http://wycd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทบาทหน้าที่

 ประวัติอำเภอ

 รวมรูปภาพ

 พช.มุกดาหาร

 Links สพอ.

 เว็บบอร์ด

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท25/03/2019
ผู้เข้าชม32,366
เปิดเพจ42,022
สินค้าทั้งหมด1

ข้อมูล พช.หว้านใหญ่

ข้อมูลทั่วไป

บริการประชาชน

กิจกรรมเด่น

KM องค์ความรู้

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

TDR/VDR

องค์ความรู้ชุมชน

ชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ

โครงการแก้จน

สินค้า

 สินค้าทั้งหมด
iGetWeb.com
AdsOne.com

VDR บ้านดอนม่วง

รายงานการพัฒนาหมู่บ้าน

Village Development Repot (VDR)

บ้านดอนม่วง  หมู่ที่ 7 ตำบลหว้านใหญ่

อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร

ส่วนที่  ๑ บริบทของหมู่บ้าน

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

                   บ้านดอนม่วง หมู่ที่ ๗ ตำบลหว้านใหญ่ อำเภอหว้านใหญ่  บรรพบุรุษดั้งเดิมตั้งถิ่นฐานอยู่บ้าน

ท่าสะโน ซึ่งเป็นหมู่บ้านหนึ่ง ของ สปป.ลาวในปัจจุบัน ต่อมาท้าวคำสิงห์ ได้ชักชวนบรรดาญาติๆ ข้ามโขงมาตั้งบ้านใหม่ทางทิศใต้ของห้วยชะโนด หรือ ตำบลชะโนด ในปัจจุบัน เมื่อ มีจำนวนประชากรเพิ่ม พื้นที่เดิมคับแคบ ประกอบในปี ๒๔๕๓ เกิดไฟไหม้ บ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหายไปหลายหลังคาเรือน ราษฎรบางส่วนจึงตัดสินใจไปหาที่อยู่ใหม่  ส่วนหนึ่งอพยพไปตั้งถิ่นฐานที่บ้านนาสองห้อง ตำบลคำป่าหลาย  บางส่วนไปตั้งถิ่นฐานที่บ้านนาแพงหมู่ที่ ๑๑ ตำบลหว้านใหญ่  ส่วน นายสีโห ใจช่วง,  นายลืม  ใจช่วง, นายดี  ใจช่วง,นายป๋า  ใจช่วง  และนายอ่อนสี  ใจช่วง  ตัดสินใจมาตั้งรกรากที่บ้านดอนม่วงเพราะเห็นว่าเป็นที่นาเดิมของครอบครัวอยู่ก่อนแล้ว  ประกอบกับที่ดินบริเวณนี้อุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำซับไหลผ่านตลอดปี  โดยนายดีอพยพครอบครัวไปตั้งบ้านเรือนทางด้านทิศใต้  เรียกว่านาสี่คาน   ต่อมาเพี้ยนมาเป็นนาสีคาน  และรวมเป็นบ้านดอนม่วง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๕ ได้เปลี่ยนชื่อจากบ้านนาสีคาน มาเป็นบ้านดอนม่วง จนถึงปัจจุบันนี้

โดยมีผู้นำการปกครองตามลำดับ   ดังนี้

๑. นายหนู       ใจช่วง

๒. นายทน       ใจช่วง

๓. นายหลอย    ใจช่วง

๔. นายบุญมี     ใจช่วง

๕. นายบุญยงค์  ใจสุข

๖. นายเจริญ     ใจสุข 

๗. นายแสงเพชร   ใจช่วง  ซึ่งเป็นผู้นำหมู่บ้านคนปัจจุบัน

ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน

         ๑. พื้นที่และลักษณะที่ตั้ง

บ้านดอนม่วงตั้งอยู่ทิศตะวันตกของอำเภอหว้านใหญ่  ระยะทางห่างจากตัวอำเภอ ๒ กิโลเมตร    อยู่ห่างจากที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหว้านใหญ่ ๓ กิโลเมตร  อยู่ห่างจากตัวจังหวัดมุกดาหาร  ๓๕  กิโลเมตร ลักษณะเป็นถนนลาดยางตลอดสาย มีพื้นที่ทั้งหมด  ๑,๗๕๐  ไร่  แบ่งพื้นที่ได้ดังนี้

                   ๑.๑ ที่อยู่อาศัย                      ๓๐๐    ไร่

                   ๑.๒ ที่สาธารณประโยชน์           ๑๕๐    ไร่

                   ๑.๓ พื้นที่ทำการเกษตร             ๑,๒๓๐  ไร่

อาณาเขต     

-  ทิศเหนือ           จด  บ้านหนองผือ         หมู่ที่ ๖           ต.หว้านใหญ่

-  ทิศใต้               จด  บ้านโพธิ์เจริญ        หมู่ที่ ๕           ต.ชะโนด

-  ทิศตะวันตก       จด  บ้านโนนสว่าง        หมูที่ ๑๐         ต.หว้านใหญ่

-  ทิศตะวันออก      จด  บ้านหว้านน้อย       หมูที่ ๒           ต.หว้านใหญ่

แหล่งน้ำที่สำคัญ  มีดังนี้

                   ๑. ลำห้วยชะโนด ซึ่ง เชื่อมต่อกับบ้านหนองผือและบ้านหว้านน้อย

                   ๒. คลองส่งน้ำ

                   ๓. ฝายน้ำล้นบ้านดอนม่วง

                   ๔. บ่อน้ำซับ (สร้างคำ)

๒. การปกครอง

          บ้านดอนม่วง มีจำนวนราษฎร ทั้งหมด  ๓๓๑  คน แยกเป็นชาย  ๑๖๑  คน  หญิง  ๑๗๐  คน มีครัวเรือนทั้งสิ้น   ๑๐๐ ครัวเรือน

แบ่งการปกครองออกเป็นคุ้ม  จำนวน  ๔  คุ้ม  ดังนี้

                   ๑. คุ้มบันเทิงศิลป์                   หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายเจริญ  ใจสุข

                   ๒. คุ้มดาวเด่น                       หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายคนอง  กุลสุทธิ์

                   ๓. คุ้มทานตะวัน                    หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายสีบาน  บางทราย

                   ๔. คุ้มแสงดาว                       หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายกล้า  เมืองโคตร

          ๒.๑  อาชีพหลักของราษฎร  คือ ทำนา   อาชีพรอง  คือ เลี้ยงสัตว์  รับจ้างทั่วไป  อาชีพเสริมปลูกผัก  ค้าขาย

          ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักและอาชีพเสริม ดังนี้

๑.      ทำนา             ๑๐๐             ครัวเรือน

๒.      ทำสวน/ไร่        ๑๒                ครัวเรือน

๓.      ประมง            -                  ครัวเรือน

๔.      รับจ้าง            ๑๐                ครัวเรือน

๕.      รับราชการ       -                  ครัวเรือน

๖.      ค้าขาย            ๒                 ครัวเรือน

๗.      อื่นๆ              -                  ครัวเรือน

 

          ๒.๒  ราษฎรนับถือศาสนาพุทธ    มีวัด    ๑ แห่ง คือ วัดบวรพินิจชัย  มีพระจำวัตรจำนวน ๓ รูปด้วยกัน  ชาวบ้านดอนม่วงมีความเลื่อมใสและศรัทธาในพระพุทธศาสนา  ซึ่งเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจชาวบ้านให้เกิดความรักความสามัคคีในชุมชนและมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน  ทุกๆวันซึ่งเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันพระ ๘ ค่ำ  ๑๕ ค่ำ  วันวิสาขบูชา เป็นต้น  ชาวบ้านทั้งผู้สูงอายุ  วัยทำงาน เด็กและเยาวชนจะไปทำบุญตักบาตรร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ

          ๒.๓  รายได้เฉลี่ยของราษฎร  ๔๖,๕๔๙   บาท / คน / ปี

ลักษณะภูมิประเทศ

          ๒.๔ ลักษณะสภาพพื้นที่ ตั้งอยู่บนที่เนินสูง ด้านทิศเหนือเอียงลาดไปทางทิศใต้ มีป่าไม้สลับทุ่งนา

แหล่งน้ำที่สำคัญมีดังนี้

๑.   ลำห้วย 

๒ .  คลองส่งน้ำ

๓.   ฝายน้ำล้นบ้านดอนม่วง

๔.  บ่อน้ำซับ(สร้างคำ)

 การคมนาคม 

มีถนนติดต่อกับอำเภอ ๑  เส้นทาง รวมระยะทางทั้งหมด ๒กิโลเมตร

เป็นถนนลาดยาง  ๒  กิโลเมตร    

มีถนนสายหลักภายในหมู่บ้าน     ๑    สาย   รวมระยะทางทั้งหมด  ๒     กิโลเมตร

เป็นถนนลาดยาง                      ๑    สาย    ระยะทาง               ๑     กิโลเมตร

เป็นถนนลูกรัง                         ๑  สาย    ระยะทาง               ๑     กิโลเมตร

เป็นถนนคอนกรีต                       -   สาย    ระยะทาง                 -     กิโลเมตร

มีซอย    ๖    สาย    ระยะทาง      ๑   กิโลเมตร

คอนกรีต ๔    สาย     ระยะทาง    ๑      กิโลเมตร

ลูกรัง       ๒     สาย     ระยะทาง   ๑๕     เมตร

แหล่งเงินทุน

          ๑ กองทุนหมู่บ้าน (กทบ.)

          ๒ โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)

          ๓ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

          ๔ กลุ่ม OTOP จักสานตะกร้าพลาสติก

          ๕ กองทุนแม่ของแผ่นดิน

แหล่งน้ำ

  บ่อน้ำตื้น                       ๖  บ่อ

 บ่อบาดาล สาธารณะ         ๒ บ่อ

ระบบประปาหมู่บ้าน            ๑ แห่ง

ข้อมูลสถานบริการ

       มีสถานบริการน้ำมัน ขนาดเล็ก  หรือปั๊มหลอด                   จำนวน       ๑     แห่ง  

       มีร้านค้าในหมู่บ้าน                                                    จำนวน      ๓     แห่ง  

       มีศูนย์จำหน่ายสินค้า  หรือ ร้านค้าที่ราษฎรรวมตัวกันจัดตั้ง      จำนวน   ๑     แห่ง

สถานที่ท่องเที่ยวในหมู่บ้าน / ตำบล

                มีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ  ( บอกกล่าวถึงลักษณะเด่นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว )  คือบ่อน้ำซับสร้างคำ  เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ ชาวบ้านในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงใช้ดื่ม  บริเวณสร้างคำจะมีสภาพอากาศเย็นสบาย และร่มรื่นอยู่ห่างจากชุมชน  ประมาณ  ๓๐๐   เมตร

ส่วนที่  ๒  การประเมินสถานการณ์พัฒนา

การประเมินสถาณการณ์หมู่บ้านจากข้อมูล จปฐ. และ กชช๒ค

๒.๑ จากข้อมูล จปฐ.

  ตัวชี้วัดที่ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด มี ๒๘ ตัวชี้วัด

  ตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด มี ๒ตัวชี้วัด คือ  ๒๕, ๒๖

  ตัวชี้วัดที่ไม่มีข้อมูล มี ๑ ตัวชี้วัด คือ ๑๙

๒.๒ จากข้อมูล กชช๒ค

  • ระดับการพัฒนาหมู่บ้าน ระดับ 3
  • ตัวชี้วัดที่มีปัญหามาก มี 5 ตัวชี้วัด คือ 1,4,17,27,
  • ตัวชี้วัดที่มีปัญหาปานกลางมี 6 ตัวชี้วัด คือ 7,8,31,32,33
  • ตัวชี้วัดที่มีปัญหาน้อยหรือไม่มีปัญหาเลย มี 16 ตัวชี้วัด คือ 1,2,3,4,5,7,11,15,17,20,21,22,23,24,25,27,30
  • ตัวชี้วัดที่ไม่มีข้อมูลมี  6 ตัวชี้วัด คือ 9,11,12,13,14,28

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของชุมชน

             ปัจจัยในหมูบ้าน / ชุมชน (ชี้แจงรายละเอียดเป็นข้อๆ)     

      จุดแข็ง - จุดเด่น ที่เกี่ยวข้องภายในชุมชน

จุดอ่อน - จุดด้อย  ที่เกี่ยวข้องภายในชุมชน

1.  มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สะอาดที่หล่อเลี้ยงคนภายในหมู่บ้าน และหมู่บ้านใกล้เคียงตลอดฤดูแล้งนอกจากนั้นยังเป็นสถานที่ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือจัดพิธีกรรมที่สืบทอดกันมาแต่โบราณซึ่งประเพณีการเลี้ยงบ้าน เป็นการเสี่ยงทายผลผลิตทางการเกษตร

1. ชาวบ้านส่วนมากขาดความตระหนักในด้านการดูแลและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น ป่า ไม้ พื้นที่ป่าหลายแห่งถูกบุกรุกทำให้พื้นที่ป่าลดลง อาหารจากธรรมชาติหายาก ส่งผลให้รายจ่ายของชาวบ้านสูงขึ้น ขณะที่รายได้ลดลง

2. มีป่าชุมชน ที่เป็นแหล่งอาหารของชาวบ้าน เช่น เห็ด ผักธรรมชาติ แมลง

2. ค่านิยมในการจัดงานเลี้ยงเข้ามามีบทบาทค่อนข้างมาก ทำให้ค่าใช้จ่ายในการจัดงานต่างๆสูงและส่งผลให้ชาวบ้านหันมาบริโภคของมึนเมามากขึ้น รวมทั้งกลุ่มเยาวชนที่บริโภคเหล้ามากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา

3. ชาวบ้านมีวัฒนธรรม การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เช่น งานบุญ งานศพ และกิจกรรมทางสังคมอื่นๆ เช่น ร้านค้าชุมชน กองทุนฌาปนกิจ เป็นต้น

 

4. จำนวนเยาวชนมีมาก การจัดกิจกรรมที่สามารถดึงเยาวชนเข้ามามีสวนร่วมได้ และดำเนินการได้ค่อนข้างรวดเร็ว

3. เยาวชนไม่ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

5.  มีเงินกองทุนหมู่บ้าน และ กขคจ.

 

6.  มีร้านค้าชุมชน

 

 

ปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อชุมชน 

                     ผลกระทบด้านบวก

                      ผลกระทบด้านลบ

- รูปแบบและวิธีการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้คนกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น

1. เด็กและเยาวชนขาดความรับผิดชอบ มีพฤติกรรมใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ไม่ค่อยช่วยงานครอบครัว

  - ส่งเสริมให้ลูกหลานได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น

 2. การเกษตรสมัยใหม่มีการนำสารเคมีเข้ามาใช้ ส่งผลให้สุขภาพย่ำแย่  เกิดโรคต่างๆ

- มีวิวัฒนาการใหม่ๆด้านการประกอบอาชีพ ทำให้สามารถทำได้รวดเร็วขึ้น เช่น รถไถนา

3. ภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น

 

 4. ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายไปอย่างรวด เร็ว โดยที่ไม่มีการปลูกหรือสร้างขึ้นมาทดแทน

แนวทางการพัฒนาส่งเสริมศักยภาพของชุมชน

         1.  พัฒนาศักยภาพผู้นำ

         2.  ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการประกอบอาชีพให้กับคนในชุมชน

         3.  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

         4.  ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการและการทำงานเป็นกลุ่ม

         5. ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มหรือกองทุนต่างๆเพื่อการพึ่งตนเอง

สภาพปัญหาของชุมชน (จุดอ่อน - จุดด้อย และผลกระทบด้านลบต่อชุมชน )     

               สภาพปัญหาเรื่อง

                   สาเหตุ

                   แนวทางการแก้ไข

1.   ปัญหาความยากจน

-  ขาดที่ทำกิน ที่ทำกินมีน้อย             -   ไม่มีงานทำ

 - ขาดความรู้ในการประกอบอาชีพ

  - ผลผลิตทางการเกษตรต่ำเนื่องจากดินเสื่อมโทรม

- ส่งเสริมการประกอบอาชีพ   

- ส่งเสริมให้ชาวบ้านทำการปรับปรุงบำรุงดินโดยการผลิตปุ๋ยใช้เอง

 - ส่งเสริมให้ประชาชนน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต

2. ปัญหาภาระหนี้สิน

-ค่านิยมในการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย

- ขาดการวางแผนและควบคุมรายรับ-รายจ่าย

-ส่งเสริมการออม

ส่งเสริมให้ทำบัญชีครัวเรือน

3. ปัญหาขาดการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมสาธารณะ

- ไม่มีเวลา เนื่องจากออกไปทำมาหากิน

- ขาดจิตสำนึกด้านการเสียสละ

- ส่งเสริมและสร้างจิตสำนึกการเสียสละ

ส่วนที่  ๓ แนวโน้ม/ทิศทางการ

วิสัยทัศน์หมู่บ้าน

   หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

   หมู่บ้านมีสาธารณูปโภค ด้านไฟฟ้าและประปาใช้ครบทุกครัวเรือน

   การคมนาคมในหมู่บ้านมีความสะดวก

   ประชาชนในหมู่บ้านมีสุขภาพดี

   บ้านเรือน/ชุมชนมีความสะอาด

   กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตเข้มแข็ง

   มีศูนย์เรียนรู้ชุมชน

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

 ส่งเสริมการดำเนินชีวิต ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ส่งเสริมให้เป็นหมู่บ้าน น่าบ้านสวย  หลังบ้านสวน

ส่งเสริมการทำการเกษตรอินทรีย์

อนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น

อัตลักษณ์ชุมชน และการกำหนดตำแหน่งการพัฒนา (Positioning) ของหมู่บ้าน

          เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “มั่งมี  ศรีสุข”

ตำแหน่งการพัฒนาหมู่บ้าน  (Positioning)

           การพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง มั่งมี  ศรีสุข โดยส่งเสริมการปลูกพืชผักสวนครัว ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

           การพัฒนาหมู่บ้าน ให้เป็น เมืองสวย บ้านสะอาด คนสุขภาพดี โดยการปรับภูมิทัศน์หมู่บ้านให้สวยงาม อย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง

ข้อเสนอแนะของนักพัฒนาต่อการพัฒนาหมู่บ้าน

           บ้านดอนม่วง เป็นหมู่บ้านที่มีพื้นที่ตั้งอยู่ในเขตของเทศบาลตำบลหว้านใหญ่และได้ดำเนินการพัฒนาสู่การเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ภายใต้โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการพัฒนาหมู่บ้านให้บรรลุเป้าหมาย ด้วยการดำเนินกิจกรรม  5 กิจกรรม ดังนี้

1. กิจกรรมส่งเสริมครอบครัวพัฒนาในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

2. กิจกรรมการเรียนรู้ตนเองและกำหนดการพัฒนาคุณภาพชีวิต

3. กิจกรรมสาธิตการดำรงชีวิตแบบพอเพียง

4. กิจกรรมเสริมสร้างระบบการบริหารจัดการชุมชน

5. กิจกรรมการจัดการความรู้และการดำเนินการเตรียมเป็นหมู่บ้านต้นแบบ

นอกจากนั้นหมู่บ้านยังมีการดำเนินกิจกรรมในลักษณะลดรายจ่าย เพิ่มรายได้  การส่งเสริมการ

ออมเงิน การเรียนรู้ การอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และการมีความเอื้ออารีต่อคน โดยมีผู้นำ ภาคีการพัฒนา คอยให้การส่งเสริมสนับสนุนอย่างสม่ำเสมอ จนทำให้เป็นหมู่บ้านสามารถบริหารจัดการตนเองได้

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

1. ผู้นำชุมชนมีความเข้มแข็ง/ประชาชนมีความสามัคคี

2. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทุกคนศึกษานโยบาย/แนวทางขั้นตอน เป้าหมายการดำเนินงานให้เข้าใจทุกคน

3. ผู้นำชุมชน และประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด (จำนวนประชาชนเข้าร่วมมากกว่า กำหนด

ไว้ในโครงการฯ) ในการคิด ตัดสินใจ ปฏิบัติ และติดตามทุกกิจกรรม

4. กำหนดแผนการขับเคลื่อนอย่างชัดเจนและปฏิบัติตามแผน

5. ประสานภาคีพัฒนาเข้าร่วมกิจกรรมพร้อมทั้งงบประมาณสนับสนุนให้มากที่สุด

6. ประสาน อปท. ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนทุกขั้นตอน


view

 หน้าแรก

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view