ชื่อ – สกุล นางวิไลลักษณ์ แสนจันทร์
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหว้านใหญ่
บันทึกเมื่อ มิถุนายน 2560
สถานที่ อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร
จปฐ คือ ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ) เป็นข้อมูลที่แสดงถึงลักษณะของสังคมไทยที่พึงประสงค์ ตามหลักเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของเครื่องชี้วัด ว่าอย่างน้อยคนไทยควรจะมีระดับความเป็นอยู่ ไม่ต่ำกว่าระดับไหน ในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ และทำให้ประชาชนสามารถทราบได้ด้วยตนเองว่า ในขณะนี้คุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัวรวมไปถึงหมู่บ้าน ชุมชนอยู่ในระดับใด มีปัญหาที่จะต้องแก้ไขในเรื่องใดบ้าง เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว สังคม และเมื่อทราบแล้ว ส่วนใดสามารถแก้ปัญหาได้เองได้ ครัวเรือนแต่ละครัวเรือนก็ต้องช่วยกันดำเนินการแก้ไข ส่วนใดที่ไม่สามารถดำเนินการเองได้ ก็ให้ขอรับหารสนับสนุนบางส่วนหรือทั้งหมดจากโครงการขององค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่น (อปท) เช่น อบต. เทศบาล ส่วนราชการราชการที่เกี่ยวข้อง ที่จะเข้ามาดำเนินการต่อไป
หลักการของข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน
1. เป็นเครื่องมือของกระบวนการเรียนรู้ ของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน
2. ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยผ่านกระบวนการ จปฐ.
3. เป็นแนวทางในการคัดเลือกโครงการต่างๆ ของรัฐ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่แท้จริงของชุมชน
ในการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) จะต้องมีการเตรียมการโดยการประสานและประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น อาสาสมัครในการจัดเก็บ, ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน, อาสาพัฒนาชุมชน, อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน, เจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน, ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน, แพทย์, สารวัตรกำนัน เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจในตัวชี้วัดแต่ละข้อ การจัดเก็บ การบันทึก การประมวลผลข้อมูล ซึ่งจะต้องให้เสร็จสิ้นตามวัน เวลา ที่กำหนด ซึ่งได้กำหนดให้อาสาสมัครจัดเก็บ 1 คน ต่อ 20 ครัวเรือน ระยะเวลาในการจัดเก็บประมาณ 1 เดือน โดยแต่ละหมู่บ้าน ให้มีหัวหน้าทีม 1 คน มีชื่อ – นามสกุล พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ ที่ สามารถติดต่อได้ตลอดเวลา เมื่อกรอกแบบสอบถามเสร็จแล้ว ได้ส่งให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบตรวจสอบ และบันทึกข้อมูล ในระหว่างการบันทึกข้อมูลจะพบปัญหาต่าง ๆ มากมาย เช่น โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับโปรแกรมที่ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อย ๆ ปัญหาเกี่ยวกับ ข้อมูลครัวเรือนที่บันทึกก่อนหน้านั้นหายไป ปัญหาการกรอกข้อมูลไม่ครบถ้วน คนในครัวเรือนไม่ให้ข้อมูลตามความเป็นจริง ฯลฯ จะต้องคอยติดตามและให้คำแนะนำแก่อาสาสมัครผู้จัดเก็บและเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลอยู่เสมอ เพื่อคอยช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
บันทึกขุมความรู้
1. ศึกษาแนวทางการบริหารการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน แบบสอบถาม /โปรแกรมการบันทึกข้อมูล
2. ประสาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขอความอนุเคราะห์ เจ้าหน้าที่ในการบันทึกข้อมูล รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการประชุมชี้แจง , การจัดเก็บ และบันทึกข้อมูล
3. ประชุมชี้แจงแก่อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล อธิบาย สร้างความรู้ความเข้าใจในแต่ละตัวชี้วัด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้
4. รวบรวมข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล รวบรวมส่งบันทึก
5. ศึกษาโปรแกรมบันทึกข้อมูล
6. บันทึกและประมวลผลข้อมูล จปฐ.เป็นภาพรวมของหมู่บ้านและตำบล
5. ข้อมูลที่ประมวลผลแล้ว ต้องผ่านการรับรองจากคณะทำงานบริหารจัดเก็บข้อมูลฯระดับอำเภอ
แก่นความรู้
- มีการประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการทำงาน
- จัดอบรมคณะทำงานโดยเน้นระดับหมู่บ้าน
- ให้ความสำคัญและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บันทึกข้อมูล
- มีการประสานงานอย่างต่อเนื่องในช่วงที่มีการจัดเก็บและบันทึกข้อมูล
- ติดตามให้การช่วยเหลือมิใช่การสั่งการโดยอ้างหนังสือ หรือคำสั่งฯ
- การเร่งรัดการจัดเก็บอย่างใกล้ชิด
- การนำข้อมูลกลับไปตรวจสอบความถูกต้อง
- การสนับสนุนการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์
กลยุทธ์ในการทำงาน
1) การวางแผนในการทำงาน
2) การประสานงานภาคีการพัฒนา
3) การติดต่อสื่อสาร รับทราบข้อมูล
4) ปรึกษาหารือ รับฟังข้อเสนอแนะจากผู้บังคับบัญชาและทีมงาน
5) สรุปผลการดำเนินงาน
กฎระเบียบ/แนวคิด/ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง
- คู่มือการจัดเก็บข้อมูล จปฐ.
- คู่มือการใช้โปรแกรมข้อมูล จปฐ.
- กระบวนการทำงานพัฒนาชุมชน
- การทำงานเป็นทีม