ข้อมูลปราชญ์
(ผู้เชี่ยวชาญ/ประสบความสำเร็จในอาชีพ)
1. ชื่อ นายประหยัด นามสกุล พุทโธชนะ
2. วัน/เดือน/ปีเกิด 1 ก.พ. 2501 อายุ 58 ปี
3. ที่อยู่ บ้านเลขที่ 27 หมู่ที่ 4 ตำบลหว้านใหญ่ อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร
4. การติดต่อ โทรศัพท์................................................... อีเมลล์ -
5. การศึกษา (สูงสุด) มัธยมศึกษาตอนปลาย
6. ความเชี่ยวชาญ/ความสำเร็จในการประกอบอาชีพ
ภาคการเกษตร ระบุ.............................................................................................................
แปรรูป (OTOP/SME) ระบุ................จักสานตะกร้าหวาย...........................................................
ท่องเที่ยวโดยชุมชน ระบุ.............................................................................................................
อื่นๆ ระบุ........................................................................................................................................
7. บันทึกความรู้ของปราชญ์/ผู้ประสบความสำเร็จด้านอาชีพ ตามที่ระบุ ในข้อ 6
1. ความเป็นมา
จักสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนที่สำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิต ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หัตถกรรมเครื่องจักสานเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นภูมิปัญญาอันเฉลียวฉลาดของคนในท้องถิ่น ที่ใช้ภูมิปัญญาสามารถนำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนมาประยุกต์ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีประโยชน์ในการดำรงชีวิต จะเห็นได้ว่าหัตถกรรมเครื่องจักสานมีมานานแล้วและได้มีการพัฒนามาตลอดเวลาโดยอาศัยการถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง การดำรงชีวิตประจำวันของชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้เอาการรู้หนังสือมาเกี่ยวข้อง การเรียนรู้ต่างๆ อาศัยวิธีการฝึกหัดและบอกเล่าซึ่งไม่เป็นระบบในการบันทึก สะท้อนให้เห็นการเรียนรู้ ความรู้ที่สะสมที่สืบทอดกันมาจากอดีตมาถึงปัจจุบันหรือที่เรียกกันว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนั้นกระบวนถ่ายทอดความรู้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทำภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นคงอยู่ต่อเนื่องและยั่งยืน
ตะกร้า มีประโยชน์ในการใช้สอย เป็นภาชนะที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในภาคอีสานเพราะใช้ใส่ของได้สารพัดและใช้ได้ทั้งการหิ้ว หาบ และคอนด้วยไม้คาน สานด้วยไม้ไผ่ เริ่มสานก้นก่อนด้วยลายขัด (ลายขัดบี)ตอกคู่ แล้วค่อยๆ สานต่อขึ้นมาด้านข้างของตะกร้าด้วยลายธรรมดาเรื่อยไปจนถึงปากของตะกร้าซึ่งจะใช้ตอกเส้นเล็กเพื่อความแข็งแรงทนทานปากหรือขอบตะกร้าจะใช้วิธีเก็บนิยมโดยสานซ่อนตอกเข้าในตัวตะกร้า เสร็จแล้วจะทำหูตะกร้าเพื่อใช้หิ้ว โดยมากจะใช้ไม้ไผ่อีกชิ้นหนึ่งโค้งเหนือปากตะกร้า แล้วผูกปลายทั้งสองเข้ากับขอบตะกร้า ตะกร้าภาคอีสานจะมีรูปทรงคล้ายๆกันเป็นส่วนใหญ่ ชาวอีสานนิยมใช้กะต่ากันทั่วไปเพราะมีน้ำหนักเบาทำได้ง่ายราคาถูกกว่าภาชนะชนิดอื่น
2. กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน/เทคนิค/ข้อพึงระวัง ที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ
วัสดุและอุปกรณ์
วัสดุ
1. หวายหางหนู (เส้นเล็ก)
2. หวายน้ำ (เส้นใหญ่)
3. ไม้ไผ่
4. หวายใหญ่
5. ไม้เสียบลูกชิ้น
6. ตะปูเข็ม
อุปกรณ์
1. ค้อนตีตะปู (ขนาดเล็ก)
2. แป้นเจาะรู (ทำจากเหล็ก)
3. มีดตอก
4. ลูกกรง
5. เหล็กปลายแหลม
ขั้นตอนและวิธีการทำตะกร้า
1. คิดแบบ ออกแบบรูปทรง เช่น สี่เหลี่ยม กลม กระจาด โตก ฯลฯ
2. ทำฐานตารูปแบบ
3. ขึ้นลูกกรงเป็นชั้นๆ
4. พันขอบบน
5. จูงนางปากขอบ
6. ตึงวงจับหรือมือจับ
7. พันงวงจับหรือมือจับ
8. ตกแต่งให้สวยงาม
รูปแบบรูปทรงของตะกร้าหวาย
- ตะกร้าทรงกลมแบบกระจาด
- ตะกร้ากลมแบบมือจับ
- ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
มีเอกลักษณ์ เกิดจากการผสมผสานภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่นำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาประดิษฐ์ มุ่งเน้นความละเอียด ประณีต ในงานฝีมือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น โดยมีปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภูมิปัญญา ดังนี้
- ความรู้เดิมในเรื่องการจักสาน ผสมผสานกับความรู้ใหม่ที่ได้รับ
- การสั่งสม การสืบทอดของความรู้ในเรื่องการจักสาน
- ประสบการณ์เดิมที่สามารถเทียบเคียงกับเหตุการณ์ หรือประสบการณ์ใหม่ได้
- รากฐานทางพระพุทธศาสนา วัฒนธรรม และความเชื่อ