http://wycd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทบาทหน้าที่

 ประวัติอำเภอ

 รวมรูปภาพ

 พช.มุกดาหาร

 Links สพอ.

 เว็บบอร์ด

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท25/03/2019
ผู้เข้าชม31,272
เปิดเพจ40,925
สินค้าทั้งหมด1

ข้อมูล พช.หว้านใหญ่

ข้อมูลทั่วไป

บริการประชาชน

กิจกรรมเด่น

KM องค์ความรู้

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

TDR/VDR

องค์ความรู้ชุมชน

ชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ

โครงการแก้จน

สินค้า

 สินค้าทั้งหมด
iGetWeb.com
AdsOne.com

จปฐ.

ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.) 

ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.) เป็นข้อมูลที่แสดงถึงลักษณะของสังคมไทยที่พึงประสงค์ตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของเครื่องชี้วัด อย่างน้อยคนไทยควรจะมีระดับความเป็นอยู่ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ระดับไหนในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ และทำให้ประชาชนสามารถทราบด้วยตนเองว่า ในขณะนี้คุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว รวมไปถึงหมู่บ้านอยู่ในระดับใด มีปัญหาที่จะต้องแก้ไขในเรื่องใดบ้าง เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว และสังคม อันเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนาชนบทของประเทศ

ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.) คือ ข้อมูลในระดับครัวเรือนที่แสดงถึงสภาพความจำเป็นพื้นฐานของคนในครัวเรือนในด้านต่างๆ เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตที่ได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำเอาไว้ว่า คนควรจะมีคุณภาพชีวิตในแต่ละเรื่องอย่างไร ในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ

 หลักการของข้อมูล จปฐ.
                1. ใช้เครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นเครื่องมือของกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านทราบถึงสภาพความเป็นอยู่ของตนเอง ครอบครัว และชุมชนว่าบรรลุตามเกณฑ์ ความจำเป็นพื้นฐานแล้วหรือไม่
                2. ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยผ่านกระบวนการ จปฐ.นับตั้งแต่การกำหนดปัญหา  ความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ตลอดจนค้นหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหา โดยใช้ข้อมูล จปฐ. ที่มีอยู่ และการดำเนินงานแก้ไขปัญหาชุมชน ตลอดจนการประเมินผล การดำเนินงานที่ผ่านมา
                3. ใช้ข้อมูล จปฐ. เป็นแนวทางในการคัดเลือกโครงการต่างๆของรัฐบาลให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา  ที่แท้จริงของชุมชนสามารถ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพรวมทั้งมีการประสาน  ระหว่างสาขาในด้านการปฏิบัติมากขึ้น

          วัตถุประสงค์ของข้อมูล จปฐ.

                เพื่อให้ประชาชนในชนบท สามารถพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองและครอบครัว  ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างน้อยผ่านเกณฑ์์ความจำเป็นพื้นฐาน โดยมีเครื่องชี้วัด จปฐ. เป็นเครื่องมือ 

        การกำหนดเครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.)

          กำหนดขึ้นเพื่อใช้ในกาชี้วัดข้อมูล คนในแต่ละครัวเรือน ควรมีคุณภาพชีวิตขั้นต่ำในเรื่องนั้นๆ ในช่วงระยะเวลาหน่งๆ (ปกติจะกำหนด 5 ปี ตามระยะเวลาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) ตามเกณฑ์ที่กำหนด จึงถือว่า "มีคูุุณภาพชีวิตตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐษน (จปฐ.)

           หัวใจของข้อมูล จปฐ.คืออะไร
                 หัวใจของการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. แท้จริงแล้วอยู่ที่ "ประชาชน" ที่สามารถทราบปัญหา "ตนเอง" เวลาที่จัดเก็บข้อมูล จปฐ.ประชาชนจะทราบทันทีว่า "เขามีคุณภาพชีวิตเป็นอย่างไร ขาดข้อใด" โดย จปฐ.เป็นเสมือนวัฏจัตรที่สามารถช่วยในการปรับปรุงตนเอง คำว่า "ตนเอง ในที่นี้ยังหมายรวมถึง "หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด" อีกด้วย เพราะการจัดเก็บข้อมูล จปฐงจะมีการนำข้อมูลมาสรุปภาพรวมในแต่ระดับ ตั้งแต่หมู่บ้านเรื่อยไปจนถึงระดับจังหวัดและประเทศ

           การใช้ประโยชน์จากข้อมูล จปฐ.
           องค์กรระดับต่างๆ และชุมชนในทุกระดับ สามารถนำข้อมูล จปฐ. ไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบาย แนวทางปฏิบัติ วางแผนงาน โครงการ อนุมัติโครงการ และการติดตามประเมินผล   ซึ่งในแต่ละระดับ  สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้
                1.  ระดับครัวเรือน
                สมาชิกในครัวเรือนทุกคนได้รับทราบตัวชี้วัดที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ จปฐ. (โดยดูจากสมุดสรุป จปฐ.1) ซึ่งจะบันทึกผลการจัดเก็บข้อมูลของครัวเรือนตั้งแต่ปี 2545 - 2549 จะได้ช่วยกันแก้ไขปัญหา สามารถทราบได้ว่า มีครัวเรือนใดบ้างที่ไม่ผ่านเกณฑ์ จปฐ. ในแต่ละตัวชี้วัดและมีครัวเรือนใดบ้างที่ไม่ผ่านเกณฑ์ จปฐ. หลายตัวชี้วัด ซึ่งคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) สามารถใช้เป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง
                2.  ระดับหมู่บ้าน ตำบล
                คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) คณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล หรือ คณะกรรมการสภาตำบล (กสต.) ใช้ตัวชี้วัด จปฐ. ในระดับหมู่บ้าน ตำบล ที่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย เป็นข้อมูลในการวางแผนงาน / โครงการ โดยเฉพาะหมู่บ้าน ตำบล ที่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย จปฐ. หลายตัวชี้วัด ต้องให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษมากกว่าหมู่บ้าน ตำบลอื่นๆ   ทำให้สามารถทราบได้ว่ามีหมู่บ้าน ตำบลใดบ้างที่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย จปฐ. ในแต่ละตัวชี้วัด และมีหมู่บ้าน ตำบลใดบ้างที่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย จปฐ. หลายตัวชี้วัด ซึ่งคณะกรรมการหมู่บ้าน(กม.)   คณะกรรมการบริหารองค์  ์การบริหารส่วนตำบล หรือคณะกรรมการสภาตำบล (กสต.) สามารถใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน ตำบล ได้อย่างถูกต้อง
                3. ระดับอำเภอ / กิ่งอำเภอ จังหวัด
                คณะกรรมการพัฒนาอำเภอ (กพอ.) คณะกรรมการพัฒนาจังหวัด (กพจ.) ใช้ตัวชี้วัด จปฐ. ในระดับอำเภอ/กิ่งอำเภอ จังหวัดที่ยังไม่บรรลุเป้าหมายเป็นข้อมูลในการวางแผนงาน / โครงการ โดยเฉพาะอำเภอ / กิ่งอำเภอ จังหวัดที่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย จปฐ. หลายตัวชี้วัด ต้องให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษมากกว่าอำเภอ / กิ่งอำเภอ จังหวัดอื่นๆ   ทำให้สามารถทราบได้ว่าอำเภอ /กิ่งอำเภอ จังหวัดใดบ้างที่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย จปฐ. ในแต่ละตัวชี้วัด และมีอำเภอ / กิ่งอำเภอ จังหวัดใดบ้างที่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย จปฐ.หลายตัวชี้วัด ซึ่ง กพอ. และ กพจ. สามารถใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางวางแผนพัฒนาอำเภอ / กิ่งอำเภอ จังหวัด อนุมัติโครงการ และติดตามประเมินผลได้อย่างถูกต้อง

view

 หน้าแรก

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view