http://wycd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทบาทหน้าที่

 ประวัติอำเภอ

 รวมรูปภาพ

 พช.มุกดาหาร

 Links สพอ.

 เว็บบอร์ด

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท25/03/2019
ผู้เข้าชม32,360
เปิดเพจ42,016
สินค้าทั้งหมด1

ข้อมูล พช.หว้านใหญ่

ข้อมูลทั่วไป

บริการประชาชน

กิจกรรมเด่น

KM องค์ความรู้

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

TDR/VDR

องค์ความรู้ชุมชน

ชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ

โครงการแก้จน

สินค้า

 สินค้าทั้งหมด
iGetWeb.com
AdsOne.com

VDR บ้านโคกสวาท

VDR บ้านโคกสวาท


รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน

Village Development Repot (VDR)

บ้านโคกสวาท  หมู่ที่ 9 ตำบลป่งขาม

อำเภอหว้านใหญ่  จังหวัดมุกดาหาร

 

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน

ประวัติความเ็นมาของหมู่บ้าน

          เมื่อประมาณ  300 กว่าปี  ก่อนหลังจากที่บ้านชะโนด 

ตั้งได้ประมาณ 6 ปี  จากที่มีอยู่ไม่กี่ครอบครัวกับกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่

จำนวนประชากรในชุมชนเพิ่มมากขึ้น  และทำให้ความเป็นอยู่ของพี่น้อง

เริ่มขาดแคลน  จึงได้มีชาวบ้านบางส่วนได้พาครอบครัว  อพยพโยกย้ายถิ่นฐาน

เพื่อหาแหล่งที่ทำกินใหม่  กลุ่มหนึ่งได้อพยพ  ลัดเลาะตามลำแม่น้ำโขงเรื่อยมา

ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร  ได้พบพื้นที่เหมาะสมในการเพาะปลูก 

จึงได้ตั้งหมู่บ้านขึ้นชื่อว่า  บ้านหว้านใหญ่  ตามสภาพพื้นที่เต็มไปด้วย “ป่าว่าน”

ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งนำโดย  ราชวัตรกับท้าวทา  ได้พาครอบครัวกับชาวบ้านบางส่วน

อพยพลัดเลาะตามลำห้วยชะโนดขึ้นมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ  14  กิโลเมตรได้พบพื้นที่เหมาะในการทำมาหากิน  ซึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่มอยู่ระหว่างลำห้วยชะโนด  กับหนองกุดขอน  และหนองกุดผึ้งพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะในการเพาะปลูกอย่างยิ่ง  จึงได้ตั้งหมู่บ้านขึ้น ชื่อว่าบ้านนาดี  และต่อมาได้เกิดอุทกภัย  น้ำท่วมอย่างรุนแรง  หมู่บ้านทั้งหมดจมอยู่ใต้น้ำ  ชาวบ้านได้พากันอพยพย้ายมาตั้งหมู่บ้านใหม่  ห่างจากบ้านเดิมประมาณ  1  กิโลเมตร และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า  บ้านโคกสวาท  เมื่อวันที่  10  มีนาคม 2524  มีผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือ  นายไสว  เมืองโคตร  และปัจจุบันมีนายโสภา  เมืองโคตร  เป็นผู้ใหญ่บ้าน

ลักษณะที่ตั้ง

          บ้านโคกสวาท  หมู่ที่ 9  ตำบลป่งขาม  ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอหว้านใหญ่  ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอหว้านใหญ่ ระยะทาง 4 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลป่งขาม  ระยะทาง2กิโลเมตร

พื้นที่ของหมู่บ้าน

          มีพื้นที่ทั้งหมด              1,500 ไร่

          ที่อยู่อาศัย                  300              ไร่

          พื้นที่ทำการเกษตร         800              ไร่

          พื้นที่ทำไร่                  150              ไร่

          พื้นที่ทำสวน               250              ไร่

อาณาเขต

          ทิศเหนือ                   จด      บ้านนาตะแบง  ตำบลคำป่าหลาย  อำเภอเมืองมุกดาหาร

          ทิศใต้                       จด      บ้านโคกน้ำสร้าง  ตำบลหว้านใหญ่

          ทิศตะวันออก              จด      บ้านนาดี  ตำบลป่งขาม 

          ทิศตะวันตก                จด      บ้านคำป่าหลาย  ตำบลคำป่าหลาย  อำเภอเมืองมุกดาหาร

การปกครอง

          คณะกรรมการหมู่บ้าน  จำนวน 9 คน ประกอบด้วย

  1. นายโสภา  เมืองโคตร           ตำแหน่ง                   ผู้ใหญ่บ้าน
  2. นางจันคง  เมืองโคตร           ตำแหน่ง                   ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
  3. นางสายัน  อนันต์              ตำแหน่ง                   ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
  4. นายประยัญ  เมืองโคตร       ตำแหน่ง                   กรรมการหมู่บ้าน
  5. นายเฉลิม  เมืองโคตร          ตำแหน่ง                   กรรมการหมู่บ้าน
  6. นายสลวย  เมืองโคตร          ตำแหน่ง                   กรรมการหมู่บ้าน
  7. นายดี  เมืองโคตร              ตำแหน่ง                   กรรมการหมู่บ้าน
  8. นายบรรดล  วงชัย             ตำแหน่ง                   กรรมการหมู่บ้าน
  9. นายจิตตา  อนันต์              ตำแหน่ง                   กรรมการหมู่บ้าน

การปกครอง  แบ่งการปกครองออกเป็นคุ้ม  จำนวน 15  คุ้ม  ดังนี้

  1. คุ้มตะวันลับฟ้า                 หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายบุญตา       เมืองโคตร
  2. คุ้มสวรรค์บันดาล               หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายบุญเพ็ง       เมืองโคตร
  3. คุ้มรุ่งอรุณเบิกฟ้า               หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายถวิล          กุลสุทธิ์
  4. คุ้มเทพอำนวยชัย               หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายบุญส่ง        เมืองโคตร
  5. คุ้มตะวันรอนข้างโรงเรียน      หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายแย้ม          อนันต์
  6. คุ้มสามแยกสำราญ             หัวหน้าคุ้มชื่อ     นางศรีเมือง       วงชัย
  7. คุ้มฟ้าประทานพร              หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายวิไล          กุลสุทธิ์
  8. คุ้มเกษตรสมบูรณ์               หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายสอง          เมืองโคตร
  9. คุ้มตะวันยอแสง                หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายคมสัน        บางทราย
  10. คุ้มสามัคคีธรรม                 หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายจิตตา        อนันต์
  11. คุ้มจันทร์ส่องแสง               หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายไชยรัตน์  เมืองโคตร
  12. คุ้มทุ่งแสงตะวัน                 หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายสลวย  เมืองโคตร
  13. คุ้มดาวประดับฟ้า               หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายเฉลิม  เมืองโคตร
  14. คุ้มจันทร์ทรงกรต               หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายประสงค์  เมืองโคตร
  15. คุ้มฟ้ามีชัย                      หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายมีชัย  อนันต์

ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะสภาพพื้นที่

                   พื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้าน  มีลักษณะเป็นที่ราบสูง

          แหล่งน้ำที่สำคัญ มี 2 แห่งคือ

  1. ลำห้วยชะโนด
  2. ฝายน้ำล้น

การคมนาคม

          มีถนนติดต่อกับอำเภอ  2  เส้นทาง  รวมระยะทางทั้งหมด  10  กิโลเมตร  ดังนี้

                   เป็นถนนลาดยาง          ระยะทาง  10  กิโลเมตร

                   เป็นถนนลูกรัง             ระยะทาง  -     กิโลเมตร

          มีถนนสายหลักภายในหมู่บ้าน  3  สาย  รวมระยะทางทั้งหมด  5  กิโลเมตรดังนี้

                   เป็นถนนลาดยาง          1  สาย           ระยะทาง  10  กิโลเมตร

                   เป็นถนนลูกรัง             -   สาย           ระยะทาง  -     กิโลเมตร

                   เป็นถนนคอนกรีต          3  สาย           ระยะทาง  2   กิโลเมตร

          มีซอยจำนวน  5  ซอย  รวมระยะทางทั้งหมด  7  กิโลเมตร

                   เป็นคอนกรีต               3  สาย           ระยะทาง  3  กิโลเมตร

                   เป็นถนนลูกรัง             2  สาย           ระยะทาง  4  กิโลเมตร

                   เป็นถนนดิน                -  สาย            ระยะทาง  -   กิโลเมตร

ประชากร

          มีครัวเรือน        ทั้งหมด  216  ครัวเรือน

          จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริง  ทั้งหมด    722 คน

          แยกเป็น เพศชาย  365  คน       เพศหญิง  357 คน

การประกอบอาชีพ

          ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักและอาชีพเสริม  ดังนี้

  1. อาชีพทำนา           216    ครัวเรือน
  2. อาชีพทำสวน          150    ครัวเรือน
  3. อาชีพประมง          -         ครัวเรือน
  4. อาชีพรับจ้าง          200    ครัวเรือน
  5. อาชีพรับราชการ      15      ครัวเรือน
  6. อาชีพค้าขาย          12      ครัวเรือน
  7. อื่นๆ (ระบุ)            5        ครัวเรือน

ข้อมูลด้านสัตว์เลี้ยง

  1. เลี้ยงกระบือ           จำนวน            20      ครัวเรือน
  2. เลี้ยงโค                จำนวน            50      ครัวเรือน
  3. เลี้ยงไก่                จำนวน            180    ครัวเรือน
  4. เลี้ยงเป็ด               จำนวน            20      ครัวเรือน
  5. เลี้ยงสุกรพื้นเมือง     จำนวน            16      ครัวเรือน
  6. เลี้ยงปลา              จำนวน            10      ครัวเรือน

ข้อมูลทางสังคม/ศาสนา/ศิลปะและวัฒนธรรม

          โรงเรียน                    จำนวน            1  แห่ง

          วัด                          จำนวน           -   แห่ง

          ศาลาประชาคม            จำนวน           -แห่ง

          ตู้โทรศัพท์สาธารณะ       จำนวน           -แห่ง

ข้อมูลสถานบริการ

          สถานบริการน้ำมันขนาดเล็ก  หรือปั้มหลอด                   จำนวน  2  แห่ง

          ร้านค้าในหมู่บ้าน                                                จำนวน  12 ร้าน

          ศูนย์จำหน่ายสินค้า                                              จำนวน  - แห่ง

          ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรระดับตำบล             จำนวน  1  แห่ง

สถานที่ท่องเที่ยวในหมู่บ้าน/ตำบล

  1. แก่งกะเบาอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ  7  กิโลเมตร
  2. โบสถ์คริสต์อยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 5  กิโลเมตร

แหล่งน้ำกิน – น้ำใช้

          ระบบน้ำประปาหมู่บ้าน   จำนวน  3แห่ง

          บ่อน้ำบาดาล              จำนวน  -บ่อ

          ถังเก็บน้ำฝน               จำนวน  10ถัง

          สระน้ำ                     จำนวน  -แห่ง

          แม่น้ำ/ลำห้วย             จำนวน  1สาย

          ฝายน้ำล้น                  จำนวน  1  แห่ง

การรวมกลุ่ม

มีการรวมกลุ่มเพื่อประกอบกิจกรรมในการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  ดังนี้

  1. ธนาคารข้าวประจำหมู่บ้าน  จัดตั้งเมื่อ ปี  พ.ศ. 2527  ทุนข้าวในธนาคารจำนวน 4,602  กิโลกรัม  โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการเป็นแหล่งรวบรวมข้าวของหมู่บ้าน
  2. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านโคกสวาทจัดตั้งขึ้นเมื่อ  ปี พ.ศ. 2544  จำนวน เงินทุน 120,000บาท สมาชิกจำนวน  182  คน
  3. กองทุนโครงการ กข.คจ. ได้รับงบเมื่อปีพ.ศ. 2544  จำนวนเงินสนับสนุน  280,000 บาท

ดำเนินกิจกรรมสนับสนุนเงินให้ครัวเรือนยืมไปประกอบอาชีพ โดยปลอดดอกเบี้ย

  1. กองทุนแม่ของแผ่นดิน  จำนวนเงินทุนทั้งหมด  42,393  บาท
  2. กองทุนเมนู 5 จำนวนเงินทุนทั้งหมด  93,000  บาท

ส่วนที่ 2 : การประเมินผลการพัฒนาหมู่บ้าน

การประเมินสถานการณ์พัฒนาหมู่บ้านจากข้อมูลกชช 2 ค

จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน(กชช 2 ค) ประจาปี 2560 บ้านโคกสวาทมีผลการพัฒนาอยู่ในระดับก้าวหน้า (ระดับ 3 ) และเมื่อพิจารณากลุ่มตัวชี้วัดตามระดับปัญหาเป็นดังนี้

 

รายงานข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2ค)ประจำปี 2558

ตัวชี้วัด

มีปัญหา

(1) มาก

(2) ปานกลาง

(3) น้อย/ไม่มี

1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

(1) ถนน

/

 

 

(2) น้ำดื่ม

 

 

/

(3) น้ำใช้

 

 

/

(4) น้ำเพื่อการเกษตร

 

 

/

(5) ไฟฟ้า

 

 

/

(6) การมีที่ดินทำกิน

 

 

/

(7) การติดต่อสื่อสาร

 

/

 

2. ด้านการประกอบอาชีพและมีงานทำ

(8) การมีงานทำ

 

/

 

(9) การทำงานในสถานประกอบการ

 

 

 

(10) ผลผลิตจากการทำนา

 

 

/

(11) ผลผลิตจากการทำไร่

 

 

 

(12) ผลผลิตจากการทำเกษตรอื่นๆ

 

 

 

(13) การประกอบอุตสาหกรรมในครัวเรือน

 

 

 

(14) การได้รับประโยชน์จากการมีสถานที่ท่องเที่ยว

 

 

 

3. ด้านสุขภาพและอนามัย

(15) ความปลอดภัยในการทำงาน

 

 

/

(16) การป้องกันโรคติดต่อ

 

 

/

(17) การกีฬา

/

 

 

4. ด้านความรู้และการศึกษา

(18) การได้รับการศึกษา

/

 

 

(19) อัตราการเรียนต่อของประชาชน

 

 

 

(20) ระดับการศึกษาของประชาชน

 

 

/

5. การมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งของชุมชน

(21) การเรียนรู้โดยชุมชน

/

 

 

(22) การได้รับการคุ้มครองทางสังคม

 

 

/

(23) การมีส่วนร่วมของชุมชน

 

 

/

(24) การรวมกลุ่มของประชาชน

 

 

/

(25) การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของชุมชน

 

 

/

 

6. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(26) คุณภาพของดิน

 

/

 

(27) คุณภาพน้ำ

 

 

 

(28) การปลูกป่าหรือไม้ยืนต้น

 

 

 

(29) การใช้ประโยชน์ที่ดิน

 

 

 

(30) การจัดการสภาพสิ่งแวดล้อม

 

 

/

                          7. ด้านความเสี่ยงของชุมชนและภัยพิบัติ

 

(31) ความปลอดภัยจากยาเสพติด

 

 

/

(32) ความปลอดภัยจากภัยพิบัติ

 

 

/

(33) ความปลอดภัยจากความเสี่ยงในชุมชน

/

 

 

สรุปข้อมูล กชช.2ค 

  • Ø ระดับการพัฒนาหมู่บ้าน ระดับ ๓
  • Ø ตัวชี้วัดที่มีปัญหามาก มี 5 ตัวชี้วัด คือ 1,17,18,21,33
  • Ø ตัวชี้วัดที่มีปัญหาปานกลางมี 3 ตัวชี้วัด คือ 7,8,26
  • Ø ตัวชี้วัดที่มีปัญหาน้อย มี 16 ตัวชี้วัด คือ 2,3,4,5,6,10,15,16,20,22,23,24,25,30,31,32
  • Ø ตัวชี้วัดที่ไม่มีข้อมูลมี  9 ตัวชี้วัด คือ 9,11,12,13,14,19,27,28,29

ส่วนที่ 3 : แนวโน้มทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน

 

จุดแข็ง

 

  • Ø มีที่ดินทำการเกษตร
  • Ø มีเงินกองทุนหมู่บ้าน/เงินสัจจะออมทรัพย์
  • Ø มีเงินทุนโครงการ กข.คจ.
  • Ø มีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
  • Ø มีผลผลิตทางการเกษตรต่าง เช่น ข้าว  มะขามหวาน  เป็นต้น
  • Ø ผู้นำชุมชนและชุมชนเข้มแข็ง มีระเบียบวินัย
  • Ø มีร้านค้าสหกรณ์

 

 

โอกาส

 

  • Ø ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
  • Ø การคมนาคมสะดวก
  • Ø ระบบการติดต่อสื่อสารรวดเร็ว
  • Ø หน่วยงานราชการต่างๆ เข้ามาสนับสนุนการประกอบอาชีพ
  • Ø มีแหล่งเงินทุนจากภายนอก
  • Ø เป็นชุมชนเข้มแข็ง มีความสามัคคีกัน

 

 

 

จุดอ่อน

 

  • Ø น้ำเพื่อการเกษตรไม่เพียงพอระบบชลประทานไม่คลอบคลุมพื้นที่ทำการเกษตร
  • Ø การบริหารจัดการกลุ่มหรือการรวมกลุ่มต่างๆ ไม่มีประสิทธิภาพขาดความรู้ด้านการจัดทำบัญชี
  • Ø เกิดการว่างงานหลังฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร
  • Ø ขาดความรู้ในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า
  • Ø ราคาผลผลิตตกต่ำ  และไม่แน่นอน
  • Ø ราษฎรมีหนี้สิน

 

อุปสรรค

 

  • Ø ความเจริญมากขึ้นเกิดค่านิยมทางด้านวัตถุมากขึ้นเพื่อให้เกิดความสะดวกสบายทำให้เพิ่มรายจ่ายที่ไม่จำเป็นเกิดปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่าย
  • Ø ได้รับผลกระทบจากภัยทางธรรมชาติ เช่น

พายุฤดูร้อน  ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

  • Ø ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำไม่แน่นอน

 

 

 

สภาพปัญหาของชุมชน (จุดอ่อน-จุดด้อย และผลกระทบด้านลบต่อชุมชน)

สภาพปัญหาเรื่อง

สาเหตุ

แนวทางการแก้ไข

  1. น้ำเพื่อการเกษตร ไม่เพียงพอ
  2. ราษฎรว่างงานหลังหมดฤดูเก็บเกี่ยว
  3. อาชีพไม่มั่นคงรายได้ไม่แน่นอน
  4. ราคาผลผลิตตกต่ำ
  5. ปัญหาหนี้สิน

-          ไม่มีระบบชลประทาน

-          ขาดการส่งเสริมอาชีพ

-          ขาดอาชีพเสริม

-          ไม่มีการระดมเงินทุน

ไม่มีเงินทุนในการประกอบอาชีพ

-          ผลิตผลมีมากเกินความต้องการ

-          การกู้ยืมเงินจากกองทุนต่างๆ  ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น

 

-          สร้างระบบชลประทานให้คลอบคลุมพื้นที่การเกษตร

-          ฝึกอบรมอาชีพเสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยว

-          ให้การสนับสนุนเงินทุนในการประกอบอาชีพ

-          แปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร

-          ส่งเสริมการดำรงชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

ปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อชุมชน

ผลกระทบด้านบวก

ผลกระทบด้านลบ

  • ความเจริญทางวัตถุ
  • การใช้เทคโนโลยีช่วยในการประกอบอาชีพ
  • การคมนาคมสะดวกสบาย สามารถเดินทางได้ อย่างรวดเร็วและประหยัดเวลา
  • ระบบสื่อสารสะดวดรวดเร็ว ทันเวลา
  • การใช้ปุ๋ยเคมี
  • การส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง จากภาครัฐ

  • คนนิยมวัตถุมากเกินไปเพื่อความสะดวกสบายทำให้มีรายได้ไม่พอค่าใช้จ่าย
  • ประชากรส่วนใหญ่ ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการทำบัญชีครัวเรือน
  • ประชากรส่วนใหญ่ ยังขาดความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  • การเกิดอุบัติเหตุทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน
  • ความเอื้ออาทรมีน้อย
  • สารพิษตกค้าง
  • ยาเสพติด
  • การพนัน
  • มีรายได้น้อย
  • ขาดทักษะในการประกอบอาชีพ
  • การมั่วสุมของกลุ่มวัยรุ่น

 

สภาพปัญหาของชุมชน (จุดอ่อน/ จุดด้อย และผลกระทบด้านลบของชุมชน)

 

สภาพปัญหา

สาเหตุ

แนวทางการแก้ไข

  1. น้ำเพื่อการเกษตรไม่เพียงพอ
  • ไม่มีระบบชลประทาน
  • แหล่งน้ำใต้ดินไม่เพียงพอ
  • สร้างระบบชลประทานให้คลอบคลุมพื้นที่ทำการเกษตร
  1. ปัญหาหนี้สิน-รายได้น้อย
  • การกู้ยืมเงินจากกองทุนต่างๆ
  • การซื้อของระบบเงินผ่อน
  • การใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
  • จัดหาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้
  • ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
  • ส่งเสริมการออมเงินสัจจะ
  1. ราคาผลผลิตตกต่ำ
  • ผลผลิตมากเกินความต้องการ
  • แปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตร
  1. ประชากรยังขาดความเข้าใจในการตั้งกลุ่ม
  • ขาดความร่วมมือในการตั้งกลุ่ม
  • ส่งเสริมให้ความสำคัญต่อการตั้งกลุ่มเพื่อประโยชน์ของสมาชิกกลุ่ม
  • อบรมการบริหารจัดการกลุ่ม
  1. ประชากรว่างงานหลังฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร
  • ขาดการส่งเสริมอาชีพ
  • ฝึกอบรมอาชีพเสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยว
  1.  อาชีพไม่มั่นคง
  • ไม่มีเงินทุนในการประกอบอาชีพ
  • ให้การสนับสนุนเงินทุน/ ฝึกอบรมอาชีพ
  1. แหล่งเงินทุนในชุมชนไม่เข้มแข็ง
  • ไม่มีการระดมเงินทุน
  • การบริหารจัดการไม่ดีพอทั้งตัวสมาชิกและกรรมการหมู่บ้าน
  • จัดตั้งสถาบันการเงินชุมชน
  • ส่งเสริมการออม/ การระดมหุ้น
  • ฝึกอบรมให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการ
  1. พื้นที่ทำกินมีน้อย
  • พื้นที่มีจำกัด
  • ฝึกอบรมอาชีพเสริม
  1. ขาดทักษะในการประกอบอาชีพ
  • ขาดความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานด้านการเกษตร
  • ฝึกอบรมส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพ


แนวทางการพัฒนาส่งเสริมศักยภาพของชุมชน

  1. ส่งเสริมอาชีพให้แก่ราษฎร
  2. การฝึกอบรมให้ความรู้ด้านการจักสานตะกร้าพลาสติกและการทำไม้กวาดดอกหญ้า
  3. ส่งเสริมด้านเศรษฐกิจพอเพียงและขจัดปัญหาความยากจน
  4. การสร้างความสามัคคีในชุมชน
  5. การส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

วิสัยทัศน์หมู่บ้าน

   หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

   หมู่บ้านมีสาธารณูปโภค ใช้ครบทุกครัวเรือน

   การคมนาคมในหมู่บ้านมีความสะดวก

   ประชาชนในหมู่บ้านมีสุขภาพดี

   บ้านเรือน/ชุมชนมีความสะอาด

   กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเข้มแข็ง

   มีศูนย์เรียนรู้ชุมชน

 

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

v ส่งเสริมการดำเนินชีวิต ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

v ส่งเสริมให้เป็นหมู่บ้าน ชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ สร้างวิถีไทยสามัคคี

v ส่งเสริมการทำการเกษตรอินทรีย์

v อนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

อัตลักษณ์ชุมชน และการกำหนดตำแหน่งการพัฒนา (Positioning) ของหมู่บ้าน

        เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “พออยู่  พอกิน”

 

ตำแหน่งการพัฒนาหมู่บ้าน  (Positioning)

           การพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง พออยู่  พอกิน โดยส่งเสริมการปลูกพืชผักสวนครัวปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก โดยให้ทุกครัวเรือนปลูกพืชผักสวนครัวอย่างน้อย 5 อย่าง และส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

          การพัฒนาหมู่บ้าน ให้เป็น ชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ สร้างวิถีไทยสามัคคี โดยการปรับภูมิทัศน์หมู่บ้านให้สวยงาม อย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง  รณรงค์ให้ปลูกตะไคร้หน้าบ้าน ส่งเสริมการออม   ส่งเสริมการผลิตและใช้ปุ๋ยชีวภาพ   ให้ชุมชนปลอดอบายมุขและยาเสพติด   ช่วยเหลือและเอื้ออารีย์แก่ผู้พิการและคนด้อยโอกาส

ข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาหมู่บ้าน

          จากการวิเคราะห์ข้อมูล จปฐ. ปี 2560  และข้อมูล กชช.2ค  ปี 2560  และจากเวทีประชาคมหมู่บ้านจะพบว่าในภาพรวมของบ้านโคกสวาท หมู่ที่ 9  ตำบลป่งขาม    ประชาชนในหมู่บ้านขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค  และขาดอาชีพเสริม  อีกทั้งแหล่งทุนมีจำกัด แนวทางแก้ไข  คือส่งเสริมการเรียนรู้ในเรื่องการดำรงชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง   ส่งเสริมให้ประชาชนมีอาชีพและรายได้   ลดรายจ่าย  ลดจำนวนหนี้สิน   เพิ่มเงินออมจัดให้มีการอบรมการประกอบอาชีพเสริม  เช่น ส่งเสริมการปลูกผักสวนครัว  ทำบัญชีรับ-จ่าย และในบทบาทของนักพัฒนา  ควรเข้าไปส่งเสริมการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจวางแผน   สร้างกระบวนการเรียนรู้ปลูกฝังให้มีจิตสำนึกรักบ้านเกิด ทั้งนี้ต้องให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการคิด  ตัดสินใจ  วางแผน และดำเนินการเอง



view

 หน้าแรก

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view