http://wycd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทบาทหน้าที่

 ประวัติอำเภอ

 รวมรูปภาพ

 พช.มุกดาหาร

 Links สพอ.

 เว็บบอร์ด

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท25/03/2019
ผู้เข้าชม37,300
เปิดเพจ46,975
สินค้าทั้งหมด1

ข้อมูล พช.หว้านใหญ่

ข้อมูลทั่วไป

บริการประชาชน

กิจกรรมเด่น

KM องค์ความรู้

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

TDR/VDR

องค์ความรู้ชุมชน

ชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ

โครงการแก้จน

สินค้า

 สินค้าทั้งหมด
iGetWeb.com
AdsOne.com

TDR ต.ชะโนด

ส่วนที่  ๑  ข้อมูลทั่วไป

 

ประวัติความเป็นมา

ในปี พงศ. 2230 ท้าวคำสิงห์บุตรคนโตของเจ้าเมืองโพนสิม พี่ชายท้าวกินรีผู้สร้างเมืองมุกดาหาร ได้อบยพราษฎร์ 30 ครอบครัวจากบ้านท่าสะโนฝั่งลาว ข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งบ้านใหม่ที่บริเวณใกล้ปากลำห้วยชะโนด และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านชะโนด" ต่อมาจึงเป็นตำบลชะโนด มีหมู่บ้านในเขตการปกครอง 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านชะโนด หมู่ที่ 1, บ้านชะโนด หมู่ที่ 2, บ้านพาลุกา หมู่ที่ 3, บ้านพาลุกา หมู่ที่ 4 บ้าน, และบ้านโพธิ์เจริญ หมู่ที่ 5

พื้นที่

เป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง สลับป่าโปร่ง มีลำห้วยที่สำคัญ คือ ลำห้วยชะโนด มีทรัพยากรธรรมชาติ และสร้างเศรษฐกิจให้ตำบลชะโนด คือ ทราย และกรวจจากแม่น้ำโขง

เขตพื้นที่

ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านหว้านน้อย ต.หว้านใหญ่ อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร
ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านทรายทอง ต.บางทรายน้อย อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ แม่น้ำโขง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านนาสองห้อง ต.คำป่าหลาย อ.เมือง จ.มุกดาหาร

อาชีพ

อาชีพหลัก ทำนา โดยมีเนื้อที่ทำนา  4,085 ไร่ ผลผลิต 50/ถังไร่
อาชีพเสริม ทำสวน, ทำไร่ โดยมีพื้นที่ 755 ไร่

อาชีพรับจ้าง

การเดินทาง

เดินทางด้วยรถยนต์ไปตามถนนชยางกูรสายมุกดาหาร / นครพนมถึงบ้านโคกสูง เลี้ยวขวาไปตามถนนเรียบแม่น้ำโขงประมาณ 20 กม. ถึงตำบลชะโนด

ลักษณะภูมิประเทศ

        สภาพทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง  และเป็นที่ราบลุ่มตามลำห้วยต่างๆ  ที่สำคัญ  คือ ลำห้วยชะโนดสลับป่าโปร่ง  ทรัพยากรธรรมชาติ คือทรายและกรวดจากแม่น้ำโขง มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ คือ หาดมโนภิรมย์หาดพาลุกา โบสถ์อายุ 300 ปี พระองค์แสน และพระพุทธรูปงาช้าง

ลักษณะภูมิอากาศ

          เป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู

ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน พฤษภาคม – ตุลาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ ปีละ 1,200 – 1,500 มิลลิเมตร

ฤดูหนาว  เริ่มตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ อุณหภูมิ ต่ำสุดเฉลี่ย 10 -20 องศาเซลเซียล

ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคม – พฤษภาคม อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 35 -40 องศาเซลเซียล

เขตการปกครอง มีจำนวน 5 หมู่บ้าน

          จำนวนหมู่บ้านในเขต อบต. เต็มทั้ง 5 หมู่บ้าน ได้แก่

          หมู่ที่ 1  บ้านชะโนดใต้              นายดวงเด่น  วงค์ราศรี    เป็นกำนัดตำบลชะโนด

          หมู่ที่ 2  บ้านชะโนดเหนือ                    นายวิชิต  พาลุกา                    เป็นผู้ใหญ่บ้าน

          หมู่ที่ 3  บ้านพาลุกา                นายอภิสิทธิ์  กุลสุทธิ์      เป็นผู้ใหญ่บ้าน

          หมู่ที่ 4  บ้านพาลุกาใต้             นายประยูร  ปัญญา       เป็นผู้ใหญ่บ้าน

          หมู่ที่ 5 บ้านโพธิ์เจริญ               นายประนม  เมืองโคตร   เป็นผู้ใหญ่บ้าน

 

จำนวนประชากร

        จำนวนประชากรทั้งหมด ๑,916 คน แบ่งเป็นชาย 952 คนและหญิง 964 คน จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 633 ครัวเรือน 

สภาพทางเศรษฐกิจ

               ประชากรในตำบลดงหมูส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนเป็นหลัก ส่วนใหญ่เป็น สวนยางพารา สวนขนุน เป็นต้น รองลงมาเป็นอาชีพทำไร่ เช่น ไร่มันสัมปะหลัง ไร่อ้อย เป็นต้น นอกจากนั้นเป็นอาชีพทำนาและรับจ้างทั่วไปตามลำดับ

สภาพทางสังคม

  • Øวัด จำนวน  3  แห่ง
  • Øโรงเรียน จำนวน  ๑  แห่ง  คือ โรงเรียนบ้านชะโนด , โรงเรียนเมืองพาลุกากรภูมิ
  • Øสถานีอนามัย  จำนวน  ๑  แห่ง
  • Øโทรศัพท์สาธารณะ  จำนวน  8  แห่ง
  • Øองค์การบริหารส่วนตำบลชะโนด  ๑ แห่ง
  • Øศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลชะโนด  ๑ แห่ง

 

ศาสนา

  • Øประชากรในส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

 

ประเพณี

  • Øบุญมหาชาติ ในช่วงเดือน มีนาคม-เมษายน
  • Øบุญประเพณีแข่งเรือยาว ในช่วงเดือน กันยายน

 

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

  • Øการจักสานตะกร้าพลาสติก
  • Øการจักสานจากไม้ไผ่
  • Øการทำประมงน้ำจืด
  • Øการทำบายศรี

 

จุดเด่นของพื้นที่ ( ที่เอื้อต่อการพัฒนาตำบล )

             ชุมชนเข้มแข็ง สุขภาพดี มีคุณภาพ สภาพแวดล้อมสวย ประเพณีวัฒนธรรม เลิศก้าวล้ำด้านเศรษฐกิจ  หาดมโนภิรมย์น่าเที่ยว ทุกส่วนมีส่วนร่วมบริหารจัดการ

             ตำบลชะโนดเป็นตำบลที่มีที่ท่องเที่ยว เช่น หาดมโนภิรมย์ ตั้งอยู่บ้านชะโนด ตำบลชะโนด อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร เป็นหาดทรายในแม่น้ำโขงซึ่งทอดยาวอยู่ใกล้กับวัดมโนภิรมย์ ปกติเมื่อแม่น้ำโขงมีระดับน้ำสูงจะเห็นหาดทรายนี้ได้น้อย เมื่อฤดูแล้งน้ำแห้งลงจะเห็นหาดทรายได้กว้างลงไปถึงกลางแม่น้ำ และมีความยาวหลายร้อยเมตรหากยืนอยู่บนหาดมโนภิรมย์ เราจะสามารถมองเห็นสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ได้อย่างชัดเจน

ส่วนที่  ๒  สภาพปัญหาและสาเหตุ

จากข้อมูล จปฐ.

               จากข้อมูลสภาพทั่วไปในบทข้างต้นแล้ว ยังพบปัญหาของตำบลชะโนด จากรายงานความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี ๒๕๖๐  ในภาพรวมตำบล ดังตารางแสดงสรุปผลการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. ซึ่งแสดงตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์มีอยู่ 3 ตัวชี้วัด คือ

  1. ตัวชี้วัดที่ 3 เด็กแรกเกิดได้กินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนแรกติดต่อกัน
  2. ตัวชี้วัดที่ 23 คนในครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 30,000 บาทต่อปี
  3. ตัวชี้วัดที่ 25 คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา (ยกเว้นการดื่มเป็นครั้งคราว)

    จากข้อมูล กชช. ๒ค

                   ลำดับตัวชี้วัดที่มีปัญหา ตำบลชะโนด  อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร

                     มีหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับหนึ่ง  -   หมู่บ้าน

                    มีหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับสอง  -   หมู่บ้าน

                    มีหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับสาม   5  หมู่บ้าน

    ส่วนที่  ๓ แนวโน้มและทิศทางการพัฒนา

    วิเคราะห์ศักยภาพตำบล

              ในการพัฒนาตำบลชะโนด ชาวบ้านได้นำปัญหาต่าง ๆ ของชุมชนที่ได้จาการสำรวจข้อมูล จปฐ. และ กชช. ๒ค รวมทั้งความคิดความเห็นจากเวทีประชาคม มาวิเคราะห์ปัญหาโดยอาศัยเวทีประชาคมของหมู่บ้าน และการประชุมราษฎรที่ดำเนินการเป็นประจำทุกเดือน โดยได้สังเคราะห์ใช้ในรูปแบบแผนชุมชน ซึ่งสรุปสภาพตำบล ได้ดังนี้

    จุดแข็ง

     

    ๑.      มีแหล่งเงินทุนในชุมชนที่เข้มแข็ง เช่น  กองทุนหมู่บ้าน โครงการ กข.คจ.

    ๒.      ประชาชนมีคุณภาพและมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น

    ๓.      มีกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ที่เข้มแข็ง

    ๔.      การมีส่วนร่วมของประชาชน

    ๕.      มีข้อมูล จปฐ. กชช ๒ค และข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ

    ๖.      ผู้นำชุมชนสมานสามัคคีไม่มีปัญหาในการร่วมกันปกครองและบริหารการพัฒนา

    ๗.      ชุมชนมีวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

    ๘.      ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคราชการอื่น ๆ

    ๙.      ผู้นำได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง

    ๑๐.  มีสถานที่ท่องเที่ยว เช่น หาดมโนภิรมย์

     

     

    โอกาส

     

    ๑.      ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคราชการอื่น ๆ

    ๒.      ผู้นำได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง

    ๓.      ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม

    ๔.      การคมนาคมสะดวก

    ๕.      ระบบการติดต่อสื่อสารรวดเร็ว

    ๖.      มีแหล่งเงินทุนจากภายนอก



 

จุดอ่อน

 

๑.      ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ในการประกอบอาชีพเสริมหลังจากการทำไร่

ทำสวน

๒.      ประชาชนไม่สนใจในการประกอบอาชีพเสริม

๓.      ประชาชนมีการออมเงินน้อย การใช้จ่ายฟุ่ยเฟือย ค่านิยมในด้านวัตถุสูงขึ้น

๔.      ประชาชนยังขาดจิตสำนึกในการพัฒนาตนเองและชุมชน

๕.      ขาดความรู้ในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อเพื่อมูลค่าสินค้า

๖.      ขาดความรู้ในด้านการบริหารจัดการกองทุนทางการเงิน

๗.      ปัญหาแหล่งท่องเที่ยวยังขาดการบริการจัดการที่ดี

 

 

 

อุปสรรค

 

๑.      มีความแตกต่างทางฐานะและสังคม

๒.      ประชาชนมาจากหลายชุมชนมีพื้นฐานความรู้และพื้นฐานทางสังคมแตกต่างกัน

๓.      ภาวะเศรษฐกิจ ค่าครองชีพสูง ราคาปัจจัยการผลิตแพง ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูง

๔.      ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำไม่แน่นอน

 


ส่วนที่ ๔  ข้อเสนอแนะของนักพัฒนาต่อการพัฒนา

สรุปผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลของหมู่บ้านเปรียบเทียบจากตัวชี้วัด  จปฐ.  กชช.๒ค.  และการจัดเวทีประชาคม  เพื่อให้ทราบถึงสภาพปัญหา  ระดับการพัฒนาหมู่บ้านและข้อมูลอื่นที่จำเป็นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนก่อนลงมือทำงานจะทำให้มีขั้นตอน  วิธีการทำงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมสนองต่อความต้องการของชุมชนได้อย่างแท้จริงและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน  ยุทธศาสตร์จังหวัด  แผนแม่บทชุมชน  จนกระทั้งการนำไปสู่การขับเคลื่อนกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านให้ประสบผลสำเร็จ  จึงขอเสนอแนะในเรื่องต่อไปนี้

๑.        ตำบลชะโนด ในปัจจุบันความเจริญเข้ามาสู่หมู่บ้านทำให้ความต้องการเครื่องอุปโภค-บริโภคจากภายนอกเพิ่มมากขึ้น  วิถีการดำเนินชีวิตเริ่มเปลี่ยนไปตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมผ่านสื่อต่าง ๆ  ทำให้ค่าใช้จ่ายในครอบครัวเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่อาชีพและรายได้คงเดิม  การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับชีวิตประจำวัน และการประกอบอาชีพ จึงเป็นวิธีการหนึ่งในการป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีเพื่อมิให้เกิดความประมาทในการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิต  การจัดตั้งกลุ่มอาชีพก็มีความสำคัญเช่นกัน  เพราะเป็นการสร้างอาชีพ  สร้างรายได้และเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในชุมชน

๒.        การมีส่วนร่วมของประชาชนยังมีน้อย  เนื่องจากข้อจำกัดด้านเวลาในการทำงาน  (อาชีพหลัก)  เพื่อสร้างโอกาสในการพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ควรใช้เทศกาลสำคัญ ๆ  เป็นเวทีเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน

๓.        ความสามัคคี  โดยเฉพาะในกลุ่มผู้นำชุมชนจะต้องเหนี่ยวแน่น  เพราะผู้นำเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านและมีสมาชิกในชุมชนเป็นหน่วยสนับสนุน  กิจกรรม/แผนงานจึงจะประสบผลสำเร็จ

๔.        เด็กเยาวชน  สตรีและคนชรา  ขาดโอกาสในการแสดงศักยภาพอย่างเต็มที่  เนื่องจากบทบาทสำคัญในชุมชนจะได้รับมอบหมายให้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้นำชุมชน  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพศชาย  เพื่อลดปัญหาความเลื่อมล้ำทางสังคม  ชุมชนควรเปิดโอกาส และสนับสนุนส่งเสริมบทบาทเด็ก  สตรี  และคนชรา  กับการมีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรม  โครงการในทุกขั้นตอน

๕.        ปัจจุบันการศึกษามีความสำคัญต่อการประกอบอาชีพของคนในชุมชนเพราะการศึกษาเป็นการสร้างโอกาสและเป็นช่องทางเลือกอาชีพได้หลากหลาย  ดังนั้นผู้ปกครองควรสนับสนุนบุตรหลานให้รักการเรียนและส่งเสริมบุตรหลานให้ได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น


view

 หน้าแรก

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view