http://wycd.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทบาทหน้าที่

 ประวัติอำเภอ

 รวมรูปภาพ

 พช.มุกดาหาร

 Links สพอ.

 เว็บบอร์ด

สถิติ

เปิดเว็บ26/11/2014
อัพเดท25/03/2019
ผู้เข้าชม31,262
เปิดเพจ40,915
สินค้าทั้งหมด1

ข้อมูล พช.หว้านใหญ่

ข้อมูลทั่วไป

บริการประชาชน

กิจกรรมเด่น

KM องค์ความรู้

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

TDR/VDR

องค์ความรู้ชุมชน

ชุมชนเกื้อกูล เพิ่มพูนน้ำใจ

โครงการแก้จน

สินค้า

 สินค้าทั้งหมด
iGetWeb.com
AdsOne.com

ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน (มชช.)

หลักการสำคัญ

1. การมีส่วนร่วมของชุมชน ชุมชนเป็นเจ้าของ ชุมชนเป็นผู้รับประโยชน์
2. ชุมชนมีความสมัครใจในการพัฒนาตนเอง
3. เป็นกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง
4. เน้นความยืดหยุ่น สอดคล้อง เหมาะสมกับชุมชน
5.ความร่วมมือและการยอมรับเป็นเครื่องมือเชื่อมประสานการทำงานของภาคีการพัฒนา
6 หลักการสร้างสังคมคุณภาพ เพิ่มคุณค่า 
7. สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ มีจิตสาธารณะ มีจริยธรรม คุณธรรม

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้นำชุมชน กลุ่ม/องค์กรชุมชน เครือข่ายองค์กรชุมชนและชุมชน ใช้เป็นเครื่องมือสร้างกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาตนเองไปสู่ความเข้มแข็ง

2.เพื่อให้ภาคีการพัฒนาใช้เป็นเครื่องมือเชื่อมประสานการทำงานการพัฒนาศักยภาพชุมชนโดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง

ลักษณะมาตรฐาน

ลักษณะมาตรฐานงานชุมชน ทั้ง 4 ประเภท ประกอบด้วย “ด้าน” กับ”องค์ประกอบที่แสดงถึงคุณลักษณะที่ดีซึ่งสะท้อนภาวะผู้นำของผู้นำชุมชน และตัวชี้วัดความเข้มแข็งของกลุ่ม/องค์กรชุมชน  เครือข่ายองค์กรชมชน  และชุมชน ซึ่งประเภทมาตรฐานงานชุมชน  ทั้ง  4  ประเภท มีดังนี้


ประเภทที่  1  มาตรฐานผู้นำชุมชน ประกอบด้วยภาวะผู้นำ   3  ด้าน  15  องค์ประกอบ ได้แก่

1) ด้านการบริหารตนเอง  มี 4 องค์ประกอบคือ

1.1 บุคลิกภาพดี

1.2 ความรู้ ความสามารถ

1.3 คุณธรรม ศีลธรรมและจริยธรรม

1.4 วินัยในตนเอง

2)  ด้านการบริหารสังคม มี 4 องค์ประกอบคือ

2.1 มนุษย์สัมพันธ์

2.2 ความเป็นประชาธิปไตย

2.3 การประสานงานที่ดี

2.4 การเป็นที่ปรึกษาที่ดี

3)  ด้านการบริหารงาน  มี 7 องค์ประกอบคือ

3.1 การวางแผน

3.2 การแก้ไขปัญหา

3.3 การบริหารงบประมาณ การเงิน บัญชี

3.4 การพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

3.5  การควบคุมและประเมินผล

3.6 การสร้างและการพัฒนาทีม

3.7 ความรับผิดชอบต่องาน


ประเภทที่  2  มาตรฐานกลุ่ม/องค์กรชุมชน ประกอบด้วยลักษณะความเข้มแข็ง  4  ด้าน  14 องค์ประกอบ ได้แก่

1) ด้านโครงสร้างและกระบวนการทำงาน กลุ่ม/องค์กรชุมชนที่ดำเนินงานได้อย่างมีมาตรฐานควรจะมีโครงสร้างและกระบวนการทำงานที่แสดงถึงการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อเกื้อหนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่ม/องค์กรชุมชนให้ไปสู่ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง  มี  4 องค์ประกอบคือ

1.1 คณะกรรมการ

1.2 ระเบียบข้อตกลง

1.3 สมาชิก

1.4  สถานที่ทำงานกลุ่ม

1.5 กระบวนการทำงาน

2) ด้านการบริหารเงินทุนและทรัพยากร  กลุ่ม/องค์กรชุมชนที่ดำเนินการได้อย่างมีมาตรฐานควรจะมีการบริหารเงินทุนและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และโปร่งใส สำหรับด้านนี้แบ่งเป็น 3 องค์ประกอบคือ

2.1 การจัดหาเงินทุนและทรัพยากร
2.2 การจัดสรรและใช้ประโยชน์จากเงินทุนและทรัพยากร

2.3 การควบคุมการใช้ประโยชน์จากเงินทุนและทรัพยากร

3) ด้านการพัฒนาขีดความสามารถขององค์กร กลุ่ม/องค์กรชุมชนที่ดำเนินการได้อย่างมีมาตรฐานควรจะมีการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อพัฒนากลุ่ม/องค์กรชุมชนอย่างต่อเนื่องและเชื่อมโยงกับกลุ่ม/องค์กรอื่นๆ ซึ่งด้านนี้แบ่งเป็น  3 องค์ประกอบคือ

3.1 การพัฒนาการเรียนรู้

3.2  การพัฒนาทุนทางสังคม

3.3  การเชื่อมโยงกับกลุ่ม/องค์กร

4)  ด้านผลประโยชน์ต่อสมาชิกและชุมชน กลุ่ม/องค์กรชุมชนทีดำเนินการได้อย่างมีมาตรฐานควรจะมีการแบ่งปันผลประโยชน์ต่อสมาชิกและชุมชนอย่างทั่งถึงเป็นธรรม และตอบสนองความต้องการตามระเบียบที่เห็นพ้องต้องกันของสมาชิก ซึ่งด้านนี้แบ่งเป็น ๓ องค์ประกอบคือ

4.1 การดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาของสมาชิก

4.2 การแบ่งปันผลประโยชน์ต่อสมาชิก

4.3 การจัดสวัสดิการต่อสมาชิกและชุมชน

ประเภทที่ 3  มาตรฐานเครือข่ายองค์กรชุมชน ประกอบด้วยลักษณะความเข้มแข็ง 4  ด้าน  17 องค์ประกอบ ได้แก่

1)  ด้านโครงสร้างและกระบวนการทำงาน  คุณลักษณะสำคัญของโครงสร้างและกระบวนการทำงานคือ มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน มีกระบวนการทำงานที่เชื่อมโยงไปสู่ภารกิจ และเป้าประสงค์ขององค์กรสมาชิก เนื่องจากคุณลักษณะข้างต้น จะช่วยขับเคลื่อนเครือข่ายไปสู่ผลสำเร็จร่วมกันได้ในที่สุด ซึ่งด้านนี้แบ่งเป็น 3 องค์ประกอบ คือ

1.1 องค์กรสมาชิก

1.2 คณะกรรมการ/แกนนำ

1.3 การบริหารจัดการ

2) ด้านการบริหารงบประมาณและทรัพยากร มีการบริหารงบประมาณและทรัพยากร ทั้งที่เป็นความรู้และบุคลากร โดยยึด ๔ หลักการสำคัญ กล่าวคือ โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีวินัยในการหาและจัดสรรรายจ่ายให้สอดคล้องกับรายได้ มีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการขององค์กรสมาชิกสำหรับด้านนี้แบ่งเป็น 5 องค์ประกอบคือ

2.1 โปร่งใส ตรวจสอบได้

2.2  ความมีวินัยทางการบริหารเงินทุน

2.3 ความมีประสิทธิภาพในการบริหารเงินทุน

2.4 การบริหารภูมิปัญญา/ฐานความรู้

2.5 การบริหารทรัพยากรบุคคล

3) ด้านการพัฒนาขีดความสามารถของเครือข่าย มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสั่งสมองค์ความรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง สามารถนำบทเรียนที่ได้มาใช้พัฒนาขีดความสามารถภายในองค์กรสมาชิกหรือเชื่อมโยงขยายผลไปสู่เครือข่ายอื่น อีกทั้งสามารถใช้บทเรียนความรู้ที่ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะขององค์กรภาครัฐ ซึ่งด้านนี้แบ่งเป็น 4 องค์ประกอบคือ

3.1 การพัฒนาการเรียนรู้

3.2 การนำความรู้สู่นโยบายสาธารณะ

3.3 การขยายเครือข่าย

3.4 การเชื่อมโยงการทำงานเครือข่าย

4) ด้านผลประโยชน์ต่อสมาชิก/ชุมชน มีการจัดสรรผลประโยชน์ตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งเครือข่ายให้แก่องค์กรสมาชิกอย่างทั่วถึง เป็นธรรม การรวมตัวเป็นเครือข่ายส่งผลให้เกิดการผนึกพลังในการพิทักษ์ต่อรองผลประโยชน์ขององค์กรสมาชิกอย่างสร้างสรรค์จนนำไปสู่บรรยากาศการทำงานที่แบ่งปันแก่ส่วนรวมเกื้อกูลและไว้วางใจกันระหว่างองค์กรสมาชิก โดยด้านนี้แบ่งเป็น 5 องค์ประกอบคือ

4.1 การจัดสรรผลประโยชน์

4.2 การแลกเปลี่ยนปัจจัยการผลิตระหว่างกัน

4.3 การมีพลังต่อรอง

4.4 การเกื้อหนุนประโยชน์ต่อชุมชน

4.5 การจัดสวัสดิการต่อสมาชิก

ประเภทที่ 4  มาตรฐานชุมชน ประกอบด้วย  ลักษณะความเข้มแข็ง 7 ด้าน  21 องค์ประกอบ ได้แก่

1) ด้านเศรษฐกิจชุมชน มี  3  องค์ประกอบ คือ

1.1 ครัวเรือนสามารถพึ่งตนเองได้

1.2 การส่งเสริมอาชีพที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน

1.3 การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนตามความเหมาะสมของชุมชน

2) ด้านการจัดการทรัพยากรในชุมชน มี 3 องค์ประกอบ คือ

2.1 การบริหารทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสม

2.2 การเสริมสร้างสภาพแวดล้อมชุมชนที่ดี

2.3 ระบบโครงสร้างพื้นฐานเพียงพอต่อความต้องการ

3) ด้านสุขภาพอนามัย มี 4 องค์ประกอบ คือ

3.1 ระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสุขภาพจากการมีส่วนร่วมของชุมชน

3.2 การจัดการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ

3.3 การป้องกันโรคประจำถิ่น (โรคติดต่อและไม่ติดต่อ)

3.4 ความสามารถในการดูแลและจัดการด้านสุขภาพได้ด้วยตนเอง

4) ด้านศาสนา วัฒนธรรมและประเพณี มี 3 องค์ประกอบ คือ

4.1 การนับถือศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ

4.2 การมีวิถีชีวิตแบ่งปันเอื้ออาทร

4.3 การอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีของชุมชน

5) ด้านการพัฒนาคนในชุมชน มี 2 องค์ประกอบ คือ

5.1 การจัดการความรู้ของชุมชน

5.2 การพัฒนาผู้นำ/สมาชิกในชุมชน

6) ด้านการบริหารจัดการชุมชน มี 4 องค์ประกอบ คือ

6.1 การจัดการระบบฐานข้อมูลในชุมชน

6.2 การจัดทำแผนชุมชน

6.3 การจัดสวัสดิการภายในชุมชน

6.4 การเสริมสร้างการเมืองการปกครองตามระบบประชาธิปไตย

7) ด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มี 2 องค์ประกอบ คือ

7.1 การป้องกันรักษาความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

7.2 การป้องกันภัยธรรมชาติโดยชุมชน


กลไกการบริหารจัดการระบบ มชช.

จังหวัดสามารถกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการระบบ มชช.ที่เรียกว่า “คณะกรรมการระบบมาตรฐานงานชุมชนจังหวัด” และ “คณะกรรมการระบบมาตรฐานงานชุมชนอำเภอ”ได้ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่  เช่น
คณะกรรมการฯ มาจากการสรรหา หรือการคัดเลือกของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ในฐานะเจ้าภาพในการดำเนินงาน ซึ่งมีทั้งผู้แทนภาครัฐและภาคประชาชน ภาคเอกชน 
คณะกรรมการฯ เป็นกลไกภาคประชาชน หรือเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนที่มีการดำเนินการพัฒนาตามประเด็นงานที่สนใจหรือภารกิจของเครือข่ายที่ต้องการพัฒนาสมาชิกโดยใช้ระบบ มชช.   เช่น  ศอช.จ.  กพสจ. สมาคมอช.ผู้นำอช. ฯลฯ
คณะกรรมการฯ ที่มาจากการผสมผสานรูปแบบที่ 1 และ 2 หรือรูปแบบอื่นๆ ตามความเหมาะสมของพื้นที่

อย่างไรก็ตาม  ในปัจจุบันมีผู้นำผ่านการเรียนรู้ ระบบ มชช. มากกว่า 10,000 คน ทั่วประเทศ  ที่สามารถเป็นพี่เลี้ยง ที่ปรึกษา หรือเข้ามาเป็นกลไกการบริหารจัดการระบบ มชช. 
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนการดำเนินงาน มชช.

- ขั้นการเตรียมการ  ประกอบด้วย การเตรียมข้อมูล/เนื้อหา  เตรียมตนเอง เตรียมทีมงาน เตรียมงาน 
- ขั้นดำเนินการ  ประกอบด้วย การสมัคร การสร้างความเข้าใจ การวิเคราะห์ตนเอง การสร้างการมีส่วนร่วม การสร้างตัวชี้วัด การจัดทำแผนพัฒนาตนเอง และการดำเนินการตามแผน
- ขั้นประเมินผล  ประกอบด้วย การประเมินผลด้วยตนเอง การประเมินผลโดยชุมชน/สมาชิก/คนรอบข้าง และการประเมินผลโดยคณะกรรมการ
- ขั้นยกย่อง เชิดชูเกียรติ   เช่น มอบเข็ม ใบประกาศเกียรติคุณ  
- ขั้นขยายผล เช่น  จัดตั้งเครือข่ายการเรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้ มชช.ต้นแบบ

view

 หน้าแรก

 บทความ

 รวมรูปภาพ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

view