชี้วัด

ส่วนที่  ๓

แนวโน้มและทิศทางการพัฒนา

วิเคราะห์ศักยภาพตำบล

          ในการพัฒนาตำบลบางทรายน้อย ชาวบ้านได้นำปัญหาต่าง ๆ ของชุมชนที่ได้จาการสำรวจข้อมูล จปฐ. และ กชช ๒ค รวมทั้งความคิดความเห็นจากเวทีประชาคม มาวิเคราะห์ปัญหาโดยอาศัยเวทีประชาคมของหมู่บ้าน และการประชุมราษฎรที่ดำเนินการเป็นประจำทุกเดือน โดยได้สังเคราะห์ใช้ในรูปแบบแผนชุมชน ซึ่งสรุปสภาพตำบล ได้ดังนี้

จุดแข็ง

จุดอ่อน

๑. มีหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของอำเภอหว้านใหญ่

๒. มีแหล่งเงินทุนในชุมชนที่เข้มแข็ง เช่น กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุนหมู่บ้าน โครงการ กข.คจ.

๓. มีระบบอินเตอร์เน็ตตำบลให้บริการ

๔. มีจุดเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในตำบล

๕. มีผู้นำที่เข้มแข็ง

๖. มีกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ที่เข้มแข็ง

๗. การมีส่วนร่วมของประชาชน

๘. มีป่าชุมชนในพื้นที่สาธารณะประโยชน์

๙. มีระบบสื่อสารและระบบสารสนเทศที่เหมาะสม

๑๐. มีข้อมูล จปฐ. กชช ๒ค และข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ

๑๑. มีภูมปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลาย เช่น การทอผ้า การจักสาน การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การเจียระไนหิน เป็นต้น

๑๒. มีการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมที่สำคัญ

๑๓. ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคราชการอื่น ๆ

๑๔. ผู้นำได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง

๑๕. มีหมู่บ้านในตำบลได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา

๑. ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ในการประกอบอาชีพเสริมหลังจากการทำไร่ ทำนา

๒. ประชาชนไม่สนใจในการประกอบอาชีพเสริม

๓. ประชาชนบางกลุ่มลุ่มหลงในอบายมุข

๔. ประชาชนมีการออมเงินน้อย การใช้จ่ายฟุ่ยเฟือย

๕. บางหมู่บ้านการคมนาคมไม่สะดวก ถนนเป็นหลุม เป็นบ่อ

๖. ประชาชนยังขาดจิตสำนึกในการพัฒนาตนเองและชุมชน

โอกาส

อุปสรรค

๑. ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคราชการอื่น ๆ

๒. ผู้นำได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง

๓. มีหมู่บ้านในตำบลได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา

๔. ระบบการสื่อสารที่ทันสมัย ทำให้รอบรู้ทันข่าวสาร

๑. การเมืองท้องถิ่นทำให้ชุมชนแตกแยก

๒. นโยบายรัฐเปลี่ยนแปลงบ่อยไม่ชัดเจน

๓. ภาวะเศรษฐกิจ ค่าครองชีพสูง ราคาปัจจัยการผลิตแพง ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูง ประชาชนต้องดิ้นรนช่วยเหลือตนเอง

๔. ขาดน้ำ และระบบชลประทานในการทำการเกษตร

 

ที่

กิจกรรม/โครงการ

ระยะเวลาดำเนินการ

งบประมาณ (บาท)

แหล่งงบประมาณ

ความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนา

บทบาทของพัฒนากร

อุดหนุนกลุ่มสตรีระดับตำบล

ม.ค.-ธ.ค.๕๙

๓๐,๐๐๐

อบต.

- ด้านเศรษฐกิจ  สร้างอาชีพ  เพิ่มรายได้  ลดรายจ่ายในครัวเรือน  ชุมชนมีการเรียนรู้และบริหารจัดการด้วยตัวเอง 

- วิทยากรกระบวนการ

 

ทำบุญประจำปี

ม.ค.-ธ.ค.๕๙

ไม่ใช้งบประมาณ

-

- ด้านวัฒนธรรมประเพณี  เป็นการปลูกฝังค่านิยมอันดีและรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีให้มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยั่งยืน

- จัดทำสารสนเทศชุมชน

รณรงค์  ลด ละ เลิก  อบายมุข

ก.ค.-ต.ค.๕๙

๑๐,๐๐๐

อบต. , กม.

- ด้านสังคม  ลดปัญหาการทะเละวิวาท  ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น  สุขภาพกายและใจดี  ครอบครัวอบอุ่น  ชุมชนน่าอยู่  

- จัดทำแผ่นพับ

- ประชาสัมพันธ์ไปยังเครือข่าย/

  องค์กร/ผู้นำ/เยาวชน

ส่งเสริมให้นำปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียงมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต

ม.ค.-ธ.ค. ๕๙

๑๐,๐๐๐

อบต.,เกษตร,พัฒนาชุมชน

- ด้านเศรษฐกิจ  ครัวเรือนมีภูมิคุ้มกันและมีเหตุผลกับการใช้ชีวิตโดยไม่ประมาณ  เป็นการส่งเสริมการเพิ่มรายได้  ลดรายจ่าย  รู้จักการประหยัดอดออม

- วิทยากรกระบวนการ

- ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างตาม

  แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                       

ส่วนที่ ๓  กิจกรรม/โครงการและผลการพัฒนาหมู่บ้าน

 

ที่

กิจกรรม/โครงการ

ระยะเวลาดำเนินการ

งบประมาณ (บาท)

แหล่งงบประมาณ

ความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนา

บทบาทของพัฒนากร

เฝ้าระวังการระบาดไข้เลือดออก

พ.ค.-ก.ย.๕๙

๓๐,๐๐๐

สาธารณสุข,อบต.

- ด้านสาธารณสุข  ลดอัตราการเกิดโรคในเด็ก  ประชาชนรู้ถึงแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและรู้จักวิธีป้องกันและรักษาอย่างถูกวิธี

- ประสานเกลุ่มยาวชน/สตรีเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม

- จัดทำปฏิทินฤดูกาล

พัฒนาหมู่บ้านในวันสำคัญต่าง ๆ

เป็นประจำทุกปี

ไม่ใช้งบประมาณ

-

- ด้านสังคม  ปรับปรุงทัศนียภาพภายในหมู่บ้านและดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้มีความอุดมสมบูรณ์  ทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในชุมชนในการมีส่วนรวมการพัฒนา

-  เข้าร่วมในกิจกรรมการพัฒนา

งดเหล้าเข้าพรรษา

ก.ค.- ต.ค. ๕๙

ไม่ใช้งบประมาณ

-

- ด้านศาสนา  เป็นการถือศีลภาวนาลด  ละเลิก สิ่งมอมเมาเพื่อให้มีกายบริสุทธิ์  และเป็นวิธีการบังคับตนเองไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสุรา

- ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

พลังสตรีลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาล

๑๑-๑๗  เม.ย. ๕๙

๑๕,๐๐๐

อบต. ,พัฒนาสังคม

- ด้านสังคม  ส่งเสริมบทบาทสตรีด้านการพัฒนา  ทั้งระดับจังหวัด  อำเภอ  และท้องถิ่น

- จัดทำป้ายรณรงค์ลดอุบัติเหตุ

- ประสานกลุ่มองค์กรสตรีเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการฯ

เบี้ยยังชีพผู้ด้อยโอกาส

 

๑,๙๘๙,๐๐๐

อบต

- ด้านเศรษฐกิจ  ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส

- ประชาสัมพันธ์

ส่วนที่ ๔ 

ข้อเสนอแนะของนักพัฒนาต่อการพัฒนาตำบล

 

สรุปผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลของหมู่บ้านเปรียบเทียบจากตัวชี้วัด  จปฐ.  กชช.๒ค.  และการจัดเวทีประชาคม  เพื่อให้ทราบถึงสภาพปัญหา  ระดับการพัฒนาหมู่บ้านและข้อมูลอื่นที่จำเป็นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนก่อนลงมือทำงานจะทำให้มีขั้นตอน  วิธีการทำงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมสนองต่อความต้องการของชุมชนได้อย่างแท้จริงและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน  ยุทธศาสตร์จังหวัด  แผนแม่บทชุมชน  จนกระทั้งการนำไปสู่การขับเคลื่อนกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านให้ประสบผลสำเร็จ  จึงขอเสนอแนะในเรื่องต่อไปนี้

๑.        ตำบลบางทรายน้อย ในปัจจุบันความเจริญเข้ามาสู่หมู่บ้านทำให้ความต้องการเครื่องอุปโภค-บริโภคจากภายนอกเพิ่มมากขึ้น  วิถีการดำเนินชีวิตเริ่มเปลี่ยนไปตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมผ่านสื่อต่าง ๆ  ทำให้ค่าใช้จ่ายในครอบครัวเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่อาชีพและรายได้คงเดิม  การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับชีวิตประจำวัน และการประกอบอาชีพ จึงเป็นวิธีการหนึ่งในการป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีเพื่อมิให้เกิดความประมาทในการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิต  การจัดตั้งกลุ่มอาชีพก็มีความสำคัญเช่นกัน  เพราะเป็นการสร้างอาชีพ  สร้างรายได้และเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในชุมชน

๒.        การมีส่วนร่วมของประชาชนยังมีน้อย  เนื่องจากข้อจำกัดด้านเวลาในการทำงาน  (อาชีพหลัก)  เพื่อสร้างโอกาสในการพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ควรใช้เทศกาลสำคัญ ๆ  เป็นเวทีเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน

๓.        ความสามัคคี  โดยเฉพาะในกลุ่มผู้นำชุมชนจะต้องเหนี่ยวแน่น  เพราะผู้นำเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านและมีสมาชิกในชุมชนเป็นหน่วยสนับสนุน  กิจกรรม/แผนงานจึงจะประสบผลสำเร็จ

๔.        เด็กเยาวชน  สตรีและคนชรา  ขาดโอกาสในการแสดงศักยภาพอย่างเต็มที่  เนื่องจากบทบาทสำคัญในชุมชนจะได้รับมอบหมายให้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้นำชุมชน  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพศชาย  เพื่อลดปัญหาความเลื่อมล้ำทางสังคม  ชุมชนควรเปิดโอกาส และสนับสนุนส่งเสริมบทบาทเด็ก  สตรี  และคนชรา  กับการมีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรม  โครงการในทุกขั้นตอน

๕.        ปัจจุบันการศึกษามีความสำคัญต่อการประกอบอาชีพของคนในชุมชนเพราะการศึกษาเป็นการสร้างโอกาสและเป็นช่องทางเลือกอาชีพได้หลากหลาย  ดังนั้นผู้ปกครองควรสนับสนุนบุตรหลานให้รักการเรียนและส่งเสริมบุตรหลานให้ได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น

 




view

 หน้าแรก

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view