http://wycd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทบาทหน้าที่

 ประวัติอำเภอ

 รวมรูปภาพ

 พช.มุกดาหาร

 Links สพอ.

 เว็บบอร์ด

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท25/03/2019
ผู้เข้าชม30,624
เปิดเพจ40,268
สินค้าทั้งหมด1

ข้อมูล พช.หว้านใหญ่

ข้อมูลทั่วไป

บริการประชาชน

กิจกรรมเด่น

KM องค์ความรู้

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

TDR/VDR

องค์ความรู้ชุมชน

ชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ

โครงการแก้จน

สินค้า

 สินค้าทั้งหมด
iGetWeb.com
AdsOne.com

บ้านโคกสวาท

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

ประวัติความเ็นมาของหมู่บ้านโคกสวาท

          เมื่อประมาณ  300 กว่าปี  ก่อนหลังจากที่บ้านชะโนด  ตั้งได้ประมาณ 6 ปี  จากที่มีอยู่ไม่กี่ครอบครัวกับกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่  จำนวนประชากรในชุมชนเพิ่มมากขึ้น  และทำให้ความเป็นอยู่ของพี่น้องเริ่มขาดแคลน  จึงได้มีชาวบ้านบางส่วนได้พาครอบครัว  อพยพโยกย้ายถิ่นฐานเพื่อหาแหล่งที่ทำกินใหม่  กลุ่มหนึ่งได้อพยพ ลัดเลาะตามลำแม่น้ำโขงเรื่อยมา ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร  ได้พบพื้นที่เหมาะสมในการเพาะปลูก  จึงได้ตั้งหมู่บ้านขึ้นชื่อว่า  บ้านหว้านใหญ่  ตามสภาพพื้นที่เต็มไปด้วยป่าหว้าน  ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งนำโดย  ราชวัตร  กับท้าวทา  ได้พาครอบครัวกับชาวบ้านบางส่วนอพยพลัดเลาะตามลำห้วยชะโนดขึ้นมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ  14  กิโลเมตรได้พบพื้นที่เหมาะในการทำมาหากิน  ซึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่มอยู่ระหว่างลำห้วยชะโนด  กับหนองกุดขอน  และหนองกุดผึ้งพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะในการเพาะปลูกอย่างยิ่ง  จึงได้ตั้งหมู่บ้านขึ้น ชื่อว่าบ้านนาดี  และต่อมาได้เกิดอุทกภัย  น้ำท่วมอย่างรุนแรง  หมู่บ้านทั้งหมดจมอยู่ใต้น้ำ  ชาวบ้านได้พากันอพยพย้ายมาตั้งหมู่บ้านใหม่  ห่างจากบ้านเดิมประมาณ  1  กิโลเมตร และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า  บ้านโคกสวาท  เมื่อวันที่  10  มีนาคม 2524  มีผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือ  นายไสว  เมืองโคตร 

ลักษณะที่ตั้ง

          บ้านโคกสวาท  หมู่ที่ 9  ตำบลป่งขาม  ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอหว้านใหญ่  ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอหว้านใหญ่ ระยะทาง 4 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลป่งขาม  ระยะทาง  2 กิโลเมตร

พื้นที่ของหมู่บ้าน

          มีพื้นที่ทั้งหมด              1,500           ไร่

          ที่อยู่อาศัย                  300              ไร่

          พื้นที่ทำการเกษตร         700              ไร่

          พื้นที่ทำไร่                  150              ไร่

          พื้นที่ทำสวน               250              ไร่

          อื่นฯ (ระบุ)......................................................

อาณาเขต

          ทิศเหนือ                   จด      บ้านนาตะแบง  ตำบลคำป่าหลาย  อำเภอเมืองมุกดาหาร

          ทิศใต้                       จด      บ้านนาดี  หมู่ที่ 4  ตำบลป่งขาม 

          ทิศตะวันออก              จด      บ้านนาขามป้อม  หมู่ที  5 ตำบลป่งขาม 

          ทิศตะวันตก                จด      บ้านคำป่าหลาย  ตำบลคำป่าหลาย  อำเภอเมืองมุกดาหาร

การปกครอง

          คณะกรรมการหมู่บ้าน  จำนวน 9 คน ประกอบด้วย

  1. นายโสภา  เมืองโคตร           ตำแหน่ง                   ผู้ใหญ่บ้าน
  2. นายสีพร  อนันต์               ตำแหน่ง                   ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
  3. นางสายัณ  อนันต์              ตำแหน่ง                   ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
  4. นายเต็ง  อนันต์                ตำแหน่ง                   กรรมการหมู่บ้าน
  5. นายเฉลิม  เมืองโคตร          ตำแหน่ง                   กรรมการหมู่บ้าน
  6. นายสลวย  เมืองโคตร          ตำแหน่ง                   กรรมการหมู่บ้าน
  7. นายดี  เมืองโคตร              ตำแหน่ง                   กรรมการหมู่บ้าน
  8. นายบรรดล  วงชีพ             ตำแหน่ง                   กรรมการหมู่บ้าน
  9. นายจิตตา  อนันต์              ตำแหน่ง                   กรรมการหมู่บ้าน

 

การปกครอง  แบ่งการปกครองออกเป็นคุ้ม  จำนวน 5  คุ้ม  ดังนี้

  1. คุ้มตะวันลับฟ้า                 หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายบุญตา  เมืองโคตร
  2. สวรรค์บันดาล                  หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายบุญเพ็ง  เมืองโคตร
  3. คุ้มรุ่งอรุณเบิกฟ้า               หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายถวิล  กุลสุทธิ์
  4. คุ้มเทพอำนวยชัย               หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายบุญส่ง  เมืองโคตร
  5. คุ้มตะวันลอนข้างโรงเรียน      หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายแย้ม  อนันต์
  6. คุ้มสามแยกสำราญ             หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายศรีเมือง  วงชัย
  7. คุ้มฟ้าประทานพร              หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายวิไล  กุลสุทธิ์
  8. คุ้มเกษตรสมบูรณ์               หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายสอง  เมืองโคตร
  9. คุ้มตะวันยอแสง                หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายคมสัน  บางทราย
  10. คุ้มสามัคคีธรรม                 หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายจิตตา  อนันต์
  11. คุ้มจันทร์ส่องแสง               หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายไชยรัตน์  เมืองโคตร
  12. คุ้มทุ่งแสงตะวัน                 หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายสลวย  เมืองโคตร
  13. คุ้มดาวประดับฟ้า               หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายเฉลิม  เมืองโคตร
  14. คุ้มจันทร์ทรงกรต               หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายประสงค์  เมืองโคตร
  15. คุ้มฟ้ามีชัย                      หัวหน้าคุ้มชื่อ     นายมีชัย  อนันต์

ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะสภาพพื้นที่’

                             พื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้าน  มีลักษณะเป็นที่ราบสูง

          แหล่งน้ำที่สำคัญ มี 2 แห่งคือ

  1. ลำห้วยชะโนด
  2. ฝายน้ำล้น

การคมนาคม

          มีถนนติดต่อกับอำเภอ  2  เส้นทาง  รวมระยะทางทั้งหมด  10  กิโลเมตร  ดังนี้

                   เป็นถนนลาดยาง          ระยะทาง  10  กิโลเมตร

                   เป็นถนนลูกรัง             ระยะทาง  -     กิโลเมตร

          มีถนนสายหลักภายในหมู่บ้าน  3  สาย  รวมระยะทางทั้งหมด  5  กิโลเมตร  ดังนี้

                   เป็นถนนลาดยาง          1  สาย           ระยะทาง  10  กิโลเมตร

                   เป็นถนนลูกรัง             -   สาย           ระยะทาง  -     กิโลเมตร

                   เป็นถนนคอนกรีต          3  สาย           ระยะทาง  2   กิโลเมตร

          มีซอยจำนวน  5  ซอย  รวมระยะทางทั้งหมด  7  กิโลเมตร

                   เป็นคอนกรีต               3  สาย           ระยะทาง  3  กิโลเมตร

                   เป็นถนนลูกรัง             2  สาย           ระยะทาง  4  กิโลเมตร

                   เป็นถนนดิน                -   สาย           ระยะทาง  -   กิโลเมตร

ประชากร

          มีครัวเรือนทั้งหมด         216  ครัวเรือน

          จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริง  ทั้งหมด    722  คน

          แยกเป็นเพศชาย  365  คน        เพศหญิง  375  คน

จำนวนประชากรแยกตามช่วงอายุ

ช่วงอายุประชากร

จำนวนเพศชาย

(คน)

จำนวนเพศหญิง

(คน)

จำนวนรวม

(คน)

น้อยกว่า  ๑  ปีเต็ม

2

2

4

๑ ปีเต็ม – ๒ ปี

7

5

12

๓ ปีเต็ม  -  ๕  ปี

13

8

21

๖  ปีเต็ม –  ๑๑ ปี

32

27

59

๑๒ ปีเต็ม  -  ๑๔ ปี

12

11

23

๑๕ ปีเต็ม  -  ๑๗ ปี

21

16

37

๑๘ ปีเต็ม  -  ๒๕ ปี

57

62

119

๒๖ ปีเต็ม  -  ๔๙ ปีเต็ม

131

139

270

๕๐ ปีเต็ม  -  ๖๐ ปีเต็ม

58

54

112

มากกว่า  ๖๐ ปีเต็มขึ้นไป

32

33

65

รวมทั้งหมด

365

357

722

 

การประกอบอาชีพ

          ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักและอาชีพเสริม  ดังนี้

  1. อาชีพทำนา           200    ครัวเรือน
  2. อาชีพทำสวน          20      ครัวเรือน
  3. อาชีพประมง          -         ครัวเรือน
  4. อาชีพรับจ้าง          50      ครัวเรือน
  5. อาชีพรับราชการ      -         ครัวเรือน
  6. อาชีพค้าขาย          2        ครัวเรือน
  7. อื่นๆ (ระบุ)            -         ครัวเรือน

ข้อมูลด้านสัตว์เลี้ยง

  1. เลี้ยงกระบือ           จำนวน            35      ครัวเรือน
  2. เลี้ยงโค                จำนวน            50      ครัวเรือน
  3. เลี้ยงไก่                จำนวน            180    ครัวเรือน
  4. เลี้ยงเป็ด               จำนวน            20      ครัวเรือน
  5. เลี้ยงสุกรพื้นเมือง     จำนวน            16      ครัวเรือน
  6. เลี้ยงปลา              จำนวน            30      ครัวเรือน

ข้อมูลทางสังคม/ศาสนา/ศิลปะและวัฒนธรรม

          โรงเรียน                    จำนวน            1  แห่ง

          วัด                          จำนวน           -   แห่ง

          ศาลาประชาคม            จำนวน           1  แห่ง

          ตู้โทรศัพท์สาธารณะ       จำนวน           1  แห่ง

ข้อมูลสถานบริการ

          สถานบริการน้ำมันขนาดเล็ก  หรือปั้มหลอด                   จำนวน  2  แห่ง

          ร้านค้าในหมู่บ้าน                                                จำนวน  8   ร้าน

          ศูนย์จำหน่ายสินค้า                                              จำนวน  1   แห่ง

          ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรระดับตำบล             จำนวน  1  แห่ง

สถานที่ท่องเที่ยวในหมู่บ้าน/ตำบล

  1. แก่งกะเบาอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ  7  กิโลเมตร
  2. โบสถ์คริสต์อยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 5  กิโลเมตร

แหล่งน้ำกิน – น้ำใช้

          ระบบน้ำประปาหมู่บ้าน   จำนวน  1  แห่ง

          บ่อน้ำบาดาล              จำนวน  5  บ่อ

          ถังเก็บน้ำฝน               จำนวน  6  ถัง

          สระน้ำ                     จำนวน  5  แห่ง

          แม่น้ำ/ลำห้วย             จำนวน  2  สาย

          ฝายน้ำล้น                  จำนวน  1  แห่ง

การรวมกลุ่ม 

มีการรวมกลุ่มเพื่อประกอบกิจกรรมในการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  ดังนี้

  1. ธนาคารข้าวประจำหมู่บ้าน  จัดตั้งเมื่อ ปี  พ.ศ. 2527  ทุนข้าวในธนาคารจำนวน 4,602  กิโลกรัม  โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการเป็นแหล่งรวบรวมข้าวของหมู่บ้าน
  2. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านโคกสวาท  จัดตั้งขึ้นเมื่อ  ปี พ.ศ. 2544  จำนวน เงินทุน 120,000  บาท สมาชิกจำนวน  182  คน
  3. กองทุนโครงการ กข.คจ. ได้รับงบเมื่อปี พ.ศ. 2544  จำนวนเงินสนับสนุน  280,000 บาท

ดำเนินกิจกรรมสนับสนุนเงินให้ครัวเรือนยืมไปประกอบอาชีพ โดยปลอดดอกเบี้ย

  1. กองทุนแม่ของแผ่นดิน  จำนวนเงินทุนทั้งหมด  42,393  บาท
  2. กองทุนเมนู 5 จำนวนเงินทุนทั้งหมด  93,000  บาท
  3. กองทุนหมู่บ้านบ้านโคกสวาท  จำนวนเงินทุน  2,952,000 บาท

ผลการดำเนินกิจกรรม

                   อำเภอหว้านใหญ่ ได้รับมอบหมายและงบประมาณให้ดำเนินโครงการขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ปี 2559  ดำเนินการระหว่างวันที่ 16 – 19 ธันวาคม 2558 ณ  บ้านโคกสวาท หมู่ที่ 9 ตำบลป่งขาม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นหมู่บ้านที่มีระบบการบริหารจัดการชุมชนโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาหมู่บ้าน ได้รับการจัดสรรงบประมาณดำเนินงานจากกรมการพัฒนาชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 และมีหน่วยงานต่างๆ ให้สนับสนุนการพัฒนาหมู่บ้านในด้านต่างๆ เช่น งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ เป็นต้น และมีกระบวนการดำเนินการโครงการ ดังนี้

                   1. ก่อนดำเนินการ       

1.1 คัดเลือกหมู่บ้านเป้าหมาย  จำนวน ๑ หมู่บ้าน โดยมติคณะกรรมการขับเคลื่อน

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงระดับตำบลป่งขามและระดับอำเภอหว้านใหญ่ คัดเลือกบ้านโคกสวาท  หมู่ที่ 9 ตำบลป่งขาม  เป็นพื้นที่เป้าหมายดำเนินโครงการขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ประจำปี 2559

                             1.2 แจ้งผล ตามข้อ 1.1 ให้ผู้นำหมู่บ้านทราบ เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานตามโครงการ

                             1.3 ประชุมชาวบ้านเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ และให้ที่ประชุมพิจารณากิจกรรมสาธิตการดำรงชีวิตแบบพอเพียงตามโครงการ และที่ประชุมมีมติให้จัด กิจกรรมสานตะกร้าพลาสติก กิจกรรมการทำน้ำยาเอนกประสงค์  และกิจกรรมทำไม้กวาด  

1.4 สร้างแกนนำหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ แจ้งให้หมู่บ้านพิจารณาคัดเลือกผู้นำกลุ่ม/องค์กรชุมชน จำนวน 3 คน ประกอบ นายโสภา  เมืองโคตร (ผู้ใหญ่บ้าน ) นายสีพร  อนันต์ (ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน) นายจิตตา  อนันต์ ผู้นำอาสาพัฒนา (ผู้นำ อช.ต.ป่งขาม)  เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรสร้างแกนนำหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ปี 2559  ณ  ศูนย์ฝึกอาชีพราษฎรไทยฯ ตำบลบางทรายใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ทำให้แกนนำทั้ง 3 คน มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและแนวทางการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมทั้ง เป็นแกนนำในการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

1.5   แกนนำหมู่บ้าน ตามข้อ 1.4  จัดประชุมชาวบ้าน ประชาสัมพันธ์และรับสมัคร

ครอบครัวพัฒนาเข้าร่วมโครงการ จำนวน  30 ครอบครัว

2. ระหว่างดำเนินการ

                        อำเภอหว้านใหญ่ ได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหว้านใหญ่ เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ บ้านโคกสวาท  หมู่ที่ 9  ตำบลป่งขาม โดยใช้งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากกรมการพัฒนาชุมชน และได้ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ดังนี้

2.1 กิจกรรมส่งเสริมครอบครัวพัฒนาในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อวันที่ 16 – 19 ธันวาคม 2558   กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้แทนครอบครัวพัฒนา จำนวน 30 ครอบครัว โดยมีรายละเอียดดังนี้

2.1.1 จัดสัมมนาการเรียนรู้วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 1 วัน              

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม  2558 ณ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรตำบลป่งขาม  บ้านโคกสวาท      หมู่ที่ 9  สร้างความเข้าใจและให้ครอบครัวพัฒนาการยอมรับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ถูกต้อง ทั้งแนวคิด หลักการ และแนวทางปฏิบัติ  ขั้นตอนการดำเนินการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

 2.1.2 นำครอบครัวพัฒนาศึกษาดูงาน ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง นายประสิทธิ์  โนรี บ้านเลขที่ 128  หมู่ที่ 5  ตำบลดอนตาล  อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร  ให้ครอบครัวพัฒนามีความรู้และเข้าใจในหลักการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กำหนดเป้าหมายการพัฒนาหมู่บ้านตนเอง จัดทำแผนชีวิตหรือแผนพัฒนาครอบครัว เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาครอบครัวตนเอ

2.2 กิจกรรมการเรียนรู้การบริหารจัดการชุมชน มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม คือ ผู้แทนครอบครัวพัฒนา จำนวน 30 คน ดำเนินโครงการ เมื่อวันที่  16  ธันวาคม  2558 เป็นกิจกรรมที่เน้นการให้ความรู้เรื่องการทำบัญชีครัวเรือน  การจัดแผนชีวิต  โดยใช้ตัวชี้วัด 6x2 ขับเคลื่อนในแต่ครอบครัว การจัดทำและนำแผนชุมชนไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาหมู่บ้าน เพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในชุมชน พร้อมกับประเมินความอยู่เย็นเป็นสุข หรือสุขมวลรวมของหมู่บ้าน ครั้งที่ 1 ด้วยแบบประเมินความ “อยู่เย็น เป็นสุข” หรือความสุขมวลของหมู่บ้าน(แบบใยแมงมุม 6 องค์ประกอบ 22 ตัวชี้วัด) ได้ผลคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.39 คะแนน และประเมินโดยใช้ปรอทวัดความสุข อยู่ที่ระดับ 90 C  “อยู่เย็น  เป็นสุข”                  

2.3 กิจกรรมสาธิตการดำรงชีวิตตามวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินการเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2558  จำนวน 2 กิจกรรม คือ การสานตะกร้าพลาสติก และการทำน้ำยาเอนกประสงค์  โดยมีผู้แทนครอบครัวพัฒนา ผู้นำ และชาวบ้านให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 35 คน ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น และยังเป็นการอนุรักษ์รักษาภูมิปัญญาชุมชน ปัจจุบันหมู่บ้านได้ดำเนินการจัดตั้งเป็นกลุ่มตะกร้าพลาสติก  กลุ่มทำไม้กวาด  และกลุ่มน้ำยาล้างจาน นอกจากนั้นครัวเรือนมีการปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคเองทุกครัวเรือน สามารถลดรายจ่ายให้กับครอบครัวได้อย่างดี เน้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำกิจกรรมร่วมกันให้คำแนะนำ ส่วนเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนต้องคอยส่งเสริมสนับสนุน  ให้กำลังใจและชื่นชมกับผลงานที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำขึ้นทุกคน เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ 

2.4 กิจกรรมเตรียมการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ กิจกรรมมีผู้แทน

ครอบครัวพัฒนา จำนวน 30 คน เข้าร่วมกิจกรรม ณ  ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรตำบลป่งขาม  บ้านโคกสวาท  หมู่ที่ 9 วิธีการคือ  จัดเวทีให้ครอบครัวพัฒนาได้มีการพูดแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน และการบริหารจัดการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง (ตามหลักการพัฒนาชุมชน) กำหนดรูปแบบการพัฒนาหมู่บ้านไปสู่การเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ โดยเน้นให้คนในชุมชนเป็นผู้ขับเคลื่อนด้วยตนเอง การเรียนรู้เรื่องการดำเนินชีวิตตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง การสร้างความสมานฉันท์สามัคคีของหมู่บ้าน การป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด การสร้างแหล่งเรียนรู้ของคนในและนอกหมู่บ้าน สรุปบทเรียนการพัฒนาหมู่บ้านไปสู่การเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

3. หลังดำเนินการ

                       หมู่บ้าน/ครอบครัวพัฒนา และภาคีพัฒนาได้ร่วมกันพัฒนาบ้านโคกสวาท  หมู่ที่ 9  ตำบลป่งขาม อย่างต่อเนื่อง เน้นดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ภายใต้มีความพอประมาณ  มีเหตุผล มีความพร้อม (ภูมิคุ้มกัน) มีความรู้ และมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้  ในการบริหารจัดการชุมชน บ้านโคกสวาท มีการดำเนินกิจกรรมหลายกิจกรรม ดังนี้

3.1 กิจกรรมการลดรายจ่าย

                   3.1.1 ครัวเรือนปลูกพืชผักสวนครัวลดรายจ่ายราษฎรบ้านโคกสวาท    หมู่ที 9  ตำบลป่งขาม ได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในระดับครอบครัว โดยหมู่บ้านกำหนดกิจกรรมการปลูกพืชผักสวนครัวไว้ในแผนชุมชนทุกปี ครัวเรือนมีการปลูกพืชผักสวนครัวซึ่งได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์จากสำนักงานเกษตรอำเภอหว้านใหญ่ และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหว้านใหญ่

จัดฝึกอบรมการสานตะกร้าพลาสติก  การทำน้ำยาเอนกประสงค์ การทำไม้กวาด และการปลูกพืชผักสวนครัว  เพื่อให้ทุกครัวเรือนมีพืชผักสวนปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือนของตนเอง ใช้พื้นที่ว่างบริเวณบ้านให้เป็นประโยชน์ หรือใช้ภาชนะที่ทิ้งแล้วปลูกผักสวนครัว  พืชสมุนไพร  รวมทั้งเลี้ยงปลา  เลี้ยงกบ เลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู หรืออย่างอื่น ไว้บริโภคเองจนทำให้ครัวเรือนสามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนได้

                                       3.1.2 ครัวเรือนปลอดอบายมุข  สมาชิกทุกคนในครัวเรือนไม่เสพสิ่งเสพติด  ไม่เล่นการพนัน ทั้งที่ผิดกฎหมายและไม่ผิดกฎหมาย เช่น หวย สลากกินแบ่ง ไพ่ ไก่ชน มวยตู้ ไฮโล มีการจัดกิจกรรมพัฒนาความรู้คู่คุณธรรมให้กับเยาวชนและประชาชนในหมู่บ้านผ่านกิจกรรม  ลด  ละ  เลิก  อบายมุข  กิจกรรมส่งเสริมปลูกจิตสำนึกให้ตระหนักถึงคุณค่าของของความเป็นคน ให้ความสำคัญในการรักษาศีลหรือสวดมนต์เป็นประจำ  ส่งเสริมการฝึกอบรมสมาชิกภาวนาร่วมกับการทำนุบำรุงศาสนา  ลดเลิกเหล้าในงานศพ  ในการดำเนินกิจกรรมร่วมกับภาคีการพัฒนาต่างๆ นอกจากนั้นหมู่บ้านยังมีการเพิ่มเงินกองทุนแม่ของแผ่นดินของหมู่บ้าน โดยชาวบ้านร่วมกันบริจาค(ทุนศรัทธา) กันเป็นประจำทุกๆ เดือน เพื่อที่ใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และสร้างเข้มแข็งชุมชน

3.2 กิจกรรมการเพิ่มรายได้

                                   บ้านโคกสวาท หมู่ที่ 9 ตำบลป่งขาม เป็นหมู่บ้านสังคมเกษตรกรรมผสมผสาน ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ ทำการเกษตรได้ผลผลิตดี และชาวบ้านมีร่วมตัวกันจัดตั้งกลุ่มอาชีพหลายอย่าง เช่น กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ กลุ่มเลี้ยงไก่  กลุ่มตะกร้าพลาสติก  กลุ่มเลี้ยงโค กลุ่มทำไม้กวาด ธนาคารข้าว ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรอำเภอหว้านใหญ่ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอหว้านใหญ่ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหว้านใหญ่ และองค์การบริหารส่วนตำบลป่งขามดงหมู  ล้วนเป็นกิจกรรมที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการประกอบอาชีพ ร่วมถึงมีนิสัยเป็นคนขยัน ทำให้คนในหมู่บ้านมีรายได้ถึงไม่มากนักแต่ก็มีความภูมิใจกับสิ่งที่ได้รับ และจากการสำรวจข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2559 พบว่าครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยคนละ 48,751 บาทต่อปี

                             3.3 กิจกรรมการออม

คนในชุมชนมีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านโคกสวาท หมู่ที่ 9 เพราะเล็งเห็นความสำคัญเรื่องของการออมของคนในชุมชนเป็นสิ่งสำคัญ ถึงแม้ว่าหมู่บ้านจะมีเงินกองทุนหมู่บ้าน (กองทุนเงินล้าน) เพราะน่าจะเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการพัฒนาคนในหมู่บ้านมีคุณธรรม 5 ประการ คือ ซื่อสัตย์ เสียสละ รับผิดชอบ เห็นอกเห็นใจ มีความไว้วางใจ และยังเป็นการพัฒนาหมู่บ้านในด้านเงินทุนชุมชน เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนให้ชาวบ้านสามารถกู้ยืมนำไปประกอบอาชีพ สร้างรายได้ให้ครอบครัว และชุมชนก็สามารถจัดสวัสดิการให้กับคนชุมชนได้ 

    นอกจากนั้นครอบครัวพัฒนา ที่ผ่านการฝึกอบรมได้มีการจัดทำบัญชีรับ-จ่าย ครัวเรือน            ทำให้ครัวเรือนมองเห็นตนเองในเรื่องทางการเงินของครอบครัว เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการตนเองและชุมชน นำข้อมูลจากบัญชีรับ-จ่ายครัวเรือน มาใช้ประกอบการจัดทำแผนชีวิต และแผนชุมชน

3.4 กิจกรรมการเรียนรู้

                                   บ้านโคกสวาท  หมู่ที่ 9 เป็นสถานที่ตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีระดับตำบล ซึ่งมีหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดฝึกอบรมชาวบ้านเป็นประจำ เช่น การฝึกอบรมอาชีพแก่เกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง  การอบรมเรื่องประชาธิปไตย  การฝึกอบรมชุดรักษาความปลอดหมู่บ้าน การให้ความรู้เรื่องยาเสพติด และชุมชนมีการจัดกิจกรรมสืบสานประเพณีวัฒนธรรมให้กับคนรุ่นหลังผ่านกิจกรรมทางศาสนา เช่น บุญประเพณีต่างๆ  ผ้าป่าสามัคคี  นอกจากนั้นหมู่บ้านยังมีการสร้างเครือข่ายการพัฒนาหลายอย่าง เช่น  เครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน  เครือข่าย กข.คจ.  เครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม). เครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เป็นต้น

3.5 กิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

               ชาวบ้านโคกสวาท  หมู่ที่ 9  มีการจัดกิจกรรมการสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหลายอย่าง เช่น การปลูกป่าเพิ่มเติมในป่าชุมชนเป็นประจำทุกปี การไม่จับสัตว์น้ำในฤดูปลาวางไข่ การใช้เครื่องมือจับสัตว์ที่ไม่ทำลายสัตว์ขนาดเล็ก การปรับปรุงภูมิทัศน์หมู่บ้าน การใช้ปุ๋ยคอก-ปุ๋ยหมักในการเพาะปลูก การใช้เชื้อเพลิงจากแกลบแทนถ่านและฟืน  และการรณรงค์ให้ทุกครัวเรือนใช้หลอดไฟฟ้าประหยัด

                                       3.6 กิจกรรมการเอื้ออารีต่อกัน

                                      3.6.1 ชุมชนมีการดูแลช่วยเหลือคนจน ผู้ด้อยโอกาส และผู้ประสบความ

ยากลำบากมีการจัดกิจกรรมด้านการเอื้ออารีต่อกันหลายอย่าง เช่น การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการผู้สูงอายุ  ธนาคารข้าวโดยเป็นการส่งเสริมให้คนในชุมชนรู้รักสามัคคีกัน  กองทุนแม่ของแผ่นดินหมู่บ้านมอบทุนการศึกษา ให้กับเด็กในชุมชน ช่วยเหลือคนยากจน ผู้เดือดร้อน คนพิการ ผู้สูงอายุในชุมชนที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ นอกจากนั้นยังมีการสำรวจข้อมูลประชาชนที่เดือดร้อน แล้วประสานหน่วยงานให้ความช่วยเหลือ หรือแก้ไขปัญหาความต้องการ

3.6.2  ชุมชน “รู้รักสามัคคี” มีการประชุม/จัดเวทีประชาคม เพื่อแก้ไข

ปัญหาหรือเพื่อการพัฒนามีการจัดประชุมชาวบ้านประจำเดือนทุกเดือน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง มีการจัดเวทีประชาคมการดำเนินกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้านทุกครั้ง เพื่อให้ราษฎรในหมู่บ้านมีส่วนร่วมและเคารพเสียงส่วนมากเป็นหลัก และชี้แจงให้เสียงส่วนน้อยได้เข้าใจจนเป็นที่ยอมรับ เช่น โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ การจัดทำบัญชีรับ-จ่ายครัวเรือน การดำเนินกิจกรรมของกลุ่ม/องค์กรในชุมชน การจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในหมู่บ้าน การขับเคลื่อนกองทุนแม่ของแผ่นดิน การดำเนินงานกองทุนเงินทุนชุมชนทุกกองทุน เช่น กองทุน กข.คจ. กองทุนหมู่บ้าน

                                       3.6.3 คนในหมู่บ้านมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของหมู่บ้าน ราษฎรในหมู่บ้านช่วยกันพัฒนา และทำความสะอาดหมู่บ้าน เพื่อให้หมู่บ้านสวยงาม น่าอยู่ น่ามอง โดยใช้ภาชนะที่ทิ้งแล้วหรือเศษไม้จากการเหลือใช้แล้วในการปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้ พืชสมุนไพร รวมทั้งเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ไว้บริโภคในครัวเรือนสามารถลดรายจ่ายได้

3.6.4 ข้อปฏิบัติของหมู่บ้าน บ้านโคกสวาทมีการจัดทำข้อปฏิบัติตามกฎ ระเบียบหมู่บ้านเป็นลายลักษณ์อักษร  โดยใช้การจัดเวทีประชาคมหมู่บ้าน ที่คำนึงถึงจารีต วัฒนธรรม ประเพณีของชุมชนเพื่อใช้เป็นมือหนึ่งในการจัดการชุมชนก่อให้เกิดความสงบของคนในหมู่บ้าน โดยเฉพาะการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด การจัดกิจกรรมวัฒนธรรมประเพณีของหมู่บ้าน เช่น บุญประเพณีห่อข้าว  บุญเข้าพรรษา  บุญประเพณีข้าวประดับดิน เป็นต้น

4. ตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์

4.1 มีกองทุนสวัสดิการชุมชน 

4.2 ไม่มีครัวเรือนยากจน

4.3 เป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพติด

4.4 มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5. แผนงานที่ชุมชนจะดำเนินการ

               5.1 การพัฒนาหมู่บ้านสู่ตามโครงการชุมชนเกื้อกูล  เพิ่มพูนน้ำใจ

               5.2 จัดเวทีประชาคมหมู่บ้าน เพื่อกำหนดและขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนชุมชน

               5.3 การสร้างเครือข่ายกับหมู่บ้านอื่นๆ ในคราวโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของทางราชการ และของชุมชน

5.4 ขับเคลื่อนทุกกิจกรรมในหมู่บ้านให้เข้มแข็งและยั่งยืน โดยประสานงานหน่วยงานที่

เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือ และ ปรับแผนชุมชน

5.5 ด้านสร้างรายได้  นำภูมิปัญญาของชุมชนมาพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชุมชน และเน้น

การอนุรักษ์และถ่ายทอดภูมิสู่ปัญญาสู่คนรุ่นหลัง 

5.6 ด้านลดรายจ่าย โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาในในการดำรงวิถีชีวิต

ดำเนินกิจกรรมลดรายจ่ายอย่างต่อเนื่อง เช่น ปลูกพืชผักสวนครัว การทำปุ๋ยชีวภาพ การทำน้ำยาล้างจาน การทำบัญชีรับ-จ่าย เป็นต้น

5.7 วัดความอยู่เย็น เป็นสุข ของหมู่บ้าน หรือความสุขมวลรวมของหมู่บ้านโดยจัดเวที

ประชาคม แล้วนำผลที่ได้ไปกำหนดแผนแก้ไขตามตัวชี้วัดเพื่อสร้างความสุขเพิ่มขึ้น

ส่วนที่ 3

สรุปผลการดำเนินงาน

 

1. สรุปผลการดำเนินงาน

                   บ้านโคกสวาท หมู่ที่ 9 ตำบลป่งขาม อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร ได้ดำเนินการพัฒนาสู่การเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ภายใต้โครงการขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการพัฒนาหมู่บ้านให้บรรลุเป้าหมาย ด้วยการดำเนินกิจกรรม  4 กิจกรรม ดังนี้

1. กิจกรรมส่งเสริมครอบครัวพัฒนาในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

2. กิจกรรมการเรียนรู้การบริหารจัดการชุมชน

3. กิจกรรมส่งเสริมทักษะด้านการจัดสวัสดิการชุมชน

4. กิจกรรมเตรียมการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตันแบบ

บ้านโคกสวาท หมู่ที่ 9  ยังมีการดำเนินกิจกรรมในลักษณะลดรายจ่าย เพิ่มรายได้  การส่งเสริมการออมเงิน การเรียนรู้ การอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และการมีความเอื้ออารีต่อคน โดยมีผู้นำ ภาคีการพัฒนา คอยให้การส่งเสริมสนับสนุนอย่างสม่ำเสมอ จนทำให้เป็นหมู่บ้านสามารถบริหารจัดการตนเองได้

2. ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาหมู่บ้านสู่การเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

                   2.1 คนในชุมชนมีความศรัทธาในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เชื่อว่าเป็นแนวทางการดำรงชีวิตที่ต้องตั้งอยู่บนหลักความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกัน การมีความรู้และการมีคุณธรรมจะทำให้ชีวิตความสุขอย่างยั่งยืน และพึ่งตนเองได้ 

2.2 มีการวางแผนพัฒนาหมู่บ้านตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกำหนดให้ชุมชนคิดทำในสิ่งที่พึ่งตนเอง โดยมีหน่วยงาน ภาคประชาชน สนับสนุนการพัฒนา  

2.3 มีผู้นำ กลุ่มองค์กร ที่มีความรู้ความสามารถเป็นที่ยอมรับของคนในและนอกชุมชน เป็นผู้มีความใฝ่รู้ตลอด และมีความตั้งใจถ่ายทอดให้ประชาชนอย่างจริงใจ    

2.4 คนในชุมชนมีความรัก ความสามัคคี เอื้ออารีย์ต่อกัน ทั้งนี้คนในชุมชนมีความสัมพันธ์เป็นเครือญาติกัน

3. ปัญหา/อุปสรรค

                   3.1 ระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมตามโครงการน้อย ซึ่งในบางกิจกรรมต้องใช้เวลามากถึงจะเห็นผลเป็นรูปธรรม เช่น การจัดทำบัญชีรับ-จ่าย ครัวเรือน กับการจัดทำแผนชีวิต การถอดบทเรียน ร่วมถึงกลุ่มเป้าหมายบางส่วนไม่ค่อยมีเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม

                   3.2 หมู่บ้านมีจำนวนครัวเรือนมากทำให้การขยายผลการดำเนินงานต้องใช้เวลามาก ประกอบกับครอบครัวพัฒนามีศักยภาพในการขยายผลได้ไม่เท่าที่ควร

                   3.3 ชุมชนมีความกังวลในความต่อเนื่องในการพัฒนาหมู่บ้านจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น คุณภาพ ปริมาณ ความต่อเนื่องในการสนับสนุนงบประมาณ เป็นต้น 

view

 หน้าแรก

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view