รายงานการพัฒนาตำบล
(Tambon Development Report : TDR)
ตำบลบางทรายน้อย
อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร
ส่วนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป
- ประวัติความเป็นมา
ราษฎรอพยพมาเมื่อ ๒๐๐ กว่าปีมาแล้ว เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพไปตีเวียงจันทร์ เมื่อเสร็จศึกก็ยกไพร่พลลงมาทางใต้ เมื่อมาพบเห็นทำเลที่เหมาะสมก็ให้ทหารที่ไม่อยากกลับเมืองหลวงตั้งรกรากบริเวณฝั่งแม่น้ำ และเอาคำว่า “บาง” ซึ่งมาจากการยกคุ้งน้ำของคนไทยภาคกลาง มาเป็นคำนำหน้าหาดทรายบริเวณหมู่บ้าน จึงเรียกชื่อว่า “บางทรายน้อย”
- สภาพทั่วไปของตำบล
ตำบลบางทรายน้อย อำเภอ หว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร อยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดมุกดาหาร ห่างจากอำเภอหว้านใหญ่ เป็นระยะทางประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดมุกดาหารเป็นระยะทางประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาประมาณ ๒๐ นาที ในการเดินทางจากอำเภอหว้านใหญ่ – จังหวัดมุกดาหาร และห่างจากกรุงเทพมหานครเป็นระยะทางประมาณ ๖๖๒ กิโลเมตร เนื้อที่ตำบลบางทรายน้อย มีเนื้อที่ประมาณ ๒๐ ตารางกิโลเมตร มีหมู่บ้าน ๑๑ หมู่บ้าน
- อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ มีเขตติดต่อกับ ตำบลชะโนด
ทิศใต้ มีเขตติดต่อกับ ตำบลบางทรายใหญ่
ทิศตะวันออก มีเขตติดต่อกับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นพรมแดน
ทิศตะวันตก มีเขตติดต่อกับ ตำบลบางทรายใหญ่
- ภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง และที่ราบตามลำห้วยสาขาของแม่น้ำโขง โดยพื้นที่ราบสม่ำเสมอ
- สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของตำบล
ลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบมรสุม มี ๓ ฤดู คือ
ฤดูร้อน ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ย ๓๕-๔๐ องศาเชลเซียส
ฤดูฝน ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึง เดือนตุลาคม อุณหภูมิเฉลี่ย ๒๔-๓๕ องศาเชลเซียส
ฤดูหนาว ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ย ๑๐-๒๐ องศาเชลเซียส
- เขตการปกครอง
จำนวนหมู่บ้านในเขต ตำบลบางทรายน้อย มี ๑๑ หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ ๑ บ้านบางทรายน้อย นายเควนแทน เผ่าพันธุ์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ ๒ บ้านบางทรายน้อย นางสาวอุทิศ ทวีโคตร เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ ๓ บ้านดอน นายเรืองศักดิ์ ทองผา เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ ๔ บ้านขามป้อม นายเหมือน อินปาว เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ ๕ บ้านผักขะย่า นายเพชรถาวร ศรีประสงค์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ ๖ บ้านทรายทอง นางสาวกัลยารัตน์ ทวีโคตร เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ ๗ บ้านนามน นายธันย์คชินทร์ ทองจันทร์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ ๘ บ้านสุขสำราญ นายวิศิษฏ์ พาลึก เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ ๙ บ้านดาวเรือง นายไพบูลย์ ทวีโคตร เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ ๑๐ บ้านโพธิ์ทอง นายวงจันทร์ สุวรรณชัยรบ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ ๑๑ บ้านบางทรายใต้ นายประดิษฐ์ ใจช่วง เป็นผู้ใหญ่บ้าน
- จำนวนประชากร
มีครัวเรือนทั้งหมด ๑,1๖5 ครัวเรือน ประชากรทั้งสิ้น 3,491 คน แยกเป็น ชาย 1,740 คน หญิง 1,751 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย ๒๐๕.๖๑ คน/ตารางกิโลเมตร
ประชากรสามารถแยกเป็นรายหมู่บ้านได้ดังนี้
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
พื้นที่ถือครอง |
จำนวนครัวเรือน |
ชาย (คน) |
หญิง (คน) |
รวม (คน) |
๑ |
บ้านบางทรายน้อย |
๑,๖๑๔ |
๑81 |
254 |
26๘ |
522 |
๒ |
บ้านบางทรายน้อย |
๑,๐๑๒ |
๑07 |
152 |
158 |
310 |
๓ |
บ้านดอน |
๑,๕๗๓ |
160 |
240 |
225 |
465 |
๔ |
บ้านขามป้อม |
๑,๓๘๘ |
92 |
167 |
166 |
333 |
๕ |
บ้านผักขะย่า |
๑,๑๓๗ |
๕๖ |
83 |
84 |
167 |
๖ |
บ้านทรายทอง |
๑,๐๓๗ |
๑๕9 |
๒55 |
๒3๕ |
490 |
๗ |
บ้านนามน |
๑,๐๓๐ |
๑๐6 |
๑๖0 |
174 |
334 |
๘ |
บ้านสุขสำราญ |
๙๐๗ |
๗1 |
๑04 |
88 |
192 |
๙ |
บ้านดาวเรือง |
๙๖๗ |
7๗ |
99 |
๑๑0 |
209 |
๑๐ |
บ้านโพธิ์ทอง |
๑,๖๘๘ |
91 |
๑33 |
158 |
291 |
๑๑ |
บ้านบางทรายใต้ |
๘๖๐ |
65 |
93 |
85 |
178 |
รวม |
|
๑๓,๒๑๓ ไร่ |
๑,1๖5 |
1,740 |
1,751 |
3,491 |
แผนภูมิแสดงจำนวนประชากรแยกชายหญิง
จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริง* ณ วันสำรวจ จำแนกตามช่วงอายุ
จากผลการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (จปฐ. ๒) ปี ๒๕๖๐
ตำบลบางทรายน้อย อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร
ช่วงอายุประชากร |
จำนวนเพศชาย (คน) |
จำนวนเพศหญิง (คน) |
จำนวนรวม (คน) |
น้อยกว่า ๑ ปีเต็ม ๑ ปีเต็ม – ๒ ปี ๓ ปีเต็ม – ๕ ปี ๖ ปีเต็ม – ๑๑ ปี ๑๒ ปีเต็ม – ๑๔ ปี ๑๕ ปีเต็ม – ๑๗ ปี ๑๘ ปีเต็ม – ๒๕ ปี ๒๖ ปีเต็ม – ๔๙ ปี ๕๐ ปีเต็ม – ๖๐ ปีเต็ม มากกว่า ๖๐ ปีเต็มขึ้นไป |
7 ๒2 48 ๑35 58 72 213 ๖11 320 254 |
๒ 16 ๔9 ๑15 67 79 ๑95 ๖18 323 ๒87 |
9 3๘ ๙7 ๒๕0 ๑25 ๑51 408 ๑,๒29 643 541 |
รวมทั้งหมด |
๑,๖๒๔ |
๑,๘๑๓ |
๓,๔๓๗ |
4
- สภาพทางเศรษฐกิจอาชีพ
ประชากรในตำบลบางทรายน้อยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา เป็นหลัก โดยมีพื้นที่ทำนา ๙,๓๗๖ ไร่ หลังฤดูเก็บเกี่ยวแล้ว จะปลูกพืชหมุนเวียน เช่น มันแกว มันเทศ แตงกวา เป็นต้น โดยมีพื้นที่ปลูกผัก ๕๙๗ ไร่ และปลูกผลไม้ มีพื้นที่ทั้งหมด ๔๒๙ ไร่
- ด้านพาณิชยกรรม
q รีสอร์ท จำนวน ๑ แห่ง
q ปั้มน้ำมันหลอด จำนวน ๘ แห่ง
q ร้านรับซ่อมรถยนต์ จักรยานยนต์ จำนวน ๗ แห่ง
q ร้านค้า จำนวน ๔๔ แห่ง
q โรงสีข้าวขนาดเล็ก จำนวน ๑๑ แห่ง
q ตลาดสด จำนวน ๒ แห่ง
q ศูนย์สาธิตการตลาด จำนวน ๑ แห่ง
q ร้านเสริมสวย จำนวน ๖ แห่ง
q ร้านเย็บผ้า จำนวน ๑ แห่ง
q ท่าหิน ท่าทราย จำนวน ๓ แห่ง
q กิจการบ้านเช่า จำนวน ๕ แห่ง
สภาพทางสังคม
๑. การศึกษา
q โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน ๓ แห่ง
q โรงเรียนมัธยมศึกษา (ขยายโอกาส) จำนวน ๒ แห่ง
q ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลบางทรายน้อย จำนวน ๒ แห่ง
q ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน ๑๑ แห่ง
q หอกระจายข่าว จำนวน ๑๑ แห่ง
๒. สถาบันและองค์กรทางศาสนา
q วัด/สำนักสงฆ์ จำนวน ๗ แห่ง
q ศาลเจ้า จำนวน ๑ แห่ง
๓. งานประเพณีท้องถิ่น
q ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา
q ประเพณีบุญพระเวสสันดร
q ประเพณีบุญข้าวสาร์ท
q ประเพณีบุญข้าวประดับดิน
q ประเพณีบุญกองข้าว
q ประเพณีเลี้ยงหอปู่ตา
๔. สาธารณสุข
q ศูนย์สุขภาพชุมชน จำนวน ๒ แห่ง
- เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ๖ คน
q ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน จำนวน ๑๑ แห่ง
- อสม. ๑๒๐ คน
q อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำร้อยละ ๑๐๐
ตำบลบางทรายน้อยเป็นชุมชนเกษตรกรรมซึ่งมีการขยายตัวทางการเกษตรค่อนข้างมาก โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจ เช่น มันแกว, มันเทศ, แตงกวา, พืชผักพื้นบ้าน ฯลฯ และจากปัจจัยดังนี้
๑. การรวมกลุ่มของประชาชน
q กลุ่มเกษตรกองทุนปุ๋ย หมู่ ๑
q กลุ่มปลูกพืชบางทรายน้อย หมู่ ๒
q กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า หมู่ ๓
q กลุ่มแปรรูปผัก ผลไม้ หมู่ ๓
q กลุ่มทอผ้าฝ้าย หมู่ ๓
q กลุ่มจักรสานไม้ไผ่ หมู่ ๓
q กลุ่มทอผ้าฝ้าย หมู่ ๔
q กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า หมู่ ๔
q กลุ่มปลูกพืชฤดูแล้ง หมู่ ๕
q กลุ่มกสิกรรมไร้สารพิษ หมู่ ๖
q กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ หมู่ ๗
q กลุ่มเกษตรก้าวหน้าฯ หมู่ ๘
q กลุ่มเลี้ยงโค หมู่ ๙
q กลุ่มเจียระไนหิน หมู่ ๙
q กลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว หมู่ ๙
q กลุ่มสานตะกร้าพลาสติก หมู่ ๑๐
q กลุ่มปลูกพืชปลอดสารพิษ หมู่ ๑๐
q กลุ่มผลิตภัณฑ์การบูร หมู่ ๑๑
q กลุ่มเกษตรพืชไร่ หมู่ ๑๑
q กลุ่มสตรีเลี้ยงหมูกี้ หมู่ ๑๑
๒. จุดเด่นของพื้นที่ ( ที่เอื้อต่อการพัฒนาตำบล )
ตำบลบางทรายน้อย มีป่าหนองบุ่งคล้าที่อุดมสมบูรณ์ มีต้นไม้ใหญ่ ๆ อยู่หลายพันธุ์ เหมาะแก่การปรับปรุงเป็นสวนสาธารณะเพื่อให้เป็นที่พักผ่อนของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนใกล้เคียง
ในช่วงฤดูร้อนบริเวณริมแม่น้ำโขงยังมีหาดทรายสีขาวและน้ำที่ใสสะอาดซึ่งเหมาะแก่การจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวมาก
ตำบลบางทรายน้อยยังเป็นสั้นทางที่ใช้ผ่านไปแก่งกะเบา ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวประจำจังหวัดมุกดาหาร และยังสามารถเดินทางผ่านไปถึงจังหวัดนครพนมได้
พื้นที่บางส่วนติดกับแม่น้ำโขง สามารถประกอบอาชีพประมงและเป็นพื้นที่ใช้ในการเพาะปลูกพืชทางการเกษตรได้
มีลำห้วยที่สำคัญหลายสายไหลผ่าน ได้แก่ ลำห้วยน้อย ลำห้วยแอก และลำห้วยบางทราย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่อาศัยน้ำจากแหล่งน้ำเหล่านี้ในการเพาะปลูกพืชตามฤดูกาลต่าง ๆ
ส่วนที่ ๒ สภาพปัญหาและสาเหตุ
จากข้อมูลสภาพทั่วไปในบทข้างต้นแล้ว ยังพบปัญหาของตำบลบางทรายน้อย จากรายงานความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี ๒๕๖๐ ในภาพรวมตำบล ดังตารางแสดงตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์
ตัวชี้วัดความจำเป็นพื้นฐานที่ไม่ผ่านเกณฑ์
|
ผลการสำรวจระดับครัวเรือน (จปฐ.2) |
|||
จำนวนสำรวจ |
ไม่ผ่านเกณฑ์ |
|||
จำนวน |
ร้อยละ |
|||
2๕ |
คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา (ยกเว้นการดื่มเป็นครั้งคราวฯ) |
3,491 |
88 |
2.52 |
26 |
คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่ |
3,491 |
252 |
7.๒2 |
|
|
|
|
|
ตัวชี้วัดความจำเป็นพื้นฐานที่ไม่ผ่านเกณฑ์ |
รายชื่อหมู่บ้านที่ไม่ผ่านเกณฑ์
|
|
2๕ |
คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา (ยกเว้นการดื่มเป็นครั้งคราวฯ) |
ม.1,3,4,5,6,7,8,9,10,11 |
26 |
คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่ |
ม.1 - 11 |
ตารางข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานที่ไม่บรรลุเป้าตามตัวชี้วัดหากนำมาแยกตามพื้นที่ได้ดังนี้
จากตารางข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานที่ไม่บรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดหากนำมาแยกตามพื้นที่ พบว่า
๑. หมู่บ้านที่มีข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ๑ ตัวชี้วัด จำนวน หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านบางทรายน้อย หมู่ที่ 2
๒. หมู่บ้านที่มีข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ๒ ตัวชี้วัด จำนวน 10 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1,3,4,5,6,7,8,9,10,11
สรุปภาพรวมของทั้ง ๑๑ หมู่บ้าน พบว่า
บ้านบางทรายน้อย เป็นหมู่บ้านที่มีคุณภาพชีวิตตามความจำเป็นพื้นฐานดีที่สุดในตำบลบาง
ทรายน้อย หมู่ที่ 2 คือ ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 29 ตัวชี้วัด ไม่ผ่านเกณฑ์ 1 ตัวชี้วัด
ส่วนหมู่ที่ 1,3,4,5,6,7,8,9,10,11 ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 28 ตัวชี้วัด ไม่ผ่านเกณฑ์ 2 ตัวชี้วัด
จากการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช ๒ค) ปี ๒๕๕8 ตามดัชนีระดับการพัฒนาหมู่บ้านตัวชี้วัดที่มีปัญหามาก และมีปัญหาปานกลาง แยกเป็นรายหมู่บ้าน ดังนี้
ดัชนีระดับการพัฒนาของหมู่บ้าน ประมวลจากข้อมูล กชช ๒ค ปี ๒๕๕8 จังหวัดมุกดาหาร
จากตารางดัชนีระดับการพัฒนาของหมู่บ้าน จะเห็นได้ว่า
๑. บ้านบางทรายน้อย หมู่ที่ ๑ ระดับการพัฒนาต่ำกว่าเกณฑ์ (ได้คะแนน ๑) มีจำนวน ๒ ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดที่ 16 ร และตัวชี้วัดที่ 32
๒. บ้านบางทรายน้อย หมู่ที่ ๒ ระดับการพัฒนาต่ำกว่าเกณฑ์ (ได้คะแนน ๑) มีจำนวน 3 ตัวชี้วัด คือตัวชี้วัดที่ 17 ,18 ,25
๓. บ้านดอน หมู่ที่ ๓ ระดับการพัฒนาต่ำกว่าเกณฑ์ (ได้คะแนน ๑) มีจำนวน 3 ตัวชี้วัด คือ
ตัวชี้วัดที่ 17,18 ,32
๔. บ้านขามป้อม หมู่ที่ ๔ ระดับการพัฒนาต่ำกว่าเกณฑ์ (ได้คะแนน ๑) มีจำนวน 5 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดที่ 1 ,11 ,18 ,21 ,32
๕. บ้านผักขะย่า หมู่ที่ ๕ ระดับการพัฒนาต่ำกว่าเกณฑ์ (ได้คะแนน ๑) มีจำนวน 4 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดที่ 17, 18, 21, 25
๖. บ้านทรายทอง หมู่ที่ ๖ ระดับการพัฒนาต่ำกว่าเกณฑ์ (ได้คะแนน ๑) มีจำนวน 3 ตัวชี้วัด คือ
ตัวชี้วัดที่ 18 ,21,25
๗. บ้านนามน หมู่ที่ ๗ ระดับการพัฒนาต่ำกว่าเกณฑ์ (ได้คะแนน ๑) มีจำนวน 4 ตัวชี้วัด คือ
ตัวชี้วัดที่ 1, 18, 21, 32
8. บ้านสุขสำราญ หมู่ที่ ๘ ระดับการพัฒนาต่ำกว่าเกณฑ์ (ได้คะแนน ๑) มีจำนวน 5 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดที่ 5, 17, 18, 21, 32
- บ้านดาวเรือง หมู่ที่ ๙ ระดับการพัฒนาต่ำกว่าเกณฑ์ (ได้คะแนน ๑) มีจำนวน 3 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดที่ 17, 21, 29
- บ้านโพธิ์ทอง หมู่ที่ ๑๐ ระดับการพัฒนาต่ำกว่าเกณฑ์ (ได้คะแนน ๑) มีจำนวน ๑ ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดที่ 4
- บ้านบางทรายใต้ หมู่ที่ ๑๑ ระดับการพัฒนาต่ำกว่าเกณฑ์ (ได้คะแนน ๑) มีจำนวน 2 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดที่ 29, 32
สรุปจากภาพรวมของทั้ง ๑๑ หมู่บ้าน พบว่า
บ้านขามป้อม หมู่ที่ 4 และบ้านสุขสำราญ หมู่ที่ 8 เป็นหมู่บ้านที่มีคุณภาพชีวิตตามข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้านมีปัญหามากที่สุด คือ มีตัวชี้วัดที่ต่ำกว่าเกณฑ์ (ได้คะแนน ๑) มากถึง ๕ ตัวชี้วัด
บ้านโพธิ์ทอง หมู่ที่ 10 เป็นหมู่บ้านที่มีคุณภาพชีวิตตามข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้านดีที่สุดในตำบล คือ มีจำนวน ๑ ตัวชี้วัด
ส่วนที่ ๓
แนวโน้มและทิศทางการพัฒนา
วิเคราะห์ศักยภาพตำบล
ในการพัฒนาตำบลบางทรายน้อย ชาวบ้านได้นำปัญหาต่าง ๆ ของชุมชนที่ได้จาการสำรวจข้อมูล จปฐ. และ กชช ๒ค รวมทั้งความคิดความเห็นจากเวทีประชาคม มาวิเคราะห์ปัญหาโดยอาศัยเวทีประชาคมของหมู่บ้าน และการประชุมราษฎรที่ดำเนินการเป็นประจำทุกเดือน โดยได้สังเคราะห์ใช้ในรูปแบบแผนชุมชน ซึ่งสรุปสภาพตำบล ได้ดังนี้
จุดแข็ง |
จุดอ่อน |
๑. มีหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของอำเภอหว้านใหญ่ ๒. มีแหล่งเงินทุนในชุมชนที่เข้มแข็ง เช่น กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุนหมู่บ้าน โครงการ กข.คจ. ๓. มีระบบอินเตอร์เน็ตตำบลให้บริการ ๔. มีจุดเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในตำบล ๕. มีผู้นำที่เข้มแข็ง ๖. มีกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ที่เข้มแข็ง ๗. การมีส่วนร่วมของประชาชน ๘. มีป่าชุมชนในพื้นที่สาธารณะประโยชน์ ๙. มีระบบสื่อสารและระบบสารสนเทศที่เหมาะสม ๑๐. มีข้อมูล จปฐ. กชช ๒ค และข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ๑๑. มีภูมปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลาย เช่น การทอผ้า การจักสาน การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การเจียระไนหิน เป็นต้น ๑๒. มีการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมที่สำคัญ ๑๓. ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคราชการอื่น ๆ ๑๔. ผู้นำได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง ๑๕. มีหมู่บ้านในตำบลได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา |
๑. ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ในการประกอบอาชีพเสริมหลังจากการทำไร่ ทำนา ๒. ประชาชนไม่สนใจในการประกอบอาชีพเสริม ๓. ประชาชนบางกลุ่มลุ่มหลงในอบายมุข ๔. ประชาชนมีการออมเงินน้อย การใช้จ่ายฟุ่ยเฟือย ๕. บางหมู่บ้านการคมนาคมไม่สะดวก ถนนเป็นหลุม เป็นบ่อ ๖. ประชาชนยังขาดจิตสำนึกในการพัฒนาตนเองและชุมชน |
โอกาส |
อุปสรรค |
๑. ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคราชการอื่น ๆ ๒. ผู้นำได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง ๓. มีหมู่บ้านในตำบลได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา ๔. ระบบการสื่อสารที่ทันสมัย ทำให้รอบรู้ทันข่าวสาร |
๑. การเมืองท้องถิ่นทำให้ชุมชนแตกแยก ๒. นโยบายรัฐเปลี่ยนแปลงบ่อยไม่ชัดเจน ๓. ภาวะเศรษฐกิจ ค่าครองชีพสูง ราคาปัจจัยการผลิตแพง ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูง ประชาชนต้องดิ้นรนช่วยเหลือตนเอง ๔. ขาดน้ำ และระบบชลประทานในการทำการเกษตร
|
ที่ |
กิจกรรม/โครงการ |
ระยะเวลาดำเนินการ |
งบประมาณ (บาท) |
แหล่งงบประมาณ |
ความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนา |
บทบาทของพัฒนากร |
๑ |
อุดหนุนกลุ่มสตรีระดับตำบล |
ม.ค.-ธ.ค.๕๙ |
๓๐,๐๐๐ |
อบต. |
- ด้านเศรษฐกิจ สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน ชุมชนมีการเรียนรู้และบริหารจัดการด้วยตัวเอง |
- วิทยากรกระบวนการ
|
๒ |
ทำบุญประจำปี |
ม.ค.-ธ.ค.๕๙ |
ไม่ใช้งบประมาณ |
- |
- ด้านวัฒนธรรมประเพณี เป็นการปลูกฝังค่านิยมอันดีและรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีให้มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยั่งยืน |
- จัดทำสารสนเทศชุมชน |
๓ |
รณรงค์ ลด ละ เลิก อบายมุข |
ก.ค.-ต.ค.๕๙ |
๑๐,๐๐๐ |
อบต. , กม. |
- ด้านสังคม ลดปัญหาการทะเละวิวาท ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น สุขภาพกายและใจดี ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนน่าอยู่ |
- จัดทำแผ่นพับ - ประชาสัมพันธ์ไปยังเครือข่าย/ องค์กร/ผู้นำ/เยาวชน |
๔ |
ส่งเสริมให้นำปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต |
ม.ค.-ธ.ค. ๕๙ |
๑๐,๐๐๐ |
อบต.,เกษตร,พัฒนาชุมชน |
- ด้านเศรษฐกิจ ครัวเรือนมีภูมิคุ้มกันและมีเหตุผลกับการใช้ชีวิตโดยไม่ประมาณ เป็นการส่งเสริมการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย รู้จักการประหยัดอดออม |
- วิทยากรกระบวนการ - ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างตาม แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง |
ส่วนที่ ๓ กิจกรรม/โครงการและผลการพัฒนาหมู่บ้าน
ที่ |
กิจกรรม/โครงการ |
ระยะเวลาดำเนินการ |
งบประมาณ (บาท) |
แหล่งงบประมาณ |
ความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนา |
บทบาทของพัฒนากร |
๕ |
เฝ้าระวังการระบาดไข้เลือดออก |
พ.ค.-ก.ย.๕๙ |
๓๐,๐๐๐ |
สาธารณสุข,อบต. |
- ด้านสาธารณสุข ลดอัตราการเกิดโรคในเด็ก ประชาชนรู้ถึงแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและรู้จักวิธีป้องกันและรักษาอย่างถูกวิธี |
- ประสานเกลุ่มยาวชน/สตรีเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม - จัดทำปฏิทินฤดูกาล |
๖ |
พัฒนาหมู่บ้านในวันสำคัญต่าง ๆ |
เป็นประจำทุกปี |
ไม่ใช้งบประมาณ |
- |
- ด้านสังคม ปรับปรุงทัศนียภาพภายในหมู่บ้านและดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้มีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในชุมชนในการมีส่วนรวมการพัฒนา |
- เข้าร่วมในกิจกรรมการพัฒนา |
๗ |
งดเหล้าเข้าพรรษา |
ก.ค.- ต.ค. ๕๙ |
ไม่ใช้งบประมาณ |
- |
- ด้านศาสนา เป็นการถือศีลภาวนาลด ละเลิก สิ่งมอมเมาเพื่อให้มีกายบริสุทธิ์ และเป็นวิธีการบังคับตนเองไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสุรา |
- ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี |
๘ |
พลังสตรีลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาล |
๑๑-๑๗ เม.ย. ๕๙ |
๑๕,๐๐๐ |
อบต. ,พัฒนาสังคม |
- ด้านสังคม ส่งเสริมบทบาทสตรีด้านการพัฒนา ทั้งระดับจังหวัด อำเภอ และท้องถิ่น |
- จัดทำป้ายรณรงค์ลดอุบัติเหตุ - ประสานกลุ่มองค์กรสตรีเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการฯ |
๙ |
เบี้ยยังชีพผู้ด้อยโอกาส |
|
๑,๙๘๙,๐๐๐ |
อบต |
- ด้านเศรษฐกิจ ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส |
- ประชาสัมพันธ์ |
ส่วนที่ ๔
ข้อเสนอแนะของนักพัฒนาต่อการพัฒนาตำบล
สรุปผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลของหมู่บ้านเปรียบเทียบจากตัวชี้วัด จปฐ. กชช.๒ค. และการจัดเวทีประชาคม เพื่อให้ทราบถึงสภาพปัญหา ระดับการพัฒนาหมู่บ้านและข้อมูลอื่นที่จำเป็นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนก่อนลงมือทำงานจะทำให้มีขั้นตอน วิธีการทำงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมสนองต่อความต้องการของชุมชนได้อย่างแท้จริงและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน ยุทธศาสตร์จังหวัด แผนแม่บทชุมชน จนกระทั้งการนำไปสู่การขับเคลื่อนกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านให้ประสบผลสำเร็จ จึงขอเสนอแนะในเรื่องต่อไปนี้
๑. ตำบลบางทรายน้อย ในปัจจุบันความเจริญเข้ามาสู่หมู่บ้านทำให้ความต้องการเครื่องอุปโภค-บริโภคจากภายนอกเพิ่มมากขึ้น วิถีการดำเนินชีวิตเริ่มเปลี่ยนไปตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมผ่านสื่อต่าง ๆ ทำให้ค่าใช้จ่ายในครอบครัวเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่อาชีพและรายได้คงเดิม การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับชีวิตประจำวัน และการประกอบอาชีพ จึงเป็นวิธีการหนึ่งในการป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีเพื่อมิให้เกิดความประมาทในการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิต การจัดตั้งกลุ่มอาชีพก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะเป็นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้และเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในชุมชน
๒. การมีส่วนร่วมของประชาชนยังมีน้อย เนื่องจากข้อจำกัดด้านเวลาในการทำงาน (อาชีพหลัก) เพื่อสร้างโอกาสในการพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ควรใช้เทศกาลสำคัญ ๆ เป็นเวทีเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน
๓. ความสามัคคี โดยเฉพาะในกลุ่มผู้นำชุมชนจะต้องเหนี่ยวแน่น เพราะผู้นำเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านและมีสมาชิกในชุมชนเป็นหน่วยสนับสนุน กิจกรรม/แผนงานจึงจะประสบผลสำเร็จ
๔. เด็กเยาวชน สตรีและคนชรา ขาดโอกาสในการแสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ เนื่องจากบทบาทสำคัญในชุมชนจะได้รับมอบหมายให้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้นำชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพศชาย เพื่อลดปัญหาความเลื่อมล้ำทางสังคม ชุมชนควรเปิดโอกาส และสนับสนุนส่งเสริมบทบาทเด็ก สตรี และคนชรา กับการมีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรม โครงการในทุกขั้นตอน
๕. ปัจจุบันการศึกษามีความสำคัญต่อการประกอบอาชีพของคนในชุมชนเพราะการศึกษาเป็นการสร้างโอกาสและเป็นช่องทางเลือกอาชีพได้หลากหลาย ดังนั้นผู้ปกครองควรสนับสนุนบุตรหลานให้รักการเรียนและส่งเสริมบุตรหลานให้ได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น