ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2 ค)
ข้อมูล กชช.2ค คือ ข้อมูลระดับหมู่บ้านที่แสดงสภาพทั่วไปของหมู่บ้าน สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ระดับการศึกษา การมีส่วนร่วม และความเข้มแข็งของชุมชน สุขภาพและอนามัย สภาพแรงงาน และยาเสพติด ซึ่งดำเนินการจัดเก็บทุกหมู่บ้านในเขตชนบทเป็นประจำทุก 2 ปี ทำให้ทราบว่าประชาชนในหมู่บ้านต่างๆ มีคุณภาพชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ในด้านต่างๆ เป็นอย่างไร แต่ละหมู่บ้านมีปัญหาในเรื่องใดบ้าง (ตัวชี้วัดใดบ้าง) ที่ควรได้รับการแก้ไข นอกจากนี้ยังสามารถจัดระดับการพัฒนาของหมู่บ้านได้เป็น 3 ระดับ คือ หมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 1 (ล้าหลัง) หมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 2 (ปานกลาง) หมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 3 (ก้า่วหน้า) ความเป็นมา ปี 2525 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) มอบให้กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จัดเก็บข้อมูล กชช.2 ค ในพื้นที่เป้าหมาย 38 จังหวัด จำนวน 12,586 หมู่บ้าน ปี 2527 มอบให้จัดเก็บข้อมูล กชช.2ค ในพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 12,586 หมู่บ้าน และคณะอนุกรรมการแผนพัฒนาระดับภูมิภาุค และท้องถิ่น (อผภ.) เห็นชอบให้กรมการพัฒนาชุมชน จัดเก็บข้อมูลนอกพื้นที่ หมู่บ้านเป้าหมาย อีกจำนวน 42,246 หมู่บ้าน รวมเป็นทั้งหมด จำนวน 54,832 หมู่บ้าน ปี 2529 ศูนย์ประสานการพัฒนาชนบทแห่งชาติ(ศปช.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ขอความ ร่วมมือจากกระทรวงมหาดไทยในฐานะผู้รับผิดชอบงานของคณะอนุกรรมการ แผนพัฒนาระดับภูมิภาคและท้องถิ่น มอบหมายให้กรมการ พัฒนาชุมชนดำเนินการทดสอบ แบบสอบถามและจัดเก็บข้อมูล กชช.2ค ทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ จำนวน 54,869 หมู่บ้าน ปี 2530 คณะรัฐมนตรีมีมติในวันที่ 22 กันยายน 2530 เห็นชอบให้มีการจัดเก็บข้อมูล กชช.2ค ผนวก จปฐ. เป็นประจำทุกสองปี ตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นไป ปี 2531 ดำเนินการทดสอบแบบสอบถามและจัดเก็บข้อมูล กชช.2ค ผนวก จปฐ. จำนวน 56,348 หมู่บ้าน ปี 2533 ดำเนินการประสานการจัดเก็บข้อมูล กชช.2ค ผนวก จปฐ. ทุกหมู่บ้าน ตามมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 58,057 หมู่บ้าน ปี 2535 ดำเนินการปรับปรุงเครื่องชี้วัด กชช.2ค ใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535 - 2539) และดำเนินการประสานการจัดเก็บข้อมูล กชช.2ค จำนวน 59,640 หมู่บ้าน (ปี 2537 จำนวน 60,133 หมู่บ้าน และปี 2539 จำนวน 61,134 หมู่บ้าน) ปี 2540 - 2541 ดำเนินการปรับปรุงแบบสอบถามและเครื่องชี้วัด กชช.2คเพื่อให้จัดเก็บข้อมูล ในช่วงแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540 -2544) และดำเนินการประสานการจัดเก็บข้อมูล กชช.2ค ปี 2542 จำนวน 63,239 หมู่บ้าน และปี 2544 จำนวน 66,193 หมู่บ้าน ปี 2545 ดำเนินการปรับปรุงแบบสอบถามและเครื่องชี้วัดข้อมูล กชช.2คใหม่ เพื่อให้จัดเก็บข้อมูลในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545 - 2549) หลักการ ข้อมูล กชช.2ค เป็นข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน ที่ทำให้สามารถรู้สภาพปัญหาของหมู่บ้านซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนแก้ไขปัญหา ให้แก่ ่หมู่บ้านและตำบล ของ อบต./สภาตำบล หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง หรือกลุ่ม/องค์กรประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้มีคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ข้อมูล กชช.2ค เป็นข้อมูลที่ต้องดำเนินการจัดเก็บทุกสองปี ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2530 โดยการตรวจสอบ ข้อมูลที่มีอยู่แล้วของหน่วยงานที่รับผิดชอบ และสัมภาษณ์จากกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน และผู้รู้ของแต่ละหมู่บ้าน เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ ในการวางแผนพัฒนาตำบล แผนพัฒนาอำเภอ/กิ่งอำเภอ และแผนพัฒนาจังหวัด วัตถุประสงค์ 1. เพื่อใช้ข้อมูล กชช.2คเป็นเครื่องมือในการสำรวจสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนในแต่ละหมู่บ้านทั่วประเทศ สำหรับการ วางแผน แก้ไขปัญหา และพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชน การกำหนดนโยบายแนวทางปฏิบัติ การอนุมัติโครงการและการติดตาม ประเมินผลการ พัฒนาชนบทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่ม/องค์กรประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. เพื่อใช้ข้อมูล กชช.2ค ในส่วนที่มีการจัดระดับการพัฒนาของหมู่บ้าน ในการพัฒนาของ อบต./สภาตำบล อำเภอ/กิ่งอำเภอ และจังหวัดกำหนดพื้นที่เป้าหมาย พื้นที่การจัดเก็บ จัดเก็บข้อมูลทุกหมู่บ้านในเขตชนบททั่วทั้งประเทศ ดังนี้ 1. หมู่บ้านที่มีพื้นที่ทั้งหมดอยู่ในเขตชนบท (นอกเขตเทศบาล) 2. หมู่บ้านที่มีพื้นที่อยู่ในเขตและนอกเขตเทศบาล (ยกเว้นเฉพาะหมู่บ้านที่มีพื้นที่ทั้งหมู่ตั้งอยู่ในเขต เทศบาล) ระยะเวลาการจัดเก็บ ข้อมูล กชช.2ค จัดเก็บทุก 2 ปี |