โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ. )
ความเป็นมา
ความยากจนของประชาชนชาวชนบทเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกรัฐบาลมุ่งแก้ไขให้หมดไป โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2536เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินงานโครงการ กข.คจ. ระยะที่ 1 ระหว่าง ปี 2536 - 2539 และขยายถึงปี 2540 จำนวน 11,608 หมู่บ้าน และมีมติอีกครั้ง เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2540 เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินงานโครงการ กข.คจ. ระยะที่ 2 ระหว่าง ปี 2541 - 2544เพื่อขยายพื้นที่ให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านทั่วประเทศที่ยังมีคนจนตามข้อมูล ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) จำนวน 28,038 หมู่บ้าน
หลักการ
สนับสนุนเงินทุนในระดับหมู่บ้านสำหรับครัวเรือนเป้าหมายยืมไปประกอบ อาชีพ โดยไม่มีดอกเบี้ย และมอบอำนาจให้คณะกรรมการกองทุน กข.คจ.ประจำหมู่บ้าน รับผิดชอบบริหารจัดการเงินทุนของหมู่บ้าน
วัตถุประสงค์
เพื่อกระจายโอกาสให้คนยากจนระดับครัวเรือนในหมู่บ้านเป้าหมายมีเงินทุนในการประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ และเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีขึ้นตามเกณฑ์ จปฐ. (หรือ เป็นหมู่บ้านแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง)
โครงสร้างการบริหารและบทบาทหน้าที่
" กรมการพัฒนาชุมชนเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ มีหน้าที่รับผิดชอบ ควบคุมดูแล และตรวจสอบการใช้เงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
" มีคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาความจนจังหวัด คณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาความยากจนอำเภอ และคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาความยากจนตำบล มีอำนาจหน้าที่
-ส่งเสริมความเข้มแข็งของเครือข่ายหมู่บ้าน กข.คจ.
-สนับสนุนและประสานงาน
-กำกับดูแล ติดตามประเมินผล รายงานผลการดำเนินงาน
-ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่อธิบดีกำหนด
" คณะกรรมการ กข.คจ.หมู่บ้าน จำนวน ๗ คน แต่ไม่เกิน ๙ คน วาระ ๔ ปี ประกอบด้วย
๑) ประธานคณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้แทนคณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้แทนสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ตั้งโครงการ อาสาพัฒนาชุมชนตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยอาสาพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๔๗ และผู้แทนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตหรือกลุ่มอาชีพ
๒)ผู้แทนคณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้านตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยคณะกรรมการพัฒนาสตรี พ.ศ. ๒๕๓๘ ไม่เกิน ๒ คน
๓) ผู้แทนองค์กรชุมชนอื่นในระดับหมู่บ้าน หรือผู้ทรงคุณวุฒิในหมู่บ้าน เป็นกรรมการได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม ไม่เกิน ๒ คน โดยให้หัวหน้าครัวเรือนเป้าหมายประชุมเพื่อคัดเลือกกรรมการ
-กรรมการ ๑) – ๓) เลือกกันเองเพื่อทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการ รอง เลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ และกรรมการอื่นตามความจำเป็นและเหมาะสม
" อำนาจหน้าที่คณะกรรมการ กข.คจ.
(๑) บริหารจัดการเงินโครงการ กข.คจ. ของหมู่บ้าน
(๒) พิจารณาอนุมัติโครงการและเงินยืมแก่ครัวเรือนเป้าหมายตามโครงการ กข.คจ.
(๓) ติดตาม ส่งเสริม สนับสนุนการประกอบอาชีพของครัวเรือนเป้าหมาย
(๔) จัดทำระบบข้อมูล จัดทำเอกสาร บัญชี ทะเบียนตามโครงการ กข.คจ.
(๕) รายงานผลการดำเนินงานตามโครงการฯ
(๖) แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามโครงการฯ
" ประชุมคณะกรรมการ กข.คจ. ประจำหมู่บ้าน ต้องมีกรรมการมาร่วมประชุมเกินกึ่งหนึ่งของกรรมการที่มีอยู่
เงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน
" เงินทุนตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน เรียกโดยย่อว่า เงินโครงการ กข.คจ. ประกอบด้วย
๑) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
๒) เงินอุดหนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๓) ดอกผลหรือผลประโยชน์อื่นใดที่เกิดจากเงินโครงการ กข.คจ.
๔) เงินบริจาคหรือเงินช่วยเหลืออื่นใดที่ให้โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อผูกพัน
๕) เงินกู้ตามโครงการ กข.คจ.
๖) เงินอื่นใดที่หน่วยงานอื่นหรือองค์กรอื่นสนับสนุนให้เป็นเงินโครงการ กข.คจ.
" เงินโครงการ กข.คจ. มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้หัวหน้าครัวเรือนเป้าหมายยืมไปลงทุนประกอบอาชีพหรือขยายกิจการอาชีพของตน เช่น อุตสาหกรรมในครัวเรือน ค้าขาย งานช่าง เกษตรกรรม หรืออาชีพอื่น
" คณะกรรมการ กข.คจ. หมู่บ้าน เปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่ธนาคารของรัฐ หรือธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจในพื้นที่อำเภอนั้น กรณีไม่มีให้เปิดบัญชีกับธนาคารพาณิชย์ภายในอำเภอ หากไม่มีธนาคารในอำเภอ หรือมีธนาคารในอำเภอใกล้เคียงใกล้เคียงอยู่ใกล้กว่า ให้เปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารในท้องที่อำเภอใกล้เคียง ใช้ชื่อบัญชี “เงินทุน กข.คข. บ้าน......หมู่ที่....ตำบล......”
" ประธานคณะกรรมการ กข.คจ. หมู่บ้าน ร่วมกับกรรมการที่ได้รับเลือกจากคณะกรรมการ กข.คจ. หมู่บ้าน จำนวน ๒ คน เป็นผู้มีอำนาจเบิกเงิน โดยลงลายมือชื่อไม่นอยกว่า ๒ ใน ๓ และประธานฯ ต้องลงลายมือชื่อในการเบิกเงินทุกครั้ง
การบริหารเงินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน
" การยืมเงินให้หัวหน้าครัวเรือนเป้าหมาย หรือผู้แทน เป็นผู้เสนอโครงการและคำขอยืมเงินต่อคณะกรรมการ กข.คข. หมู่บ้าน
-ผู้แทนหัวหน้าครัวเรือน ต้องบรรลุนิติภาวะและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของครัวเรือเป้าหมาย ถ้าไม่บรรลุนิติภาวะหรือไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการฯ
"การพิจารณาอนุมัติโครงการและเงินยืม ให้พิจารณาไปตามลำดับบัญชีครัวเรือนเป้าหมาย และได้รับความเห็นชอบจากพัฒนากรผู้รับผิดชอบประจำตำบล
" เลขานุการฯ แจ้งหัวหน้าครัวเรือนเป้าหมายหรือผู้แทนมาทำสัญญายืมเงินภายใน ๓ วันนับแต่วันที่รับแจ้งการอนุมัติโครงการและเงินยืม แล้วรายงานผลการอนุมัติให้อำเภอทราบ และประกาศให้ทราบ ณ ศูนย์ปฏิบัติการหมู่บ้านโครงการ กข.คจ. หรือที่เปิดเผยของชุมชน
" ประธานฯ รองฯ หรือกรรมการฯ ที่คณะกรรมการฯ มอบหมาย ลงนามในสัญญากับหัวหน้าครัวเรือนเป้าหมายหรือผู้แทน จำนวน ๓ ชุด โดยส่งมอบให้หัวหน้าครัวเรือนเป้าหมายผู้ยืม คณะกรรมการ กข.คจ. หมู่บ้าน และนายอำเภอ เก็บไว้เป็นหลักฐานฝ่ายละ ๑ ชุด
" การเบิกจ่ายเงินโครงการฯ ให้คณะกรรมการฯ โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของหัวหน้าครัวเรือนเป้าหมายเต็มจำนวนตามที่ได้รับอนุมัติให้ยืม และออกใบรับเงินยืมของครัวเรือน
" คณะกรรมการฯ กำหนดระยะเวลาการชำระคืนเงินยืม โดยพิจารณาจากความสามารถในการส่งใช้เงินยืม ประเภทอาชีพ และระยะเวลาที่จะก่อให้เกิดรายได้ ต้องไม่เกิน ๓ ปีนับแต่วันทำสัญญา
" คณะกรรมการฯ ร่วมกับพัฒนากรผู้รับผิดชอบประจำตำบลสนับสนุนการประกอบอาชีพของครัวเรือน และติดตามกำกับการส่งใช้คืนเงินยืม
" คณะกรรมการฯ ออกใบเสร็จรับเงินให้หัวหน้าครัวเรือนทุกครั้ง และนำฝากเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร ภายใน ๓ วันทำการ
" กรณีมีเหตุสุดวิสัย ภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ หรือเหตุจำเป็นอื่นใด ที่ทำให้โครงการของครัวเรือนยืมเงินได้รับความเสียหายหรือไม่ได้ผลเท่าที่ควร ให้หัวหน้าครัวเรือนหรือผู้แทนยื่นคำร้องพร้อมเหตุผลความจำเป็นเพื่อขอผ่อนผันระยะเวลาการส่งใช้คืนเงินต่อคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาเป็นรายกรณี
" กรณีที่หมู่บ้านเป้าหมายตามโครงการ กข.คจ. ดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการแล้ว ให้ส่งเงินโครงการ กข.คจ. ของหมู่บ้าน เพื่อไปรวมเป็นเงินโครงการ กข.คจ. อำเภอ โดยให้คณะกรรมการอำนวยการ กข.คจ. อำเภอ เปิดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ และชื่อบัญชีว่า “เงินทุน กข.คจ. อำเภอ ......” เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของโครงการ กข.คจ. ในอำเภอนั้น
การส่งเสริม สนับสนุน การติดตาม การรายงาน
" พัฒนากรผู้รับผิดชอบประจำตำบล ทำหน้าที่ ดังนี้
๑) ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ในการบริหารจัดการแก่คณะกรรมการ กข.คจ. หมู่บ้าน
๒) ส่งเสริมสนับสนุนการประกอบอาชีพของครัวเรือนเป้าหมาย
๓) สนับสนุนการจัดทำระบบข้อมูลและเอกสารบัญชี
๔) ติดตาม ตรวจสอบ กำกับดูแล เงินโครงการฯ
๕) รายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ
๖) ปฏิบัติงานอื่นตามที่พัฒนาการอำเภอมอบหมาย
" พัฒนาการอำเภอ ส่งเสริม สนับสนุน การจัดทำแผนพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารเงินโครงการ กข.คจ. และชี้แจง แนะนำติดตาม และกำกับดูแลการดำเนินงานตามโครงการฯ ของพัฒนากร
" การรายงานภาวะหนี้สินและฐานะการเงินโครงการฯ
๑) ให้คณะกรรมการฯ รายงานภาวะหนี้สิน และฐานะการเงินของครัวเรือนเป้าหมาย ให้อำเภอทราบเพื่อรายงานจังหวัด ปีละ ๒ ครั้ง
๒) จังหวัดรายงานภาวะหนี้สินและฐานะการเงินของครัวเรือนเป้าหมายให้กรมฯ ทราบ เพื่อรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ
ทะเบียนข้อมูลโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)
อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร
ที่ | ชื่อหมู่บ้าน | หมู่ที่ | ตำบล | ปี พ.ศ. ที่ได้รับงบประมาณ |
1 | หว้านน้อย | 2 | หว้านใหญ่ | 2544 |
2 | นาหนองบก | 5 | หว้านใหญ่ | 2543 |
3 | หนองผือ | 6 | หว้านใหญ่ | 2542 |
4 | ดอนม่วง | 7 | หว้านใหญ่ | 2542 |
5 | หนองแสง | 8 | หว้านใหญ่ | 2544 |
6 | โคกน้ำสร้าง | 9 | หว้านใหญ่ | 2536 |
7 | โนนสว่าง | 10 | หว้านใหญ่ | 2538 |
8 | นาแพง | 11 | หว้านใหญ่ | 2541 |
9 | สองคอนใต้ | 2 | ป่งขาม | 2544 |
10 | สองคอนเหนือ | 3 | ป่งขาม | 2544 |
11 | นาดี | 4 | ป่งขาม | 2544 |
12 | ป่งขามเหนือ | 8 | ป่งขาม | 2544 |
13 | โคกสวาท | 9 | ป่งขาม | 2544 |
14 | นาแกน้อย | 10 | ป่งขาม | 2538 |
15 | ใหม่สองคอน | 11 | ป่งขาม | 2537 |
16 | ดอน | 3 | บางทรายน้อย | 2544 |
17 | ขามป้อม | 4 | บางทรายน้อย | 2544 |
18 | ผักขะยา | 5 | บางทรายน้อย | 2544 |
19 | นามน | 7 | บางทรายน้อย | 2542 |
20 | สุขสำราญ | 8 | บางทรายน้อย | 2544 |
21 | โพธิ์ทอง | 10 | บางทรายน้อย | 2538 |
22 | ชะโนดใต้ | 1 | ชะโนด | 2544 |
23 | ชะโนดเหนือ | 2 | ชะโนด | 2542 |
24 | พาลุกา | 3 | ชะโนด | 2542 |
25 | โพธิ์เจริญ | 5 | ชะโนด | 2544 |
26 | นิคมเกษตรกรรม | 1 | ดงหมู | 2538 |
27 | นิคมเกษตรกรรม | 2 | ดงหมู | 2544 |
28 | นิคมเกษตรกรรม | 3 | ดงหมู | 2538 |
29 | นิคมเกษตรกรรม | 5 | ดงหมู | 2538 |