http://wycd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทบาทหน้าที่

 ประวัติอำเภอ

 รวมรูปภาพ

 พช.มุกดาหาร

 Links สพอ.

 เว็บบอร์ด

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท25/03/2019
ผู้เข้าชม31,275
เปิดเพจ40,928
สินค้าทั้งหมด1

ข้อมูล พช.หว้านใหญ่

ข้อมูลทั่วไป

บริการประชาชน

กิจกรรมเด่น

KM องค์ความรู้

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

TDR/VDR

องค์ความรู้ชุมชน

ชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ

โครงการแก้จน

สินค้า

 สินค้าทั้งหมด
iGetWeb.com
AdsOne.com

องค์ความรู้ การส่งเสริมการตลาดกลุ่มอาชีพ OTOP อย่างยั่งยืน

แบบบันทึกการจัดการความรู้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน จังหวัดมุกดาหาร

................................................................................       

 

๑. ชื่อองค์ความรู้  การส่งเสริมการตลาดกลุ่มอาชีพ OTOP อย่างยั่งยืน

๒. ชื่อเจ้าขององค์ความรู้  นางวันเพ็ญ  รัตนบุรี

    ตำแหน่ง  พัฒนาการอำเภอหว้านใหญ่

    เบอร์โทร  ๐๘๙-๙๔๓๐๕๖๖

    สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร

๓. เทคนิค/วิธีปฏิบัติ/กลเม็ด ที่ใช้ในการทำงานจนประสบผลสำเร็จ

            การส่งเสริมและการพัฒนาทุนของกลุ่มอาชีพก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการที่จะพัฒนาให้กลุ่มมีการสร้างรายได้ด้วยการนำทรัพยากร ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีในชุมชนของตนเองมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และการบริการที่มีคุณภาพก่อให้เกิดรายได้กลับสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน มีขั้นตอนในการปฏิบัติดังนี้

             ๓.๑ ส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มอาชีพให้มีความเข้มแข็ง ตามหลัก ๕ ก. ดังนี้คือ

                   ก ๑ คือ กลุ่ม ต้องการสมาชิกที่สมัครใจ เต็มใจ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือ

                   ก ๒ คือ กรรมการ ต้องได้รับมอบหมายและเป็นตัวแทนจากสมาชิกให้บริหารกลุ่ม และมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานที่ชัดเจน

                   ก ๓ คือ กฎระเบียบ  ต้องกำหนดกฎระเบียบข้อบังคับกลุ่มโดยยึดมติที่ประชุมเสียงข้างมากเป็นหลักเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกัน

                   ก ๔ คือ กองทุน ต้องมีการระดมทุนของกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น เงิน หรืออุปกรณ์ ที่ทำให้กลุ่มสามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

                   ก ๕ คือ กิจกรรม ที่สมาชิกกลุ่มร่วมกันปฏิบัติเพื่อสร้างรายได้ ต้องมีการสำรวจคณะกรรมการกลุ่มและสมาชิกกลุ่ม  ในด้านความรู้ทักษะ การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์  และการพัฒนาบุคลิกภาพของกลุ่ม ให้เกิดการยอมรับและน่าเชื่อถือ

             ๓.๒ จัดให้มีการประชุมกลุ่ม สมาชิก คณะกรรมการอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง จัดทำวาระการประชุมและจดบันทึกการประชุมทุกครั้ง

                   ๒.๓ ส่งเสริมการจัดทำระเบียบการใช้วัสดุ ครุภัณฑ์ให้สามารถตรวจสอบได้

                   ๒.๔ ส่งเสริมการจัดหาตลาด แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์

                   ๒.๕ ส่งเสริมการระดมเงินทุนของกลุ่มในรูปของกลุ่มออมทรัพย์และเก็บเงินบำรุงกลุ่ม

                   ๒.๖ ส่งเสริมให้มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของกลุ่ม เช่น การร่วมกิจกรรมเทศกาลต่างๆ การศึกษาดูงานของกลุ่ม  

๔. ปัญหา/อุปสรรค และแนวทางการแก้ไข

                   ๔.๑ การสร้างจิตสำนึกให้สมาชิกและประชาชนในหมู่บ้าน ให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

                   ๔.๒ การส่งเสริมให้มีกระบวนการตัดสินใจของกลุ่ม ให้กลุ่มเป็นผู้ตัดสินใจการบริหารจัดการกลุ่มเอง

                   ๔.๓ การแสวงหาแหล่งทุนของกลุ่ม                                                

๕. ข้อพึงระวัง

                    ๕.๑ หน่วยงานทางราชการและผู้นำชุมชน ร่วมกันปรับปรุงการดำเนินกิจกรรมของกลุ่ม เพื่อพัฒนากลุ่มให้ก้าวหน้า

                   ๕.๒ สนับสนุนพัฒนาความรู้ให้กลุ่มทันสมัยผลิตสินค้ามีมาตรฐานเป็นที่ต้องการของตลาด

                   ๕.๓ ให้มีการสำรวจปัญหา และความต้องการของสมาชิกในกลุ่มอย่างเสมอภาคกัน

๖. แนวคิด ทฤษฎี ระเบียบ ข้อกฎหมายที่ใช้

                    ๖.๑ แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารกลุ่ม ทฤษฎี 4 M’s  oppn.opp.go.th/research01.php ได้กล่าวถึง กระบวนการบริหาร 4 M โดยมีองค์ประกอบ สำคัญที่เกี่ยวข้อง คือ บุคลากร(Man) การบริหารจัดการองค์กร (Management) การเงิน(Money) และวัตถุดิบหรือทรัพยากร(Material)ที่มีอยู่

                  ๖.๒ แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนากลุ่ม Stanfort and Roak’s Model ตามแนวคิดของ Stanfort and Roak ในการพัฒนากลุ่มมี ๗ ระยะ ดังนี้

                   ๑) ระยะเริ่มต้น เริ่มด้วยการปฐมนิเทศและแนะนำความรู้จักกัน

                   ๒) ระยะพัฒนาทางบรรทัดฐาน ด้วยการตั้งกฎกติกา ดำเนินงาน

                   ๓) ระยะเผชิญข้อขัดข้อง บรรดาสมาชิกต่างอ้างสิทธิเสนอแนวความคิดของตนเอง

                   ๔) ระยะก้าวผ่าน ขจัดข้อขัดแย้งเบื้องต้นโดยการยอมรับแนวความคิดของผู้อื่น

                   ๕) ระยะดำเนินงาน สมาชิกแบ่งเบาภารกิจกันทำ สร้างความเป็นผู้นำและความไว้เนื้อเชื่อใจกัน

                   ๖) ระยะประทับอารมณ์ สมาชิกพึงพอใจต่อผลงานของกลุ่ม

                   ๗) ระยะทำความจริงให้ปรากฏ มีความยืดหยุ่น การได้รับฉันทานุมัติร่วมกัน การตัดสินใจ

                 ๖.๓ แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างเครือข่าย(Networking) โดย ศรีผ่อง จิตกรณ์กิจศิลป์(๒๕๕๐) ได้กล่าวถึงการสร้างเครือข่าย ดังนี้

                   ๑) เครือข่าย(Network) คือ การเชื่อมโยงของกลุ่มของคน หรือกลุ่มองค์กรที่สมัครใจ ที่จะแลกเปลี่ยนข่าวสารร่วมกัน หรือทำกิจกรรมร่วมกัน โดยมีการจัดระเบียบโครงสร้างของคนในเครือข่ายด้วยความเป็นอิสระ เท่าเทียมภายใต้พื้นฐานของความเคารพสิทธิ เชื่อถือ เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน

                   ๒) องค์ประกอบของเครือข่าย

                             - เครือข่ายเทียม(Pscudo network) หมายถึง เครือข่ายชนิดที่เราหลงผิดคิดว่าเป็นเครือข่ายแต่แท้จริงแล้วเป็นแค่การชุมชนพบปะสังสรรค์ระหว่างสมาชิก โดยที่ต่างคนต่างก็ไม่ได้มีเป้าหมายร่วมกันและไม่ได้ตั้งใจที่จะทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นการรวมกลุ่มแบบเฮโลสาระพา หรือรวมกันตามกระแสนิยมที่ไม่มีวัตถุประสงค์ชัดเจนลักษณะของเครือข่ายลวงไม่มีการสานต่อระหว่างสมาชิก ดังนั้น การทำความเข้าใจกับองค์ประกอบของเครือข่ายจึงมีความสำคัญ เพื่อช่วยให้สมาชิกสามารถสร้างเครือข่ายแท้แทนการสร้างเครือข่ายเทียม

                             - เครือข่าย (แท้) มีองค์ประกอบสำคัญอยู่อย่างน้อย ๗ อย่างด้วยกัน

                             ๑. มีการรับรู้มุมมองที่เหมือนกัน(common perception)

                             ๒. การมีวิสัยทัศนร่วมกัน (common vision)

                             ๓. มีความสนใจหรือผลประโยชน์ร่วมกัน(mutual interests/benefits)

                             ๔ การมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกคนในเครือข่าย(stakeholders participation)

                             ๕. มีการเสริมสร้างซึ่งกันและกัน (complementary relationship)

                             ๖. การเกื้อหนุนพึ่งพากัน(interdependencc)

                             ๗. มีปฏิสัมพันธ์ในเชิงแลกเปลี่ยน(interaction)

view

 หน้าแรก

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view